รวบตึงโรคร้ายของผู้หญิง อย่าวางใจ...แม้ไม่ใช่มะเร็ง
เป็นผู้หญิงต้องไม่หยุดดูแลสุขภาพ เพราะหากละเลยเมื่อไหร่ โรคภัยอาจถามหา 👩🦰 ดังนั้นการรู้จักสังเกตอาการผิดปกติด้วยตัวเองเบื้องต้น และรีบเข้ารับการตรวจจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งการพบโรคเร็วนั้นมีประโยชน์หลายอย่าง เช่น การรักษาที่ได้ผลดีกว่า ค่าใช้จ่ายจะยังไม่สูงมาก ที่สำคัญคือลดความเสี่ยงปัญหาการเกิดโรคลุกลามรุนแรงอย่างมะเร็งไปด้วย
ซึ่งโรคร้ายแรงในผู้หญิงนอกจากโรคมะเร็งแล้ว ยังมีอีกหลายโรคที่ต้องเฝ้าระวังและคอยสังเกตตัวเอง วันนี้เมืองไทยประกันชีวิตขอชวนมาเช็กกันว่า โรคร้ายอะไรบ้างที่ผู้หญิงทุกคนต้องระวัง อาการเบื้องต้นเป็นยังไง ไปดูกัน!
เนื้องอกมดลูกพบบ่อย ต้องคอยสังเกต
เนื้องอกมดลูกเกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์ที่ผิดปกติจนเป็นก้อนและแทรกเข้าไปในชั้นกล้ามเนื้อ พบมากในผู้หญิงช่วงอายุ 20 - 50 ปี ถึงจะไม่ใช่โรคร้ายเท่ามะเร็ง แต่ในบางคนก็อาจมีอาการปวดรุนแรง หรือลุกลามส่งผลกระทบต่ออวัยวะสำคัญอื่น ๆ ในร่างกายได้
อาการที่พบบ่อย
- ปวดท้องประจำเดือนมากหรือนานกว่าปกติ
- มีเลือดออกทางช่องคลอดกะปริบกะปรอยนานเกิน 1 อาทิตย์
- มีอาการปวดหน่วง ๆ ที่ท้องน้อย คลำพบก้อนที่ท้องน้อย
- ปวดหลังส่วนล่างแบบเรื้อรัง
- ปัสสาวะบ่อยขึ้น กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยอยู่
ที่มา : โรงพยาบาลเปาโล (ข้อมูล ณ วันที่ 18/08/65)
ถุงน้ำรังไข่/ซีสต์ โรคฮิตของผู้หญิง
การเกิดถุงน้ำรังไข่หรือซีสต์ในระยะแรกมักจะไม่ค่อยมีอาการ แต่ถ้าใครที่ตรวจสุขภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะการตรวจภายใน และการทำอัลตราซาวด์ผ่านทางช่องคลอด จะช่วยให้พบง่ายและรักษาได้อย่างรวดเร็ว
ซึ่งถุงน้ำรังไข่หรือซีสต์ เกิดจากการที่รังไข่สร้างของเหลวมากผิดปกติและคั่งอยู่ที่รังไข่ ทำให้เกิดลักษณะเป็นถุงน้ำหรือซีสต์ขึ้นมา
อาการที่พบบ่อย
- ปวดท้องน้อยมากผิดปกติ
- คลำพบก้อนที่ท้องน้อย
- ประจำเดือนผิดปกติ เช่น มาน้อย มาบ้างไม่มาบ้าง
- ท้องอืด แน่นท้อง เรื้อรัง
- เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลงผิดปกติ
ที่มา :โรงพยาบาลขอนแก่นราม, โรงพยาบาลเปาโล (ข้อมูล ณ วันที่ 09/03/63)
โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เป็นภาวะที่มีการเจริญเติบโตของเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกไปเติบโตในจุดอื่นที่ไม่ใช่ในโพรงมดลูก ตำแหน่งที่พบบ่อยส่วนใหญ่มักพบบริเวณอุ้งเชิงกราน รวมถึงอวัยวะใกล้เคียง เช่น กระเพาะปัสสาวะ และลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้ยังพบได้ที่ท่อไต ลำไส้เล็ก ปอด สมอง เป็นต้น
อาการที่พบบ่อย
- ในช่วงที่กำลังมีประจำเดือนอาการปวดจะมากขึ้น และจะรุนแรงมากขึ้นในรอบเดือนถัด ๆ ไป
- ปวดท้องน้อยขณะมีเพศสัมพันธ์
- ปวดท้องน้อยเรื้อรัง (มีอาการปวดท้องน้อยนานกว่า 6 เดือน)
- มีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด
ที่มา : โรงพยาบาลธนบุรี
โรคกระดูกพรุนภัยเงียบ เสี่ยงเป็นง่าย
ผู้หญิงเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าและเร็วกว่าผู้ชาย เพราะผู้หญิงมีเนื้อกระดูกน้อยกว่าผู้ชายประมาณ 10 – 30% โดยเฉพาะเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน การสลายของกระดูกก็จะเพิ่มมากขึ้น
อาการที่พบบ่อย
- ปวดหลัง เกิดจากกระดูกบางเป็นเวลานาน
- กระดูกส่วนอื่น ๆ ที่ถูกทำลายได้ง่าย เช่น ข้อมือและสะโพก
- โรคกระดูกพรุน ถือว่าเป็นภัยเงียบที่ต้องระวัง เพราะส่วนใหญ่ไม่มีอาการ กว่าจะรู้ว่าเป็นโรคกระดูกพรุนก็ต่อเมื่อกระดูกหักไปแล้ว
ที่มา : โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล
แม้โรคทั้งหมดที่ยกตัวอย่างมาจะไม่ใช่มะเร็งแต่ก็ต้องระวังไว้ เพราะเป็นโรคใกล้ตัวที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน การดูแลตัวเองทั้งในเรื่องอาหารการกิน การออกกำลังกาย รวมถึงการตรวจสุขภาพ ตรวจภายใน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำ เพราะถ้าตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็สามารถรักษาให้หายได้โดยไม่ลุกลามจนเป็นโรคร้าย
ดังนั้นวางแผนสุขภาพไว้มั่นใจกว่า เพราะการซื้อประกันสุขภาพตั้งแต่ตอนที่เรายังสุขภาพดี จะได้รับความคุ้มครองอย่างเต็มที่ เพราะประกันสุขภาพจะไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อน หากเจ็บป่วยแล้วถึงตัดสินใจซื้อก็อาจสายไป เสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 65 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
รายละเอียดเพิ่มเติม
☑️ โทร 1766
☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขาธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน
เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ
*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส
- สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
- ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
- เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
- การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
- เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
- เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
- โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย