Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

ไม่อยากเสี่ยงเป็นโรคตับ ปรับตัวด่วน! พร้อมเช็กอาการและวิธีป้องกัน

ไม่อยากเสี่ยงเป็นโรคตับ ปรับตัวด่วน! พร้อมเช็กอาการและวิธีป้องกัน

04 ตุลาคม 2566

5 นาที

“ตับ” เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดในช่องท้อง หากละเลยจนเสี่ยงโรคตับหรือเกิดโรคของตับ เช่น ตับอักเสบ ตับแข็ง มีไขมันพอกตับ จะทำให้ร่างกายมีอาการผิดปกติ ทำให้ระบบในร่างกายรวน จนอันตรายถึงชีวิตได้ เพราะตับมีหน้าที่ผลิตน้ำดี ซึ่งน้ำดีจะช่วยย่อยอาหารประเภทไขมัน และทำลายสารพิษต่าง ๆ ที่ร่างกายรับเข้ามา แล้วขับออกจากร่างกาย เพื่อไม่ให้มีสารพิษตกค้าง หากไม่ดูแล “ตับ” ให้ดีก็อาจเข้าสู่ภาวะตับวาย และโรคมะเร็งตับได้ ที่สำคัญหากตับเริ่มมีปัญหา มักจะไม่แสดงอาการ เราจึงต้องหมั่นสังเกตอาการตัวเอง ว่ามีความเสี่ยงหรือไม่ ก่อนที่จะสายเกินไป ยิ่งหากป่วยขึ้นมา นอกจากเจ็บปวดทางร่างกายแล้ว ยังต้องมาเจ็บปวดกับค่ารักษาไปอีกกกก อย่ารอช้าตามมาเช็กพฤติกรรมเสี่ยง และอาการเบื้องต้นของโรคตับ และข้อควรระวังกัน ตามเมืองไทยประกันชีวิตมาเลยจ้าา



โรคตับ เกิดจากอะไร

โรคตับ เกิดจากอะไร เช็กเลย  


โรคตับ เป็นโรคที่เกิดได้ทุกเพศทุกวัย ซึ่งสาเหตุการเกิดโรคตับ เกิดจากการที่ตับทำงานผิดปกติ ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของตับลดลง เช่น การผลิตโปรตีน การจัดการสารพิษในร่างกาย การไหลเวียนของเลือดที่ไหลผ่านตับไม่สะดวก ทำให้ระบบการทำงานของร่างกายแปรปรวน 


สาเหตุที่ส่งผลให้ตับมีปัญหาและเกิดโรคตับ

  •  กินอาหารปิ้งย่าง อาหารที่มีไขมันสูง เช่น ของทอด ของมัน ๆ นม เนย กะทิ ชีส กุ้ง ปูไข่ ไข่แดง จะทำให้ร่างกายมีไขมันมากเกินไป จนเกิดไขมันในเลือดสูง เกิดการสะสมที่ตับจนนำไปสู่โรคไขมันพอกตับ ส่งผลให้ตับอักเสบเรื้อรัง จนนำไปสู่ภาวะตับแข็งในที่สุด
  • ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ และในปริมาณมากเป็นระยะเวลานาน เสี่ยงเป็นโรคตับมากที่สุด เพราะจะทำให้มีไขมันสะสมในตับ เกิดการอักเสบและเกิดพังผืดในตับ เมื่อตับอักเสบนาน ๆ จะก่อให้เกิดภาวะตับแข็ง
  • การกินยาและอาหารเสริม เมื่อร่างกายได้รับยาบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือในปริมาณที่สูงเกินไป ทำให้ตับไม่สามารถทำลายได้ทัน จนเหลือเป็นส่วนเกินส่งผลให้มีฤทธิ์ทำลายเนื้อตับ อาจทำให้เกิดภาวะตับวายได้
  • ภาวะอ้วนลงพุง หากมีไขมันสะสมในช่องท้องมากเกินไป ทำให้มีการสะสมของไขมันที่ตับ จนทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ ทำให้ตับอักเสบเรื้อรังจนกลายเป็นโรคตับแข็ง
  • การสูบบุหรี่ หรืออยู่ใกล้ควันจากบุหรี่บ่อย ๆ จะส่งผลต่อการทำงานของตับ ทำให้ตับทำงานหนักขึ้น
  • กินน้ำตาลมากจนเกินไป เพราะฟรุกโตสที่อยู่ในอาหาร จะทำร้ายตับ จากการสะสมไขมันในตับ จนกลายเป็นโรคไขมันพอกตับได้ 
  • การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซีเรื้อรัง และไม่ได้รับการรักษา 


โรคตับ อาการ

โรคตับ อาการแบบไหนควรระวัง


เพราะโรคตับจะไม่แสดงอาการที่ชัดเจนจนกว่าร่างกายจะรับไม่ไหว การสังเกตอาการด้วยตัวเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากเจ็บป่วยขึ้นมาค่ารักษาก็เกินจะทนไหว ยิ่งหากมีพฤติกรรมเสี่ยงแล้ว ยิ่งห้ามละเลย โดยเฉพาะอาการที่หลายคนสงสัยว่า คันแบบไหนเป็นโรคตับ ตาเหลือง เป็นโรคตับ หรือถ้าท้องบวม จะเสี่ยงโรคตับหรือไม่ เพื่อกันความสับสนมาดูอาการโรคตับกันว่ามีอะไรบ้าง

  • อ่อนเพลีย นอนไม่ค่อยหลับ รู้สึกง่วงในเวลากลางวัน เหนื่อยง่ายคล้ายคนไม่มีแรง คลื่นไส้ เบื่ออาหารมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ รวมทั้งเรอบ่อยขึ้น
  • ผู้หญิงประจำเดือนมาไม่ปกติ ผู้ชายบางคนอาจมีอาการเต้านมขยาย มีอาการเจ็บที่เต้านม ในบางคนอัณฑะอาจฝ่อตัว หรือสมรรถภาพทางเพศลดลง
  • มีอาการคันตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย 
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง คล้ายเป็นดีซ่าน 
  • มีอาการบวม เช่น ท้องบวม หลังเท้า แขนขา และหน้าท้อง 
  • เมื่อมีบาดแผล เลือดจะออกง่ายกว่าปกติ และไม่ยอมหยุดไหลง่าย ๆ 
  • หากเริ่มมีอาการรุนแรง อาจมีอาการอาเจียนเป็นเลือดเพราะความดันในตับสูง จนทำให้หลอดเลือดดำในหลอดอาหารมีความดันสูง 
  • ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง ทำให้เจ็บป่วย หรือติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
  • เจ็บใต้ชายโครงขวา หรือเจ็บ ปวดท้องด้านขวาตอนบน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่อยู่ของตับ
  • บริเวณมุมปาก และริมฝีปาก มีสีคล้ำผิดปกติ ลิ้นมีสีม่วงคล้ำ และขอบลิ้นจะมีรอยกดทับของฟันด้วย
  • เมื่อเป็นมาก ลมหายใจอาจมีกลิ่นออกหวาน มีอาการสับสน อารมณ์แปรปรวน มือ เท้า กระตุก และมือสั่น


โรคตับ ห้ามกินยาอะไร

โรคตับห้ามกินอะไร 


อาหารต้องห้าม หรือยาต้องห้ามสำหรับคนที่ป่วยเป็นโรคตับต้องระวัง เพราะหากกินโดยไม่ได้ใส่ใจเท่าไหร่ก็จะส่งผลอันตรายต่อตับมากยิ่งขึ้น มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง


โรคตับห้ามกินอาหารอะไร

  • อาหารทะเลสุก ๆ ดิบ ๆ เพราะอาหารทะเลอาจปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสตับอักเสบเอ หากติดเชื้อไปภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยโรคตับที่ไม่ค่อยดีอยู่แล้ว ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงติดเชื้อรุนแรงได้
  • สุราเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะเป็นพิษต่อตับ และเพิ่มโอกาสมีไขมันพอกตับมากขึ้น 
  • อาหารที่มีไขมัน หรือน้ำตาลสูง เพราะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้มีไขมันพอกตับมากขึ้น
  • เกลือหรืออาหารรสเค็ม เพราะเกลือและอาหารที่มีโซเดียมสูง จะทำให้เกิดภาวะบวมน้ำ เสี่ยงภาวะท้องบวมน้ำได้มากขึ้น
  • อาหารที่ปนเปื้อนสารพิษต่าง ๆ เช่น ถั่วลิสงที่ปนเปื้อนสารอะฟลาท็อกซิน อาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งตับ เห็ด
  • พิษบางชนิด ที่เพิ่มความเสี่ยงภาวะตับอักเสบรุนแรงจนถึงตับวายได้


โรคตับห้ามกินยาอะไร

สำหรับยาที่โรคตับควรหลีกเลี่ยง จะเป็นจำพวกอาหารเสริม และสมุนไพร ซึ่งการกินอาหารเสริม หรือกินยาที่มากเกินความจำเป็น จะทำให้ตับต้องทำงานหนักตลอดเวลา ส่งผลให้ตับอักเสบได้ ส่วนสมุนไพรบางชนิด อาจส่งผลถึงการทำงานของตับได้ ดังนั้นก่อนกินยา อาหารเสริม หรือสมุนไพร  ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อเช็กว่าปลอดภัยไม่เป็นอันตรายต่อตับ


 วิธีดูแลตับ

เคล็ดลับดูแลตับให้แข็งแรง


ดูแลตับให้แข็งแรง แล้วจะได้ใช้ชีวิตอย่างสบายใจ เพราะตับเป็นจุดเริ่มต้นของการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย หากไม่ดูแลตับให้ดี ร่างกายแปรปรวนขึ้นมา ก็ส่งผลกระทบไปอีกหลายโรค ทั้งโรคตับแข็ง หรือโรคมะเร็งตับ มาเช็กกันว่าการดูแลตับให้แข็งแรงมีอะไรกันบ้าง


  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • งดการสูบบุหรี่
  • ไม่กินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ โดยเฉพาะเนื้อหมู อาหารทะเล ปลาร้า ปลาน้ำจืดที่ไม่สุก
  • การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน 
  • การสักหรือใช้เข็มฉีดยาที่ไม่สะอาด
  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารเก่า อาหารแปรรูปหรืออาหารผ่านการปรุงแต่ง
  • ไม่ควรใช้ยาโดยไม่มีข้อบ่งชี้ หรือไม่ควรซื้อยากินเอง เพราะยาบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงต่อตับ
  • ควรออกกำลังกายใอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
  • ควบคุมน้ำหนัก ไม่ปล่อยให้มีรูปร่างอ้วน
  • ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอและบี


โรคตับเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการ รู้ตัวอีกทีอาจป่วยหนักไปแล้วก็ได้ ดังนั้น การดูแลสุขภาพตัวเองให้ห่างไกลโรค ก็จะช่วยให้เบาใจ เพราะหากละเลยแล้วเกิดเจ็บป่วยมา ก็สะเทือนไปทั้งครอบครัว รวมถึงค่ารักษา หากไม่ได้วางแผนไว้อาจทรุดได้ เราจึงควรดูแลสุขภาพ และควรมีประกันสุขภาพก่อนเจ็บป่วย เพื่อช่วยเพิ่มความมั่นใจ เจ็บป่วยมาก็ไม่กังวลเรื่องค่ารักษา
 
เสริมความมั่นใจด้วย ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ที่พร้อมดูแลค่ารักษาทั้งโรคเล็ก โรคร้ายแรง ด้วยวงเงินที่เลือกได้ตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท คุ้มครองทั้ง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคทั่วไป ครอบคลุมเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย รวมถึงอายุรับประกันสูงสุด 90 ปี ดูแลต่อเนื่องยาว ๆ สูงสุดถึงอายุ 99 ปี 


ซื้อวันนี้ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% นานสูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13%


รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

☑️ โทร.1766 ตลอด 24 ชั่วโมง

☑️  ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขา ธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์


  • ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
  • เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย


ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 01/09/66

🔖 โรงพยาบาลนครธน

🔖 โรงพยาบาลเปาโล

🔖 โรงพยาบาลสมิติเวช

🔖 โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาการุณย์

🔖 โรงพยาบาลจุฬาลงกร์ สภากาชาดไทย


สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าสนใจ