ผู้หญิง 30+ อ้วนลงพุง เสี่ยงโรคมะเร็ง
สำหรับผู้หญิงแล้วเมื่อย่างเข้าสู่วัย 30 มักมีหลายเรื่องให้กังวล โดยเฉพาะเรื่องของสุขภาพที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ แต่ก็ยังมีความน่าเป็นห่วงมากกว่านั้นคือ ในผู้หญิงที่อ้วนลงพุงจะเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งมากขึ้น เพราะหากมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน จะทำให้ร่างกายมีไขมันสะสมมากกว่าปกติ จนส่งผลเสียต่อสุขภาพในที่สุด ซึ่งจากผลสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562 – 2563 พบว่า ผู้หญิงในกรุงเทพฯ มีความชุกภาวะอ้วนลงพุงสูงสุดถึงร้อยละ 65.3 และภาพรวมทั้งประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้นอีกด้วย ส่วนจะเสี่ยงอย่างไรนั้น เมืองไทยประกันชีวิตได้รวบรวมมาให้ทุกคนเช่นเคย
ความอ้วนเกิดได้จากหลายสาเหตุ
สาเหตุของความอ้วนหรือโรคอ้วนนั้น ทุกคนคงรู้อยู่แล้วว่าเกิดจากพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวัน แต่รู้หรือไม่ว่าความอ้วนเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ คือ ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เช่น ต้อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ภาวะเครียด จิตใจและอารมณ์ กรรมพันธุ์ โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง การกินยาบางชนิด อายุ (เมื่ออายุมากจะมีการใช้พลังงานน้อยลง) พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน การกินอาหารที่ให้พลังงานสูง เช่น เนื้อ ไขมัน แป้ง ของหวาน กินไม่เป็นเวลา กินจุบกินจิบ นั่ง ๆ นอน ๆ ขาดการออกกำลังกาย เหล่านี้คือสาเหตุที่ทำให้เรามีนำ้หนักเกินจนนำไปสู่โรคอ้วน
🔖 สสส. (ข้อมูล ณ วันที่ 03/03/65)
น้ำหนักเท่าไหร่ถึงอ้วนเกินเกณฑ์
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าน้ำหนักเกินเกณฑ์ ซึ่งสามารถวัดได้จากดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index – BMI โดยคำนวณจาก น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลัง 2 เช่น น้ำหนักตัว 65 (กก.) ส่วนสูง150 (เมตร) ยกกำลัง 2 จะได้ค่า BMI = 28.8 และการตรวจวัดรอบเอว โดยใช้สายวัดวัดรอบสะดือ นำตัวเลขที่วัดเป็นหน่วยเซนติเมตร หารด้วย 2 จะเท่ากับตัวเลขรอบเอวที่ไม่ควรเกินจากค่านั้น เช่น 160 (ซม.) หาร 2 = 80 ซม. แปลว่าหากเราสูง 160 เซนติเมตร รอบเอวเราไม่ควรเกิน 80 ซม. ซึ่งโดยทั่วไปแล้วคนเราควรมีค่า BMI อยู่ที่ 18.5-22.9 กก./ม.² ซึ่งหากค่า BMI ตั้งแต่ 25-29.9 คือจุดเริ่มต้นของคนที่น้ำหนักเกิน และหากค่า BMI มากกว่า 30 ขึ้นไป ก็เท่ากับอยู่ในภาวะอ้วนแล้วนั่นเอง
🔖 สสส.
ทำไมผู้หญิงอ้วนลงพุง ถึงเสี่ยงมะเร็ง
เพราะในผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือนจะมีโอกาสเป็นมะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้สูงขึ้น โดยพบในผู้หญิงอายุ 30-45 ปี ที่มีความผิดปกติของฮอร์โมนและมีน้ำหนักเกิน หรือโรคอ้วน เพราะความอ้วนทำให้มีคอเลสเตอรอลสูง ซึ่งในคนที่มีน้ำหนักเกินมักเกิดจากการกินอาหารที่มีไขมันสูง ทำให้ร่างกายสะสมไขมัน โดยเฉพาะไขมันตัวที่ไม่ดีจนเกิดภาวะคอเลสเตอรอลสูง จึงเป็นการเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งมากยิ่งขึ้น รวมถึงทำให้ระดับอินซูลินในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น หากปล่อยไว้จะมีผลกระตุ้นต่อการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งนั่นเอง และเมื่อผู้หญิงเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรือวัยทอง ฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนหลักของผู้หญิงที่สร้างจากรังไข่จะหมดไป แต่ยังมีการผลิตฮอร์โมนนี้จากเซลล์ที่เนื้อเยื่อไขมัน ในผู้หญิงที่อ้วนจึงมีแหล่งเอสโตรเจนจากเนื้อเยื่อไขมันมาก ซึ่งมะเร็งที่มีความไวต่อฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงที่หมดประจำเดือนและมีน้ำหนักเกินหรืออ้วน จะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า เสี่ยงมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก 2-4 เท่า เมื่อเทียบกับผู้หญิงน้ำหนักปกติ
🔖 mgr online (ข้อมูล ณ วันที่ 27/02/65)
ดูแลสุขภาพห่างไกลความอ้วนและโรคร้าย
แน่นอนว่าการดูแลตัวเองให้ห่างไกลความอ้วนและโรคร้ายนั้น อย่างแรกเลยคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ มีไขมันสูง ด้วยการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เช่น โปรตีนจากเนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ถั่ว ไข่ หลีกเลี่ยงอาหารมัน ทอด กินคาร์โบไฮเดรตที่มีน้ำตาลต่ำ เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ธัญพืช ลดอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น แป้งหรือขนมปังขาว ผลไม้หวาน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ มากกว่า 150 นาที/สัปดาห์ ลดความเครียด หากิจกรรมผ่อนคลาย เช่น ฟังเพลง ปลูกต้นไม้ ออกไปท่องเที่ยวพักผ่อนเปลี่ยนบรรยากาศ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 8 ชั่วโมงต่อวัน ควรเข้านอนก่อน 22.00 น. เหล่านี้หากทำได้จะช่วยให้ห่างไกลความอ้วนและโรคร้ายได้
เห็นถึงความเสี่ยงของโรคแล้วไม่ว่าจะวัยไหน เพศใด ก็ควรเริ่มดูแลสุขภาพตัวเอง รวมไปถึงการตรวจเช็กสุขภาพเป็นประจำทุกปี หรือสามารถเตรียมตัวให้พร้อมตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อเพิ่มความมั่นใจด้วยการซื้อประกันสุขภาพตั้งแต่ตอนที่เรายังแข็งแรง มีสุขภาพดี หากมีแล้วจะช่วยเพิ่มความอุ่นใจมากยิ่งขึ้น
สามารถพลัสความคุ้มครองสุขภาพอย่างเหนือระดับ และเลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
Elite Health Plus เหมาจ่ายตามจริง 20 - 100 ล้านบาทต่อปี +เข้ารักษาได้ทุก รพ. ทั่วไทยหรือหรือทั่วทุกมุมโลก(1) คุ้มครองทั้งโรคอุบัติใหม่ โรคระบาด โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี ดูแลสุขภาพยาว ๆ ถึงอายุ 99 ปี คุ้มครองครบทั้ง IPD และ OPD(2) เบี้ยวันละไม่ถึง 83 บาท(3)
✔ คุ้มครองค่าห้องเดี่ยวมาตรฐาน แบบเหมาจ่ายตามจริง หรือ ห้องเดี่ยวพิเศษก็คุ้มครอง 10,000 - 25,000 บาทต่อวัน
✔ คุ้มครองค่าห้อง ICU แบบจ่ายตามจริง รวมสูงสุด 365 วัน
✔ ครอบคลุมการรักษาโรคมะเร็ง ทั้งแบบเคมีบำบัดและแบบออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted Therapy) การวินิจฉัยแบบ MRI และการฟอกไตโดยไม่ต้องแอดมิท
✔ เข้ารักษาได้ทุกโรงพยาบาล
✔ เลือกซื้อเพิ่มได้ ความคุ้มครองคลอดบุตร หรือ แพ็กตรวจสุขภาพประจำปี ทันตกรรม ฉีดวัคซีน และค่ารักษาทางสายตา ได้ตามใจ
ซื้อวันนี้! ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% สูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13% กับบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ
รายละเอียดเพิ่มเติม
☑️ โทร.1766 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขา ธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
(1) กรณีเลือกพื้นที่ความคุ้มครองทั่วโลก
(2) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 40, 75 หรือ 100 ล้านบาท
(3) สำหรับผู้เอาประกันภัยอายุ 35 ปี แผน 20 ล้านบาท พื้นที่ความคุ้มครองประเทศไทย และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
สัญญาเพิ่มเติมประกันภัยแบบ อีลิท เฮทล์ พลัส ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
ค่าห้องเดี่ยวมาตรฐาน หมายถึง ค่าห้องพักเดี่ยวมาตรฐานของโรงพยาบาลในประเทศไทย
เงื่อนไขเป็นไปตามแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามประกาศ ฉบับวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 และ แนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในการให้คำแนะนำผู้ป่วยและการจัดบริการผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation ฉบับปรับปรุง วันที่ 4 มกราคม 2565 หรืออ้างอิงตามประกาศฉบับล่าสุด
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย