Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

เจ็บหน้าอกบ่อย ๆ อย่าพึ่งชิน ให้รีบเช็ก!

เจ็บหน้าอกบ่อย ๆ อย่าพึ่งชิน ให้รีบเช็ก!

เจ็บหน้าอกบ่อย ๆ อย่าค่อย ๆ ชิน ต้องแยกให้ออกด้วยว่าเจ็บแบบไหนคือโรคอะไร เพราะสำหรับคนที่มีอาการเจ็บหน้าอก จุกแน่นหรือแสบร้อนกลางอกบ่อย ๆ อาจเคยเอะใจว่าอาการนี้เกี่ยวกับโรคหัวใจกรดไหลย้อน หรือโรคร้ายกันแน่ หรือจะแค่กล้ามเนื้ออักเสบ เพราะอาการเจ็บหน้าอกบางครั้งก็แยกได้ยากจนทำให้สับสนกันได้ เพื่อความไม่งงและคลายข้อสงสัยวันนี้เรามาไขข้อข้องใจไปพร้อมกัน


1. เจ็บกลางอกเสี่ยงโรคหัวใจ

2. เจ็บหน้าอกระวังโรคเหล่านี้!

3. ดูแลหัวใจด้วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู



เจ็บกลางอกเสี่ยงโรคหัวใจ


1. เจ็บกลางอกเสี่ยงโรคหัวใจ


อาการเจ็บหน้าอกที่บ่งบอกว่าเสี่ยงโรคหัวใจ เราสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นด้วยตัวเองได้ โดยมักจะมีอาการ แน่น อึดอัด จุกเหมือนมีอะไรมาทับหรือบีบรัด บริเวณกลางหน้าอก รู้สึกเจ็บร้าวไปที่ลำคอ ขากรรไกร ไหล่และแขน โดยเฉพาะแขนซ้าย มีอาการเหนื่อยร่วมกับหายใจไม่อิ่ม มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เวียนศีรษะ คลื่นไส้ ใจสั่น เหงื่อออก และรู้สึกเหนื่อยมากกว่าปกติเวลาออกแรง เช่น ออกกำลังกาย เดินเร็ว วิ่ง แต่หากอยากห่างไกลโรคร้ายนี้ควรเริ่มดูแลตัวเองง่าย ๆ ด้วยการควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกายให้เหมาะสม และอย่าลืมไปตรวจสุขภาพเช็กหัวใจเป็นประจำทุกปี


เจ็บหน้าอกระวังโรคเหล่านี้!


2. เจ็บหน้าอกระวังโรคเหล่านี้!


  • เจ็บหน้าอกแบบตื้อ ๆ หนัก ๆ หรือปวดแน่น คล้ายถูกของหนัก ๆ กดทับ หรือปวดบีบ ๆ เสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • เจ็บหน้าอกแบบแปลบ ๆ และมีจุดกดเจ็บชัดเจน ถ้าบิดหรือเอี้ยวตัวจะมีอาการมากขึ้น อาจเกิดจากความผิดปกติของกระดูกหรือกล้ามเนื้อ
  • เจ็บหน้าอกแบบแปลบ ๆ และไม่มีจุดกดเจ็บชัดเจนเสี่ยงโรคเยื่อหุ้มปอด หรือเยื่อหุ้มหัวใจ โดยอาจมีอาการมากขึ้นเมื่อหายใจเข้า-ออกลึก ๆ
  • เจ็บหน้าอกคล้ายถูกของมีคมทิ่มแทง อาการเป็นขึ้นมาทันที และเจ็บรุนแรง อาจเสี่ยงโรคหลอดเลือดแดงฉีกขาด
  • เจ็บหน้าอกจุก ๆ แน่น ๆ หรือเจ็บเสียด ร่วมกับมีอาการท้องอืด แน่นท้อง สัมพันธ์กับมื้ออาหาร อาจเสี่ยงโรคของกระเพาะอาหาร หรือถุงน้ำดี


ดูแลหัวใจด้วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู


3. ดูแลหัวใจด้วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู


เพราะอาการเจ็บหน้าอกในแบบต่าง ๆ มักทำให้คนสับสนจนบางทีได้รับการรักษาช้า การฟื้นฟูสภาพหัวใจด้วยเวชศาสตร์ฟื้นฟูในคนที่มีปัญหาโรคหัวใจ และหลอดเลือด จะช่วยฟื้นฟูสภาพการทำงานหัวใจจนสามารถทำงานได้ พร้อมกับฟื้นฟูสภาวะทางจิตใจอารมณ์ให้กลับไปใช้ชีวิตได้เหมือนเดิมซึ่งเวชศาสตร์ฟื้นฟูจะมีกระบวนการฟื้นฟูสองส่วน คือ การรักษาด้วยการออกกำลังกาย และ การปรับเปลี่ยนปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และสามารถกลับไปดำรงชีวิตด้วยตนเองได้ปกติที่สุดเท่าที่จะทำได้


อาการและโรคต่าง ๆ เหล่านี้ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง ควรเริ่มดูแลสุขภาพเพื่อให้ห่างไกลทุกโรค ตรวจเช็กสุขภาพตามระยะ เพราะหากเจ็บป่วยขึ้นมา นอกจากจะเกิดความเจ็บปวดทรมานกับร่างกายแล้ว ยังต้องมากังวลกับค่ารักษาอีกด้วย พร้อมวางแผนค่ารักษาด้วยการมีประกันสุขภาพเหมาจ่ายก็จะช่วยให้อุ่นใจมากขึ้นยามเจ็บป่วย


  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย


ที่มา: สืบค้นเมื่อวันที่ 02/08/65

🔖 โรงพยาบาลสุขุมวิท  

🔖 โรงพยาบาลวิภาวดี 

🔖 โรงพยาบาลศิครินทร์ 

🔖 โรงพยาบาลพญาไท 

🔖 โรงพยาบาลเพชรเวช

สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าสนใจ