Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

เปิดค่ารักษาโรคหัวใจ พร้อมเช็กไลฟ์สไตล์แบบไหนเสี่ยงโรคหัวใจ!

เปิดค่ารักษาโรคหัวใจ พร้อมเช็กไลฟ์สไตล์แบบไหนเสี่ยงโรคหัวใจ!

02 สิงหาคม 2566

5 นาที

ส่องค่ารักษาโรคหัวใจ โรคร้ายที่คนไทยป่วยอันดับต้น ๆ อีกด้วย ซึ่งเฉลี่ยทุก 1 ชั่วโมง จะพบว่ามีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจขาดเลือดถึง 2 คน หรือ ทุก 30 นาที จะมีคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจขาดเลือดถึง 1 คน! เห็นแบบนี้ พอเริ่มเจ็บแปลบที่หัวใจอาจไม่ใช่อกหัก หรือปวดไหล่ซ้ายบ่อย ๆ อาจไม่ใช่ออฟฟิศซินโดรมอย่างที่คิด แต่ควรเช็กความเสี่ยงว่าป่วยเป็นโรคหัวใจหรือไม่ เพราะหากปล่อยไว้แล้ว ค่ารักษาโรคหัวใจก็ไม่เคยนิดเลย แต่หากจะมองหาประกันโรคหัวใจ ก็ช่วยให้เบาใจมากขึ้น แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้น มาดูกันว่าโรคหัวใจมีอาการยังไง ป่วยแล้วห้ามกินอะไร หรือจะมีวิธีรักษาโรคหัวใจ แบบไหนกันบ้าง

มาเตรียมตัววางแผนสุขภาพไว้ก่อน กับเมืองไทยประกันชีวิต เจ็บป่วยมาจะได้ไม่ sad กับค่ารักษา ตามมาเลยย



โรคหัวใจ อาการ

โรคหัวใจ กับอาการที่ต้องสังเกต


สำหรับโรคหัวใจแล้ว การสังเกตอาการผิดปกติของร่างกายตัวเอง ก็ช่วยให้รักษาได้ทันท่วงที เช่นปวดไหล่ซ้าย อาจไม่ใช่ออฟฟิศซินโดรม แต่เป็นโรคหัวใจ เพราะหากไม่สนใจอาการตัวเองเลย รู้ตัวอีกทีก็อาจเป็น โรคหัวใจระยะสุดท้ายไปแล้วก็ได้  นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจได้ ทั้งจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ เพศ หรือปัจจัยที่ควบคุมได้ เช่น การกินอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ความเครียดจากการทำงาน ไม่ออกกำลังกาย น้ำหนักเกิน รู้สาเหตุความเสี่ยงกันแล้ว มาลองสังเกตอาการโรคหัวใจกันดีกว่า ว่ามีอาการแบบไหนบ้าง


  • ใจสั่น
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • เหนื่อยง่ายเวลาออกกําลังกาย หายใจเข้าได้ลำบาก
  • เจ็บหน้าอก บริเวณกลางหน้าอก เหมือนมีอะไรมาทับ ร้าวไปที่กราม แขน ไหล่ หรือลิ้นปี่ อาจมีอาการหอบจนต้องตื่นขึ้นมาหอบกลางดึก
  • ขา หรือเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ
  • อาการวูบ หรือหน้ามืด


โรคหัวใจ ห้ามกินอะไร

เป็นโรคหัวใจ ห้ามกินอาหารอะไร


หากป่วยเป็นโรคหัวใจ อาหารก็จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะอาหารมักสัมพันธ์กับโรค หากไม่ดูแลเรื่องอาหารการกินก็อาจทำให้ทรุดลงจนอาจเป็นโรคหัวใจระยะสุดท้าย แต่หากกินอาหารดีที่มีประโยชน์ ก็จะช่วยให้สุขภาพแข็งแรง หรือกินตามใจปาก จำพวกของหวาน ของมัน ของทอด นอกจากจะทำให้อ้วนแล้ว ยังเป็นสาเหตุของโรคร้ายอีกด้วย


อาหารที่เหมาะกับโรคหัวใจ

  • กินอาหารที่มีประโยชน์
  • กินอาหารที่มีกากใย
  • กินเนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ เพิ่มไขมันดี HDL
  • กินผักผลไม้ ที่รสไม่หวานมาก 


อาหารที่คนเป็นโรคหัวใจห้ามกิน

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมัน และคอเลสเตอรอลสูง เช่น เบเกอร์รี พิซซ่า แฮมเบอร์เกอร์ หรืออาหาร Fast Food
  • งดดื่มแอลกอฮอล์ หรือน้ำหวาน
  • เลี่ยงอาหารแปรรูปไขมันสูง เช่น เบคอน ไส้กรอก และไขมันสัตว์จากเมนูอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารที่มีส่วนผสมโซเดียมสูง อาหารที่มีส่วนประกอบของผงชูรส อาหารดอง เช่น ปลาเค็ม ผักดอง รวมถึงอาหารรสหวานจัด


วิธีรักษา โรคหัวใจ

วิธีรักษาโรคหัวใจ ป้องกันได้ด้วยตัวเอง


เพราะหัวใจคือจุดสำคัญที่สุดในร่างกาย เจ็บป่วยขึ้นมา นอกจากรักษาตามที่แพทย์วินิจฉัย ซึ่งมีวิธีรักษาโรคหัวใจหลายแบบ ขึ้นอยู่กับประเภทของโรคหัวใจแล้ว ยังต้องดูแลสุขภาพตัวเอง
ตั้งแต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ เช่น เลิกสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควบคุมอาหาร เลี่ยงไขมันทรานส์ เพื่อควบคุมระดับไขมัน และคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และมีคุณภาพ และกำจัดความเครียด ใช้ชีวิตให้มีความสุข


ค่ารักษา โรคหัวใจ

ส่องค่ารักษาโรคหัวใจ ป่วยแล้วต้องจ่ายเท่าไร


อย่างที่บอกไปว่า คนไทยเสียชีวิตจากโรคหัวใจเป็นอันดับต้น ๆ นั้น ซึ่งทุก 1 ชั่วโมง พบคนไทย เสียชีวิตด้วย "โรคหัวใจ" สูงถึง 2 คน! และถึงแม้โรคหัวใจ จะเป็นโรคที่รักษาได้ แต่ก็ยังต้องดูแลฟื้นฟูต่อเนื่อง จนค่ารักษาโรคหัวใจสูงลิบ อาจเริ่มต้นตั้งแต่หลักหมื่น ไปจนถึงหลักล้านก็มี เช่น


  • ใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ 18,000 – 436,000 บาท
  • ขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน 100,000 - 200,000 บาท
  • ผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจเอออร์ต้าโป่งพอง 110,000 – 768,000 บาท
  • ผ่าตัดทำทางเบี่ยงของหลอดเลือดหัวใจ 590,000 - 800,000 บาท
  • ผ่าตัดซ่อมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจ 750,000 - 950,000 บาท 

หมายเหตุ : ราคาค่ารักษาโดยประมาณ และอาจมีการเปลี่ยนแปลง


แต่ชีวิตต้องไปต่อ อย่าไปยอมให้ค่ารักษามาจำกัดชีวิตของเรา การมีประกันโรคหัวใจก็ช่วยให้อุ่นใจ  รวมถึงการดูแลสุขภาพตัวเอง ก็ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจด้วย ทั้งกินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี 


การมีประกันสุขภาพไว้ก่อนป่วย ก็ช่วยลดความเสี่ยงเรื่องค่ารักษายามเจ็บป่วยได้ พร้อมเสริมความมั่นใจด้วยความคุ้มครองสุขภาพ D health Plus เบี้ยไม่แพง วันละไม่ถึง 53 บาท*


✔️ สบายใจ เหมาจ่ายค่ารักษาในวงเงินเดียว 5 ล้านบาท*

✔️ ครอบคลุมทั้งค่าห้อง ไอ.ซี.ยู ค่าหมอ ค่ายา ค่าตรวจ ค่าผ่าตัด แบบจ่ายตามจริง

✔️ นอนห้องเดี่ยวมาตรฐานทุกโรงพยาบาล

✔️ สมัครได้ถึงอายุ 11 - 90 ปี  คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ถึงอายุ 99 ปี

✔️ ซื้อความคุ้มครองเสริมพิเศษเพิ่มได้ ตรวจสุขภาพ ทำฟัน ดูแลสายตา


ชอบแบบไหน บอกเราได้นะ

☑️ โทร.1766 ตลอด 24 ชั่วโมง

☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขา ธนาคารกสิกรไทย


*สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศชาย อายุ 25 ปี เลือกความคุ้มครองแผน 5 ล้านบาท โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

  • สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ  ดี เฮลท์ พลัส ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
  • ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย  
  • ค่าห้องเดี่ยวมาตรฐาน หมายถึง ค่าห้องพักเดี่ยวมาตรฐานของโรงพยาบาลในประเทศไทย
  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
  • เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต กำหนด
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย


ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 11/08/66

🔖 เมืองไทยประกันชีวิต

🔖 โรงพยาบาลเปาโล 

🔖 โรงพยาบาลสมิติเวช

🔖 โรงพยาบาลเปาโล

🔖 Dailynews

🔖 โรงพยาบาลเพชรเวช

🔖 โรงพยาบาลนครธน

สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าในใจ