Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

Content Desktop1440 X390

ไม่กินเค็มก็เสี่ยง เป็น "โรคไต" ได้

22 กรกฎาคม 2565

5 นาที

อนาคตหากใครไม่อยากใช้บริการฟอกไตควรฟังทางนี้ เพราะนอกจากการลดกินอาหารเค็ม หรืออาหารที่มีโซเดียมสูงอย่างที่หลาย ๆ คนระมัดระวังกันอยู่แล้ว ก็อาจยังไม่ปลอดภัย เพราะความเสี่ยงการเกิดโรคไตนั้นยังคงมีอยู่และคุณอาจกำลังทำร้ายสุขภาพโดยไม่รู้ตัวก็เป็นไปได้ ซึ่งสาเหตุการเกิดโรคไตโดยที่ไม่ได้มาจากการกินเค็ม จะมาจากปัจจัยหรือพฤติกรรมเสี่ยงอะไรได้บ้างนั้น ตามไปดูพร้อม ๆ กัน


Blog1


ลดเกลือ ลดน้ำปลา ความเสี่ยงโรคไตอาจยังไม่ลด


จากความเข้าใจที่ว่าหากลดปริมาณเกลือ หรือน้ำปลาในอาหารเวลาปรุง จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคไตได้ แต่ความจริงแล้วยังมีความเสี่ยงจากการกิน ที่กลับกลายเป็นเพิ่มปริมาณความเค็มในร่างกาย ทำให้ไตทำงานหนักเกิดเป็นความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตได้ในที่สุด ดังนั้นควรระมัดระวังอาหารเหล่านี้เป็นพิเศษ


  • น้ำจิ้ม น้ำราด และซอสต่าง ๆ มีส่วนผสมของเกลือ ซึ่งหากจิ้มเยอะ ราดเยอะ ก็ยิ่งทำให้ร่างกายได้รับความเค็มมากขึ้น

  • อาหารกระป๋อง อาหารหมักดอง รวมถึงเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น แฮม ไส้กรอก หมูหยอง โดยอาหารเหล่านี้ต้องระวัง เพราะได้รับการปรุงที่มีความเค็มมาอยู่ในตัว หากกินมากความเสี่ยงก็จะมากตาม

  • ขนมปัง เห็นหน้าตานุ่ม ๆ แต่โซเดียมสูงกว่าข้าวอีก เพราะ ในขนมปังมีผงฟู และผงฟูคือเกลือชนิดหนึ่ง หากกินขนมปังมากก็มีโอกาสได้รับเกลือเกินก็เป็นได้

  • ขนมขบเคี้ยว ขนมอบกรอบ แค่แกะฉีกเคี้ยวก็ฟินเกินห้ามใจ แต่รู้หรือไม่ว่าขนมบางชนิดนั้นเต็มไปด้วยโซเดียมที่มากกว่าอาหารทั้งมื้อเสียอีก ดังนั้นควรระมัดระวังเป็นพิเศษหากไม่อยากให้โรคไตถามหา


🔖 Phyathai (ข้อมูล ณ วันที่ 13/01/64) 


Blog2


พฤติกรรมเป็นเหตุ ทำร้ายไตให้บอบช้ำ


นอกจากการกินที่ต้องระมัดระวังกันมากขึ้น ยังมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เราเองอาจละเลย หรือไม่ได้ระมัดระวัง จนเป็นเหตุให้ไตแขวนอยู่บนเส้นด้าย ซึ่งหากใครมีพฤติกรรมเหล่านี้รีบปรับปรุงตัวก่อนจะสายเกินไป


  • ไม่ออกกำลังกาย การไม่ออกกำลังกายเป็นสาเหตุของโรคอ้วน ไขมันอุดตันเส้นเลือด ไขมันพอกตับ เส้นเลือดอุดตัน โรคหัวใจ รวมไปถึงโรคไตด้วยเช่นกัน

  • ดื่มน้ำน้อย หรือมากเกินไป ไตทำหน้าที่ฟอกของเสียในร่างกาย และต้องใช้น้ำเป็นตัวพาไปสู่การกรองของไตจนกลายเป็นปัสสาวะ หากดื่มน้ำมากเกินไป ไตก็จะทำงานหนักเกินไป แต่หากดื่มน้ำน้อยเกินไป ก็จะทำให้ปัสสาวะมีสีเข้ม ซึ่งไม่ดีต่อไต และกระเพาะปัสสาวะ

  • ทำงานหนักเกินไป ส่งผลให้ร่างกายขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ อวัยวะภายในร่างกายจะไม่ได้รับการฟื้นฟู และซ่อมแซมตัวเอง ส่งผลให้ไตไม่ได้หยุดทำงาน ก็อาจทำให้ไตเสื่อมสภาพลงได้ง่าย

  • ความเครียด มาพร้อมกับการทำงานหนัก เมื่อเราเครียดมาก ก็จะหายใจเอาออกซิเจนเข้าร่างกาย เพื่อไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ไม่เต็มที่ และไตก็เป็นอวัยวะที่ได้รับผลกระทบจากความเครียดเช่นกัน


🔖 โรงพยาบาลศิครินทร์ กรุงเทพ


Blog3


ไม่กินเค็ม ปรับพฤติกรรม แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงอีก!


ไม่กินเค็ม ลดโซเดียม ระวังอาหารบางชนิดมากขึ้น รวมถึงปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อไม่ให้ไตทำงานหนัก ก็ยังมีปัจจัยที่กระตุ้นให้ร่างกายมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคไต และปัจจัยที่พบก็คือ


  • เป็นตั้งแต่กำเนิด เกิดจากไตผิดปกติ ไม่สมบูรณ์ เพราะบางคนเกิดมาไตฝ่อ บางคนมีไตข้างเดียว หรือมีโครงสร้างเซลล์ในไตที่ไม่สมบูรณ์

  • หลอดเลือดฝอยในไตอักเสบ ไม่จำเป็นต้องกินเค็มก็เกิดได้ ซึ่งอาจนำพาไปสู่การเป็นโรคไตอักเสบ และไตเสื่อมในที่สุด

  • ติดเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะในระบบทางเดินปัสสาวะ เมื่อเกิดการติดเชื้อจะทำให้ไตติดเชื้อ เป็นฝี หรือเป็นหนองในไตได้

  • ระบบทางเดินปัสสาวะผิดปกติ เช่น เป็นนิ่ว โรคต่อมลูกหมาก หากปัสสาวะติดขัดนาน อาจลุกลามไปสู่ไตและกลายเป็นโรคไตเสื่อม

  • เนื้องอกในไต เป็นได้ทั้งมะเร็ง หรือเนื้องอกธรรมดา ซึ่งเกิดขึ้นได้โดยไม่เกี่ยวกับอาหารและการรับประทานของที่มีรสเค็ม


🔖 Phyathai (ข้อมูล ณ วันที่ 13/01/64)


โรคไตถือเป็นอีกหนึ่งโรคที่หลายคนไม่อยากเป็น เพราะหากเป็นแล้วต้องใช้เวลารักษาและค่าใช้จ่ายที่สูงมาก แต่กว่าจะถึงขั้นนั้นเราก็สามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคไตได้ด้วยการดูแลเรื่องของอาหารการกิน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ตรวจเช็กสุขภาพไตเป็นประจำ และมองหาความคุ้มครองสุขภาพเหมาจ่าย Elite Health Plus จากเมืองไทยประกันชีวิตที่มีวงเงินความคุ้มครองสูง ช่วยอุ่นใจและสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ สนุกกับไลฟ์สไตล์ที่ชอบ สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองถึงอายุ 99 ปี


✔ เหมาจ่ายตามจริง 20 - 100 ล้านบาทต่อปี เข้ารักษาได้ทั่วโลก(1)

✔ คุ้มครองทั้งโรคระบาด โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ

✔ นอนห้องเดี่ยวมาตรฐานได้ทุกโรงพยาบาล

✔ คุ้มครองครบทั้ง IPD และ OPD(2) เบี้ยวันละไม่ถึง 157 บาท(3)

✔ ครอบคลุมการรักษาโรคมะเร็ง ทั้งแบบเคมีบำบัดและแบบออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted Therapy) การวินิจฉัย MRI และการฟอกไต โดยไม่ต้องแอดมิท 

➕ ซื้อความคุ้มครองเสริมพิเศษเพิ่มได้ ตรวจสุขภาพ ทำฟัน ดูแลสายตา

ซื้อวันนี้ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% นานสูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13%



รายละเอียดเพิ่มเติม

☑️ โทร 1766 

☑️ ติดต่อสาขา ธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์

(1) กรณีเลือกพื้นที่ความคุ้มครองทั่วโลก

(2) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 40, 75 หรือ 100 ล้านบาท

(3) สำหรับผู้เอาประกันภัยอายุ 50  ปี แผน 20 ล้านบาท พื้นที่ความคุ้มครองประเทศไทย และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี


  • สัญญาเพิ่มเติมประกันภัยแบบ อีลิท เฮทล์ พลัส ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่

  • ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย  

  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด

  • เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ

  • ค่าห้องเดี่ยวมาตรฐาน หมายถึง ค่าห้องพักเดี่ยวมาตรฐานของโรงพยาบาลในประเทศไทย

  • เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์

  • เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด

  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าสนใจ