เดอะแบกของบ้าน ต้องวางแผนชีวิตยังไง ไม่ให้ขิต!
วางแผนชีวิตยังไงให้ไม่ขิต เมื่อเราต้องดูแลชีวิตคนทั้งบ้าน เพราะคนที่เป็นหัวหน้าครอบครัว ก็เปรียบเหมือนเป็นเสาหลักของบ้าน ที่ต้องทำงานหาเลี้ยงตัวเองและครอบครัว โดยรับผิดชอบทั้งการหารายได้ รวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ภาระหนี้สินรถ บ้าน หัวหน้าครอบครัวจึงเป็นเดอะแบกตัวจริงจัดเต็ม ที่คอยแบกภาระมากกว่าคนทั่วไป เพื่อเลี้ยงดูคนที่อยู่ข้างหลัง ไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ ลูก พี่น้อง สามี ภรรยา ลูก หรือคู่ชีวิต ให้มีชีวิตที่ดี และต้องไม่แบกรับภาระหนี้สินต่อจากเรา หากวันไหนที่เราจากโลกนี้ไป
ดังนั้นคนที่เป็นเดอะแบกจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องวางแผนชีวิตไว้ล่วงหน้า ทั้งวางแผนการเงิน วางแผนครอบครัว มีลูกวางแผนเกษียณ แบบนี้ต้องเริ่มวางแผนชีวิตยังไงดีไปดูกัน!
- วางแผนการเงิน เพื่อครอบครัว
- วางแผนเกษียณ มีเงินใช้แม้ไม่ได้ทำงาน
- วางแผนชีวิตคู่ ให้อยู่อย่างแฮปปี้
- วางแผนดูแลพ่อแม่ ในชีวิตวัยเกษียณ
วางแผนการเงิน เพื่อครอบครัว
ในวันที่เราจากไปก่อน แต่คนที่เรารักต้องอยู่ต่อได้ความกังวลของเดอะแบกเสาหลักของบ้าน คงหนีไม่พ้นเรื่องเงิน เพราะต้องวางแผนชีวิต และวางแผนการเงินมากกว่าคนอื่น รวมถึงทำประกันชีวิตตลอดชีพไว้ด้วย เพื่อในวันที่เราแก่ตัวหรือจากโลกนี้ไป คนข้างหลังไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ ลูกหรือคู่ชีวิต จะต้องใช้ชีวิตได้เหมือนเดิม เหมือนตอนที่ยังมีเราคอยดูแล และต้องแบกรับภาระหนี้สินต่อจากเรา ดังนั้นสิ่งสำคัญอย่างแรกที่ต้องวางแผนของเดอะแบกเรื่องแรก คือควรวางแผนเงินซึ่งมีหลักการง่าย ๆ ดังนี้
กำหนดเป้าหมายแล้วทำให้ได้
- เป้าหมายชีวิตก็คือความต้องการของเราในอนาคต เช่น การมีเงินเก็บเป็นจำนวนเท่าไหร่ในระยะเวลากี่ปี การสร้างฐานะให้แก่ครอบครัวให้ดีขึ้น รวมถึงหารายได้เสริมให้ทั้งตัวเองและครอบครัว โดยอาจจะเริ่มจากกิจการเล็ก ๆ ก่อน ได้ไม่กระทบเงินเก็บมากนัก เช่น ขายของออนไลน์ ทำอาหารส่งเดลิเวอรี่ เป็นต้น
จัดระเบียบรายรับรายจ่าย ไม่สร้างหนี้สินเกินตัว
- เมื่อมีเป้าหมายแล้ว การจัดระเบียบการเงินในเรื่องรายรับรายจ่ายถือเป็นข้อสำคัญลำดับแรกเลยก็ว่าได้ เพราะถ้าว่าเราจัดระบบตรงนี้ผิดไป อาจทำให้จัดการอย่างอื่นไม่ได้ ข้อดีของการทำรายรับรายจ่าย ก็เพื่อให้ทราบถึงรายได้และรายจ่ายต่าง ๆ ของครอบครัวในแต่ละเดือน และยังสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกได้ เมื่อค่าใช้จ่ายลดแล้วก็อย่าลืมเก็บออม เพื่อเป้าหมายต่าง ๆ ที่เราตั้งไว้ ไม่ว่าจะเป็น ออมเพื่อการศึกษาบุตร เงินออมเผื่ฉุกเฉิน ออมเพื่อเกษียณ เป็นต้น และที่สำคัญต้องไม่สร้างหนี้ก้อนใหญ่เพิ่มเติม ต้องดูความจำเป็นและกำลังของเราที่รับภาระไหวด้วย
ลงทุนเพิ่มรายได้
- การลงทุนถือเป็นการสร้างรายได้อย่างหนึ่ง ที่ทำให้เงินของคุณเพิ่มขึ้นมา โดยแทนที่เราจะนำเงินไปฝากธนาคาร ก็เปลี่ยนมาเป็นการนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นซื้อประกันสะสมทรัพย์ ลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หุ้นของบริษัทต่าง ๆ หรือกองทุนรวม ก็สามารถช่วยให้เราถึงเป้าหมายได้ไวขึ้น แต่ก่อนจะลงทุนอะไรก็ตาม อย่าลืมประเมินความเสี่ยงที่รับได้ด้วย
ซื้อประกันชีวิตตลอดชีพคุ้มครองคนที่คุณรัก
- คนส่วนใหญ่มักมองข้ามการทำประกันชีวิตตลอดชีพ เพราะคิดว่าเป็นการใช้เงินอย่างสิ้นเปลือง เพราะอายุยังน้อยไม่น่ารีบทำ อยากรอให้วัยเกษียณก่อนถึงค่อยเริ่ม ซึ่งบอกเลยว่าเป็นความคิดที่ประมาทเกินไป เพราะว่าการทำประกันชีวิตหมายถึง การสร้างความมั่งคงให้กับคนที่อยู่ข้างหลัง หากวันใดวันหนึ่งเราเป็นอะไรไป ทุกอย่างที่เราทำก็จะหายไปด้วย แต่หากเราทำประกันชีวิตไว้ เมื่อเราจากไป ก็ยังมีเงินส่วนหนึ่งทิ้งเอาไว้ให้คนข้างหลังได้ใช้ชีวิตต่อเหมือนตอนเรายังอยู่
วางแผนเกษียณ มีเงินใช้แม้ไม่ได้ทำงาน
ด้วยเหตุผลร้อยแปด ที่เดอะแบกของบ้าน จะต้องวางแผนและจัดการหลาย ๆ เรื่อง ทั้งภาระหน้าที่การงาน และภาระหน้าที่ในการดูแลคนในครอบครัวให้อยู่ดีมีสุข และวางแผนอนาคตของตัวเองให้สุขสบายยามเกษียณด้วยเช่นกัน แม้อาจฟังดูเป็นเรื่องไกลตัว แต่ก็ป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะยิ่งเราอายุมากขึ้น ค่าใช้จ่ายก็สูงขึ้นตามมาเช่นกัน ทั้งภาระผ่อนหนี้สิน ค่าใช้จ่ายเพื่อดูแลคนในครอบครัว และที่สำคัญ คือ เมื่อถึงวัยที่ร่างกายเริ่มอ่อนแอ แต่ค่ารักษาพยาบาลกลับสูงขึ้น ดังนั้นเราจึงต้องวางแผนเกษียณจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรทำ เพราะถึงเวลานั้นทั้งตัวเราและครอบครัวจะได้ไม่กังวลกับรายรับที่หายไป
สิ่งที่ต้องรู้ก่อนวางแผนเกษียณ
- คำนวณภาระหนี้สินที่มี
ภาระหนี้สินก็เป็นรายจ่ายสำคัญที่ควรรีบสะสางให้หมดโดยเฉพาะหนี้ที่ไม่ก่อประโยชน์ เช่น หนี้บัตรเครดิต เพื่อที่เราจะสามารถแบ่งส่วนรายได้ไปชำระหนี้สินระยะยาว เช่น สินเชื่อบ้านและแบ่งเก็บ เงินสำหรับเกษียณได้มากขึ้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องนำเข้ามาไว้ในแผนการเงินหลังเกษียณด้วย
- รายได้ที่จะได้หลังจากเกษียณ
ให้สำรวจว่า เมื่อเกษียณแล้วเราจะมีรายได้จากทางไหนได้บ้าง เช่น เงินบำเหน็จ-บำนาญ (กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (สำหรับพนักงานเอกชน) หรือกองทุน LTF/RMF เพื่อที่จะได้ทราบว่าพอเกษียณแล้วเราจะมีรายรับจากตรงไหนได้บ้าง
- ประกันชีวิตและสุขภาพ
สำรวจดูว่าขณะนี้ เรามีประกันตัวใดที่คุ้มครองเราอยู่บ้าง โดยเฉพาะประกันชีวิตและประกันสุขภาพ แล้วประกันเหล่านั้น คาดว่าคุ้มครองได้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในวันที่เราอาจไม่มีรายได้จากงานประจำแล้วหรือไม่ หากคุณใกล้เกษียณในอีก 10 – 15 ปี อาจเริ่มพิจารณาเพิ่มความคุ้มครองให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในวันที่ไม่ได้มีรายได้เท่าเดิมแล้ว
- วางแผนเก็บเงินและลงทุน
แผนการเก็บเงินและลงทุนสำหรับชีวิตหลังเกษียณนั้น ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อสร้างผลตอบแทนอย่างจริงจัง แต่คือการสร้างความมั่นคงให้ชีวิตบั่นปลาย ดังนั้น แผนการออมและลงทุนไม่ควรมีความเสี่ยงสูง
วางแผนชีวิตคู่ ให้อยู่อย่างแฮปปี้
การสร้างครอบครัวเป็นความฝันของใครหลายๆ คน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแต่งงาน หรือมีลูก แต่ก็ต้องยอมรับว่าชีวิตคู่ไม่ได้อาศัยแค่ความรักและความเข้าใจเท่านั้นการวางแผนครอบครัวจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะหลายๆ คนไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง ซึ่งการสร้างครอบครัวให้มั่นคงไปจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน ย่อมเป็นสิ่งที่ท้าทายต่อวัยรุ่นอย่างเรามาก และยิ่งเป็นมนุษย์เงินเดือน ยิ่งคิดหนักไปใหญ่ เพราะรายรับกับรายจ่ายแทบจะไม่ต่างกันเลย
การเริ่มมองหาอะไรที่มั่นคง ก่อนที่จะมีชีวิตหลังแต่งงาน คู่สามีภรรยาคงจะใช้ชีวิตทางการเงินแบบลงเรือลำเดียวกัน ทุกคู่มีหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบภาระต่างๆ ร่วมกัน ทั้งค่าใช้จ่ายทุกอย่างภายในบ้าน รวมถึงแผนการเงินที่จะเตรียมตัวเพื่อรองรับเจ้าตัวน้อยที่จะเกิดขึ้นแน่นอนในอีกไม่นาน
ซึ่งเราควรเริ่มจากคำนวณค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่สำคัญ เช่น ข้าวของเครื่องใช้ ค่าอาหารเด็ก ของเล่น พี่เลี้ยงเด็ก รวมถึงค่าใช้จ่ายในการศึกษาในระดับสูงสุดที่ต้องการ โดยเราอาจพิจารณาการออมและการลงทุนที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเงินฝากประจำ ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ที่ได้รับเงินคืนแน่นอนตามที่กำหนดไว้ เพื่อสร้างผลตอบแทนรอวันเจ้าตัวน้อยเติบโตขึ้นมา รวมถึงตั้งเป้าหมายว่า ต้องการมีลูกจำนวนกี่คนและเมื่อไหร่ รวมทั้งสำรวจค่าใช้จ่าย ซึ่งต้องดูว่าตลอดช่วงชีวิตที่ลูกยังอยู่กับเราจนกว่าจะโตพอที่จะดูแลตัวเองได้ ทั้งช่วงก่อนวัยเรียนไปจนถึงช่วงที่เรียนหนังสือจบ เป็นต้น
รวมถึงการทำประกันชีวิตไว้ด้วย เพราะเป็นการสร้างความมั่งคงให้กับคนที่อยู่ข้างหลัง หากวันใดวันหนึ่งเราเป็นอะไรไป ทุกอย่างที่เราทำก็จะหายไปด้วย แต่หากเราทำประกันชีวิตตลอดชีพไว้ เมื่อเราจากไป ก็ยังมีเงินส่วนหนึ่งทิ้งเอาไว้ให้ลูกได้ใช้ชีวิตต่อเหมือนตอนเรายังอยู่
วางแผนดูแลพ่อแม่ ในชีวิตวัยเกษียณ
เมื่อพ่อแม่เข้าสู่วัยเกษียณอายุ จากที่เคยออกไปทำงานเกือบทั้งชีวิต ก็ได้กลับมาอยู่ที่บ้านกับลูกหลานที่รัก หรือมีเวลาทำตามฝัน ซึ่งเราในฐานะลูกก็สามารถคอยช่วยสนับสนุน และเติมเต็มความตั้งใจของพ่อแม่ให้สำเร็จได้ แต่นอกจากการวางแผนทำประกันชีวิตและสุขภาพที่ช่วยเสริมความคุ้มครอง และดูแลเรื่องโรคร้ายแรงแล้ว การดูแลพ่อแม่วัยเกษียณก็ยังมีอีกหลายสิ่งให้ต้องเตรียมพร้อมไว้ก่อนดังนี้
วางแผนการเงินให้พ่อแม่
- เพราะพ่อแม่วัยเกษียณอาจมีค่าใช้จ่ายมากกว่าวัยอื่นๆ ด้วยร่างกายที่เริ่มเสื่อมถอยจากการทำงาน เจ็บป่วยแต่ละทีก็อาจต้องใช้เวลาในการรักษา และมีค่าใช้จ่ายมากมายตามมา การวางแผนและเตรียมพร้อมเรื่องเงินสำรองเอาไว้ล่วงหน้า จึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ อาจเป็นการให้คำแนะนำและช่วยกันมองหารายรับระยะยาวหลังเกษียณเอาไว้รองรับตั้งแต่เนิ่นๆ หรือเป็นการลงทุนเล็กๆ ที่มีความเสี่ยงในระดับต่ำเพื่อให้สอดคล้องกับช่วงอายุของพ่อแม่ ยิ่งเราเริ่มต้นวางแผนการเงินได้เร็วมากเท่าไหร่ พ่อแม่ของเราก็จะยิ่งมีเงินเก็บสำรองที่มั่นคงไว้ใช้ยามเกษียณมากขึ้นเท่านั้น
ยกระดับความปลอดภัย ต่อเติมบ้านให้เหมาะสมกับวัยของพ่อแม่
- เพราะบ้านคือสถานที่ที่พ่อแม่ใช้เวลาอยู่ด้วยมากที่สุดในวัยเกษียณ จึงควรเตรียมพร้อมและปรับเปลี่ยนบ้านให้เหมาะสมสำหรับกับช่วงอายุที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อคอยอำนวยความสะดวกและลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุการลื่นล้มที่อาจเกิดขึ้น เช่น การสร้างราวจับไว้ในห้องน้ำก็เป็นสิ่งที่ต้องเตรียมไว้อย่างจำเป็น เพื่อให้พ่อแม่ใช้ยึดเหนี่ยวคอยช่วยพยุงเวลาก้าวเดิน การปรับเปลี่ยนห้องนอนให้อยู่ชั้นล่างของบ้าน เพื่อช่วยลดการเดินขึ้นลงบันได และลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น
มีประกันชีวิตและสุขภาพ เพิ่มความมั่นใจยิ่งขึ้น
- ยิ่งอายุมาก ก็ยิ่งเจ็บป่วยง่ายตามมา เข้าโรงพยาบาลแต่ละทีก็ใช้เวลารักษานานกว่าวัยหนุ่มสาว ลูกๆ อย่างเราจึงควรรีบวางแผน และมองหาผู้ช่วยลดความเสี่ยงให้รายจ่ายส่วนนี้เบาบางลง การเลือกทำประกันชีวิตและสุขภาพ ก็ถือเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยกระจายความเสี่ยงเรื่องค่ารักษาในอนาคต เพราะไม่เพียงแค่ความคุ้มครองสุขภาพ แต่ยังช่วยลดภาระเรื่องค่าห้อง ค่ารักษา ค่ายา ค่าหมอ และค่าใช้อื่นๆ ในโรงพยาบาลแทนเงินในกระเป๋าของเรา รวมถึงประกันชีวิตตลอดชีพ ที่ช่วยให้เรามั่นใจได้ว่า หากวันไหนที่เราจากไปก่อน พ่อแม่จะใช้ชีวิตอยู่ได้เหมือนเดิม เหมือนที่เคยมีเราดูแล
จะเห็นได้ว่าความเป็นเดอะแบกของบ้าน ต้องมีความสตรองมากกว่าคนทั่วไป เพราะต้องแบกภาระอันหนักอึ้ง รวมถึงวางแผนชีวิตในด้านต่าง ๆ ให้กับตัวเองและครอบครัว ทั้งด้านการเงิน ร่างกายและจิตใจ พร้อมกับประคับประคองชีวิตในแต่ละวันของตัวเองไปด้วย เพราะเราไม่รู้เลยว่าวันพรุ่งนี้จะมีเรื่องไม่คาดฝันเกิดขึ้นกับชีวิตมั้ย
ดังนั้นการทำประกันชีวิตจึงเป็นเรื่องหลัก ที่ชาวเดอะแบกควรให้ความสำคัญ และทำไว้ให้กับคนที่เรารัก เพราะหากเราต้องจากไปก่อน คนที่บ้านจะต้องใช้ชีวิตอยู่ได้เหมือนเดิม เหมือนตอนที่ยังมีเราคอยดูแล
ประกันชีวิตเพื่ออนาคตมั่นใจ
✔ ดูแลอนาคตของคนที่คุณรัก ด้วยหลักประกันที่มั่นคง
✔ เลือกจ่ายเบี้ยสั้นหรือยาวก็ได้ คุ้มครองยาวถึงอายุ 99 ปี
✔ จ่ายเบี้ยเริ่มต้นหลักร้อยต่อเดือน ส่งต่อหลักประกันเงินล้าน
✔ แทนคำสัญญาจะดูแลกันตลอดไป
สามารถระบุ “คู่ชีวิต” เป็นผู้รับประโยชน์สำหรับประกันชีวิตได้
ประกันชีวิตเพื่ออนาคตมั่นใจ ส่งต่อหลักประกันให้คนที่คุณรักอย่างมั่นคง เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
ซื้อวันนี้ ผ่อนเบี้ยสบ๊ายสบายนานสูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13%
รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก
☑️ โทร 1766 ตลอด 24 ชั่วโมง
☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขา ธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
- เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
- การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
- เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
- เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
- โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 10/10/63
🔖 moneyhub
🔖 ghbank