Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

Thumbnail 800 X500

สายดื่มระวัง! ยิ่งดื่ม ยิ่งเสียง มะเร็งเต้านม

24 มกราคม 2566

5 นาที

อาจเป็นเรื่องเศร้าประจำวันสำหรับสายดื่มที่หลงใหลในรสชาติและการดื่มด่ำแอลกอฮอล์ประเภทต่าง ๆ แต่ทราบหรือไม่ว่าพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เพียงวันละแก้วหรือวันละนิดจิตแจ่มใสนั้น อาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านมได้ ซึ่งสาเหตุเกิดจากอะไรตามมาหาคำตอบกับเมืองไทยประกันชีวิตกันได้เลย


Blog1 814x400


เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ VS มะเร็งเต้านม


ใครจะคิดว่าแค่การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะส่งผลเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมได้เบอร์ใหญ่ขนาดนี้


โดยรายงานจากกองทุนวิจัยมะเร็งโลก (World Cancer Research Fund ) ระบุว่าการดื่มแอลกอฮอล์วันละ 10 กรัม เทียบเท่าไวน์ 1 แก้วเล็ก หรือเบียร์ 240 ม.ล. จะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น 7%


ซึ่งตัวการสำคัญที่ทำให้แอลกอฮอล์โดนตราหน้าว่าเป็นผู้ร้ายก็เพราะเมื่อดริ๊งแอลกอฮอล์เข้าไปแล้ว ร่างกายจะทำการย่อยแอลกอฮอล์ส่งผลให้เกิดสารอะเซตาลดีไฮด์ (Acetaldehyde) โดยสารชนิดนี้เป็นสารก่อมะเร็งและจะสะสมอยู่ในร่างกาย คอยทำลาย DNA และโปรตีนในเซลล์ ให้ไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองจากการถูกทำร้ายได้ และที่สำคัญคือไม่สามารถควบคุมการงอกของเซลล์ได้ซึ่งจะทำให้เกิดเนื้องอกนั่นเอง


นอกจากนี้การดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไปก็อาจเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อม โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็งตับ รวมถึงเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งช่องปาก มะเร็งลำไส้ และมะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น


🔖 sdnthailand  (ข้อมูล ณ วันที่ 04/02/65)

🔖 healthaddict (ข้อมูล ณ วันที่ 10/06/65)

🔖 Rama Mahidol (ข้อมูล ณ วันที่ 10/06/65)

🔖 Phyathai Hospital


Blog2 814x400



ปรับพฤติกรรมลดเสี่ยงมะเร็งเต้านม


ถ้าอยากลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งเต้านม สิ่งที่ควรทำอันดับแรกคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ซึ่งเราสามารถทำได้ดังนี้


  • เลิก/ลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ไม่เกิน 1 แก้วต่อวัน
  • ควบคุมนํ้าหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ
  • กินอาหารจำพวกผัก ผลไม้ ลดนํ้าตาล และคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี
  • เลิก/ลดการสูบบุหรี่


เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ว่าจะเป็น เบียร์ ไวน์ เหล้า หรือค็อกเทล ต่างมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ดังนั้นไม่ว่าจะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทไหนต่างทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้เช่นกัน


🔖 sdnthailand  (ข้อมูล ณ วันที่ 04/02/65)

🔖 healthaddict (ข้อมูล ณ วันที่ 10/06/65)


Blog3 814x400


ความเชื่อผิด ๆ ที่ทำให้เป็นมะเร็งเต้านม


สาเหตุการเกิดมะเร็งเต้านมมีหลายปัจจัย แต่ก็ยังมีบางความเชื่อที่ทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่านี่คือสาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านมได้ ดังนี้


  • รังสีจากการตรวจเต้านม : ความจริง ต้องตรวจเต้านมถึง 100 ครั้ง ปริมาณรังสีจึงจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย
  • ใส่เสื้อชั้นใน : ความจริง การใส่เสื้อชั้นในอาจจะทำให้อึดอัด การไหลเวียนของเลือดบริเวณหน้าอกไม่ดี แต่ไม่ได้ทำให้เกิดมะเร็ง
  • สารเคมีจากการทำผม : ความจริง ไม่มีผลการวิจัยไหนระบุว่า สารเคมีจากการทำผมจะกระตุ้นให้เกิดมะเร็งเต้านม
  • ผู้ชายไม่เป็นมะเร็งเต้านม : ความจริง ผู้ชายก็เป็นมะเร็งเต้านมได้ถ้ามีความเสี่ยง เช่น ผู้ที่มีอายุมาก อ้วนมาก ตับแข็ง หรือมีลักษณะเต้านมเหมือนผู้หญิง
  • กินกาแฟเสี่ยงมะเร็ง : ความจริง ไม่มีหลักฐานและการวิจัยชิ้นไหนยืนยัน ว่าคาเฟอีนมีผลกับการเกิดมะเร็งเต้านม


🔖 สถานบันมะเร็งแห่งชาติ (ข้อมูล ณ วันที่ 04/02/65)


การลด ละ หรือเลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ได้มีดีแค่ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังช่วยลดความเสี่ยง การเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคตับแข็ง หรือภาวะสมองเสียหายจากสุรา เป็นต้น ดังนั้นถ้าคุณอยากสุขภาพดี เอ็นจอยกับชีวิตในทุก ๆ วัน ต้องหมั่นดูแลสุขภาพ พร้อมเสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี* คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี


ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี วันละไม่ถึง 65 บาท

เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท

โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี


รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

☑️ โทร 1766

☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขาธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์


เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต

Whatever’s Next, MTL’s NEXT to You

พร้อมพัฒนาในทุกด้าน เพื่อก้าวเดินไปพร้อมคุณ


*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส

  • สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
  • ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
  • เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย


ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 16/01/66

🔖 sdnthailand  (ข้อมูล ณ วันที่ 04/02/65)

🔖 healthaddict (ข้อมูล ณ วันที่ 10/06/65)

🔖 สถานบันมะเร็งแห่งชาติ (ข้อมูล ณ วันที่ 04/02/65)

🔖 Rama Mahidol  

🔖 Phyathai Hospital

สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าสนใจ