Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

ชีวิตติดจอระวังวุ้นตาเสื่อม ปลูกง่ายในฤดูฝน Thumbnail1200 X600

ชีวิตติดจอ ระวังวุ้นตาเสื่อม!

10 พฤษภาคม 2565

5 นาที

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทุกวันนี้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในชีวิตเป็นอย่างมาก ทั้งการทำงานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ หรือในชีวิตประจำวันที่ต้องใช้โทรศัพท์มือถือ เพื่อติดต่อสื่อสารหรือดูความเคลื่อนไหวในแต่ละวัน ไม่ว่าจะก่อนนอนก็ต้องจับโทรศัพท์ ตื่นมามือก็ควานหาเป็นอย่างแรก แต่รู้หรือไม่การติดจอมาก ๆ ยังทำให้วุ้นตาเสื่อมอีกด้วย แม้โรคนี้จะเป็นโรคที่พบได้ในผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ในปัจจุบันพฤติกรรมการใช้สายตาอย่างผิดวิธี ทำให้ดวงตาถูกใช้งานอย่างหนัก จนสายตาเสียจนทำให้วุ้นตาเสื่อมขึ้นมา แล้ววุ้นตาเสื่อมคืออะไร ส่งผลเสียต่อดวงตาแค่ไหน เป็นแล้วหายหรือไม่ ตามมาดูกัน


1. วุ้นตาเสื่อมคืออะไร มีอาการอย่างไร

2. สาเหตุของวุ้นตาเสื่อม

3. วุ้นตาเสื่อมอันตรายหรือไม่

4. ดูแลดวงตาให้ชะลอวุ้นตาเสื่อมก่อนวัย


วุ้นตาเสื่อมคืออะไร มีอาการอย่างไร



1. วุ้นตาเสื่อมคืออะไร มีอาการอย่างไร


ในลูกตาของเราจะมีวุ้นตา (vitreous) เป็นส่วนประกอบในลูกตา ซึ่งจะอยู่ระหว่างตัวเลนส์กับตัวจอประสาทตา มีหน้าที่ในการคงภาวะตัวลูกตาไว้ มีส่วนประกอบหลักเป็นน้ำ โปรตีน และเส้นใย เมื่ออายุมากขึ้นวุ้นตาก็เริ่มเสื่อม เมื่อวุ้นตาเริ่มเสื่อมตัวกลายสภาพเป็นน้ำ เส้นใยไฟเบอร์ขนาดเล็กในตาจะหดจับกันเป็นก้อนตะกอนขุ่น และวุ้นตาจะลอกออกจากผิวจอตา โดยมีอาการดังนี้


  • เห็นเงาดำลอยไปมาในตา
  • เห็นเงาดำจุดใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • มองไม่ชัด เหมือนมีหยากไย่ในลูกตา
  • เห็นแสงวาบในตา
  • ทำให้ความสามารถในการมองเห็นลดลง


สาเหตุของวุ้นตาเสื่อม


2. สาเหตุของวุ้นตาเสื่อม


ส่วนมากเรามักจะรู้กันอยู่แล้วว่าโรควุ้นตาเสื่อม มักเกิดเมื่ออายุเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยพบมากในผู้ที่มีอายุมาก 40 ปีขึ้นไป แต่ในบางคนก็อาจมีปัจจัยมากระตุ้นให้เกิดภาวะวุ้นในตาเสื่อมได้เร็วขึ้น ซึ่งพบในวัยหนุ่มสาว และคนทำงานออฟฟิศมากขึ้น โดยมีสาเหตุดังนี้


  • ใช้งานดวงตาที่หนัก จ้องจอมากเกินไป
  • ได้รับการกระทบกระเทือนที่ดวงตา
  • การผ่าตัดที่กระทำภายในลูกตา
  • คนที่สายตาสั้นมาก ๆ  ยิ่งสั้นมากก็ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น
  • มีภาวะแทรกซ้อนจากต้อกระจก
  • มีภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน


วุ้นตาเสื่อมอันตรายหรือไม่


3. วุ้นตาเสื่อมอันตรายหรือไม่


สำหรับหลายคนที่กำลังร้อน ๆ หนาว ๆ เพราะอาการที่ว่ามานั้นเข้าข่ายหลายเลยข้อทีเดียว แต่ไม่ต้องกังวลไปเพราะว่าโรควุ้นตาเสื่อมนั้น เป็นภาวะที่เกิดจากธรรมชาติ ในคนที่มีอาการมองเห็นเงาดำลอยไปลอยมา ไม่มีรอยฉีกขาดของจอประสาทตา มักเป็นอาการที่ทำให้เกิดความรำคาญเท่านั้น แต่ไม่เป็นอันตรายและไม่ทำให้สายตามัวลง พอนานไปอาจชินและสามารถปรับตัวได้เอง หรือเงาดำอาจหลบไปจากแนวสายตา หรือค่อย ๆ ลดลง และอาจหายไปในที่สุดเอง จึงไม่จำเป็นต้องรักษาแต่อย่างใด แต่ในกรณีที่ จอประสาทตาฉีกขาด เบาหวานขึ้นตาควรรีบไปพบจักษุแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาทันที


ดูแลดวงตาให้ชะลอวุ้นตาเสื่อมก่อนวัย


4. ดูแลดวงตาให้ชะลอวุ้นตาเสื่อมก่อนวัย


การดูแลดวงตาให้ยืดอายุวุ้นตาเสื่อมก่อนวัยนั้น มีวิธีง่าย ๆ ดังนี้


  • ไม่ควรใช้สายตาต่อเนื่องเป็นเวลานาน ควรพักสายตาทุก 20 นาที
  • ปรับแสงหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือจอโทรศัพท์มือถือให้สว่างพอดีและสบายตา ไม่จ้าหรือมืดเกินไป เพราะจะทำให้สายตาใช้งานหนักเกินไป  
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่
  • เข้ารับการตรวจตาพร้อมกับวัดสายตาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจาก โรคจอประสาทตาเสื่อมจากอายุ ภาวะวุ้นในตาเสื่อม
  • ไม่กินอาหารซ้ำ ๆ ควรกินอาหารให้หลากหลาย ครบ 5 หมู่ และอาหารที่ช่วยบำรุงดวงตา เช่น บูลเบอร์รี่สกัด เบต้าแคโรทีน แอสต้าแซนทีน ฯลฯ


หากอยากยืดอายุการใช้งานดวงตาไม่ให้วุ้นตาเสื่อมก่อนวัย ก็อย่าลืมดูแลสุขภาพลดการติดจอให้พอดี เพราะเราไม่รู้ว่าโรคร้ายต่าง ๆ จะมาเยือนตอนไหน การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อให้ห่างไกลโรคจึงเป็นเรื่องสำคัญเสมอ และไม่ว่าจะวัยไหน เพศใด ก็ควรเริ่มดูแลสุขภาพตัวเอง รวมไปถึงการตรวจเช็กสุขภาพเป็นประจำทุกปี หรือสามารถเตรียมตัวให้พร้อมตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อเพิ่มความมั่นใจด้วยการซื้อประกันสุขภาพตั้งแต่ตอนที่เรายังแข็งแรง มีสุขภาพดี หากมีแล้วจะช่วยเพิ่มความอุ่นใจมากยิ่งขึ้น


  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย


ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 29/04/65

🔖 Medthai

🔖 โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

🔖 โรงพยาบาลกรุงเทพ

🔖 โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

🔖 Health 30 Plus

สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าสนใจ