ส่องค่ารักษาโรคหัวใจ โรคยอดฮิตค่าใช้จ่ายสูง
โรคหัวใจหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของผู้คนทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ที่สำคัญโรคหัวใจสามารถเกิดขึ้นกับคนทุกวัย สามารถแบ่งย่อยได้เป็นหลายกลุ่มโรค เพราะเกิดจากความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ เป็นต้น ซึ่งแต่ละโรคนั้นก็มีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันไป แต่ที่เหมือนกันคือค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของโรคหัวใจนั้น สูงมากกกกกก! หากอยากรู้ว่าสูงแค่ไหนตามมาดูกันเลย
คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ เฉลี่ยวันละ 57 คน
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี 2563 พบว่า กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของคนทั่วโลก มีผู้เสียชีวิตจากกลุ่มโรคนี้ประมาณ 17.9 ล้านคน ซึ่งถือว่าสูงมาก และโรคหัวใจก็เป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทยอีกด้วย
โดยสถิติจาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (16 กันยายน 2561) พบว่า มีจำนวนคนไทยที่ป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ถึง 432,943 คน มีอัตราการเสียชีวิตถึง 21,000 คนต่อปี หรือเฉลี่ยวันละ 57 คน ซึ่งทุกคนถือว่ามีโอกาสการเกิดโรคหัวใจได้เช่นกัน หากไม่ระมัดระวังในการใช้ชีวิต หรือมีพฤติกรรมเสี่ยง
นอกจากนี้ ข้อมูลจากกรมการแพทย์ ได้ระบุไว้ว่าในปี 2557 ประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคหัวใจถึง 6,906 ล้านบาทต่อปี และถือว่าเป็นหนึ่งในโรคร้ายที่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่ค่อนข้างสูง หากไม่วางแผนเพื่อเตรียมความพร้อมก็อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตมากพอสมควร
ที่มา: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
80% ของผู้ป่วย โรคหลอดเลือดหัวใจ สาเหตุ อาหารไขมันสูง สูบบุหรี่
- ก่อนเข้าสู่โหมดค่าใช้จ่ายของโรคหัวใจ เรามาดูสาเหตุการเกิดโรคกันว่าอะไรเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้คุณเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและต้องสูญเสียเงินเก็บมากมาย เพื่อนำมารักษาโรคร้าย ซึ่งกว่า 80% ของผู้ป่วยนั้นเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ และปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหัวใจมี 2 ส่วน ดังนี้
- ส่วนที่ควบคุมไม่ได้ คือ พันธุกรรม อายุ เพศ
- ส่วนที่ควบคุมได้ คือ เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของเรา พฤติกรรมเสี่ยงส่งผลมากที่สุดคือ การสูบบุหรี่ รวมไปถึงการกินอาหารไขมันสูง ไม่ออกกำลังกาย และผลจากโรคอื่น ๆ เช่น มีภาวะความดันโลหิตสูง มีไขมันในเลือดผิดปกติ ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ภาวะอ้วนลงพุง ไม่ออกกำลังกาย ไม่กินผักและผลไม้ และมีความเครียดสะสม
ผู้ป่วยโรคหัวใจมักมีอาการเหนื่อยง่ายเมื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ เจ็บหน้าอกเหมือนมีของกดทับ พูดลำบาก ปากเบี้ยว ใจสั่น หายใจไม่อิ่ม อ่อนแรงเฉียบพลัน แขน ขา ชาใช้งานไม่ได้ ปวดหน้าอกข้างซ้ายร้าวไปถึงแขนซ้าย นอกจากนี้ยังอาจมีอาการขาและเท้าบวมเนื่องจากภาวะหัวใจวาย
ที่มา: โรงพยาบาลเปาโล
ค่ารักษา โรคหัวใจ เริ่มต้นหลักหมื่น ตอนจบอาจหลักล้าน
ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ โอกาสที่จะเกิดโรคหัวใจก็มีความเสี่ยง ดังนั้นเราควรดูแลตัวเองให้ดี เพราะโรคร้ายมักมาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่สูงเสมอ ไม่ว่าจะค่ารักษา ค่าห้อง ค่าอุปกรณ์ อาจส่งผลให้อาการยิ่งทรุดหนักเมื่อเห็นบิล ยิ่งโรคหัวใจ เป็นหนึ่งในโรคที่มีค่ารักษาสูงมากกกก ซึ่ง สถาบันโรคทรวงอก กำหนดค่ารักษาโดยประมาณไว้ดังนี้
- ทำบอลลูน 76,000 – 139,000 บาท
- ผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ 124,000 - 503,000 บาท
- ใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ 18,000 – 436,000 บาท
- ผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (CABG) + ผ่าตัดลิ้นหัวใจ 160,000 – 630,000 บาท
- ผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจเอออร์ต้าโป่งพอง 110,000 – 768,000 บาท
หมายเหตุ: ราคาค่ารักษาโดยประมาณ และอาจมีการเปลี่ยนแปลง
รู้แบบนี้แล้ว หากใครไม่อยากเสียเงินมากมาย แนะนำให้ควรหันมาดูแลทั้งใจและกายของเราให้แข็งแรงอยู่เสมอ หมั่นออกกำลังกาย งดสูบบุหรี่ ลดอาหารไขมันสูง ลดความเครียดเพิ่มความสุข เพียงเท่านี้ก็ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจได้ แต่อย่าลืมมองหาประกันโรคร้ายแรงที่ไม่ต้องจ่ายแพง คุ้มครอง 36 โรคร้าย ดูแลทุกระยะ ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ตรวจเจอรับเงินก้อนไปรักษาสูงถึง 1 ล้านบาท(1) ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็ง โรคหัวใจ หรือ อัลไซเมอร์ ก็คุ้มครอง เบี้ยวันละไม่ถึง 7 บาท(2) เพราะโรคร้ายไม่สามารถคาดเดาได้ ประกันโรคร้ายจึงเป็นคำตอบสำหรับคุณ ช่วยดูแลค่าใช้จ่ายเป็นเงินก้อน ไม่กระทบเงินเก็บ เพื่อให้คุณใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากขึ้น
(1) กรณีเลือกซื้อสัญญาเพิ่มเติม ซีไอ เพอร์เฟค แคร์ จำนวนเงินเอาประกันภัย 1,000,000 บาท
(2) สำหรับผู้เอาประกันภัย เพศหญิง อายุ 28 ปี เลือกซื้อสัญญาเพิ่มเติม ซีไอ เพอร์เฟค แคร์ จำนวนเงินเอาประกันภัย 1,000,000 บาท และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
- ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
- สัญญาเพิ่มเติม ซีไอ เพอร์เฟค แคร์ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
- เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
- การพิจารณารับประกันเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
- โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไขและข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
ที่มา: สืบค้นเมื่อวันที่ 08/09/64
🔖 โรงพยาบาลเปาโล (ข้อมูล ณ วันที่ 22/01/62)
🔖 สถานบันทรวงอก
🔖 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (ข้อมูล ณ วันที่ 02/09/63)
🔖 Raksa (ข้อมูล ณ วันที่ 19/08/62)
🔖 สสส (ข้อมูล ณ วันที่ 28/09/63)
🔖 Posttoday (ข้อมูล ณ วันที่ 11/09/62)