Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

ไอไม่หยุด คันคอ ทำไงดี? สาเหตุ วิธีบรรเทา และป้องกัน

ไอไม่หยุด คันคอ ทำไงดี? สาเหตุ วิธีบรรเทา และป้องกัน

March 13, 2025

5 minutes

อาการไอ และคันคอสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อทางเดินหายใจ ภูมิแพ้ โรคกรดไหลย้อน หรือการระคายเคืองจากมลภาวะ ซึ่งนอกจากจะสร้างความรำคาญแล้ว ยังอาจส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ การทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน หากปล่อยไว้นาน อาจเป็นสัญญาณของโรคอื่น ๆ ได้


ยาวไปเลือกอ่านตามหัวข้อได้นะ




สาเหตุของอาการไอ และคันคอ


สาเหตุของอาการไอ และคันคอ


ไอบ่อย ไอถี่ ไอจนเหนื่อย หรือคันคอเป็นประจำ อาจเกิดจากหลายสาเหตุ หากละเลยไม่ดูแล อาการอาจลุกลาม และส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว ควรทำความเข้าใจ และหาสาเหตุ พร้อมแนวทางการบรรเทา หรือรักษาให้หาย เพราะหากปล่อยไว้อาจะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้


  • อาการแพ้ หรือโรคภูมิแพ้
    เมื่อร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่นละออง ไรฝุ่น หรือเกสรดอกไม้ ระบบภูมิคุ้มกันอาจตอบสนองโดยการหลั่งสารฮิสตามีน ทำให้เกิดอาการคันคอ คัดจมูก หรือจาม แม้จะไม่ใช่อาการรุนแรง แต่ก็สร้างความรำคาญ และส่งผลต่อความสบายในการใช้ชีวิตประจำวัน
  • โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
    ภาวะนี้เกิดจากการที่ร่างกายไวต่อสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่นละออง สารเคมี หรือขนสัตว์ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการคันคอ ไอ น้ำมูกไหล และคัดจมูกได้ หากไม่ได้รับการดูแล อาการอาจเรื้อรังและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต
  • การสัมผัสมลพิษทางอากาศ
    ฝุ่น PM 2.5 ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสีย รวมถึงสารเคมีจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และยาฆ่าแมลง สามารถทำให้เกิดการระคายเคืองที่คอ นำไปสู่อาการคันคอ และไอเรื้อรัง โดยเฉพาะในผู้ที่มีระบบทางเดินหายใจไวต่อสิ่งกระตุ้น
  • ไข้หวัด และการติดเชื้อทางเดินหายใจ
    ไวรัส และแบคทีเรียเป็นสาเหตุหลักของอาการไข้หวัด ซึ่งมักเริ่มต้นด้วยอาการคันคอ ก่อนที่จะพัฒนาเป็นอาการเจ็บคอ ไอ น้ำมูกไหล หรือปวดศีรษะ อาการเหล่านี้อาจหายได้เองภายในไม่กี่วัน แต่ในบางกรณีอาจรุนแรงขึ้นจนต้องได้รับการรักษา
  • ไซนัสอักเสบ
    การอักเสบของไซนัสสามารถทำให้เกิดเสมหะไหลลงคอ โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน ส่งผลให้รู้สึกคันคอ และไอเรื้อรัง อาการที่มักพบร่วมกัน ได้แก่ คัดจมูก น้ำมูกข้น หรือปวดบริเวณใบหน้า และหน้าผาก
  • โรคกรดไหลย้อน
    ภาวะที่กรดในกระเพาะอาหารย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหาร สามารถทำให้เกิดอาการระคายเคืองบริเวณลำคอ และกล่องเสียง ส่งผลให้เกิดอาการไอแห้ง ๆ เรื้อรัง รวมถึงอาการแสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว หรือแน่นท้อง ซึ่งหากปล่อยไว้ อาจกระทบต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาว



วิธีบรรเทาอาการไอ และคันคอ ด้วยตัวเอง


วิธีบรรเทาอาการไอ และคันคอ ด้วยตัวเอง


มาดูกันว่ามีวิธีไหนบ้างที่จะช่วยบรรเทาให้อาการไอ หรือคันคอ ดีขึ้นได้ มาดูกัน


  • ดื่มน้ำอุ่น หรือชาร้อน

การดื่มน้ำอุ่น ชาร้อน หรือสมุนไพรช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองในคอ และลดอาการคันคอ เช่น ชามะนาวน้ำผึ้ง หรือชาขิง

  • กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ

การกลั้วคอด้วยน้ำเกลืออุ่นช่วยลดการอักเสบ และฆ่าเชื้อในคอ ทำให้ลดอาการคัน และระคายเคืองได้

  • เพิ่มความชื้นในอากาศ

ใช้เครื่องทำความชื้นในห้อง เพื่อป้องกันไม่ให้ลม หรืออากาศแห้งทำให้คอระคายเคือง และเพิ่มอาการไอ

  • หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น

หลีกเลี่ยงการสูดดมฝุ่น ควัน หรือมลพิษทางอากาศที่อาจทำให้เกิดอาการไอ และคันคอ

  • พักผ่อนให้เพียงพอ

การนอนหลับพักผ่อนช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น ช่วยบรรเทาอาการไอ และคันคอให้ดีขึ้นเร็วขึ้น

  • ใช้ยาละลายเสมหะ

หากมีเสมหะข้น ให้ใช้ยาละลายเสมหะเพื่อลดการอุดตันในคอ และช่วยให้การหายใจสะดวกขึ้น

  • หลีกเลี่ยงอาหาร และเครื่องดื่มที่ระคายเคือง

เช่น อาหารเผ็ดจัด หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ซึ่งอาจทำให้คอแห้ง และระคายเคืองมากขึ้น

  • ดูแลระบบทางเดินหายใจ

หากมีอาการภูมิแพ้ ควรใช้ยาที่แพทย์แนะนำเพื่อลดอาการคันและคัดจมูกที่อาจเป็นสาเหตุของอาการไอ


การดูแลตัวเองด้วยวิธีง่าย ๆ เหล่านี้สามารถช่วยบรรเทาอาการไอ และคันคอได้ หากอาการยังไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง และรับการรักษาที่เหมาะสม


วิธีแก้ไอตอนกลางคืน

นอกจากช่วงกลางวันแล้ว อาการไอ และคันคอตอนกลางคืนอาจทำให้คุณนอนไม่หลับ และรบกวนการพักผ่อน ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพของคุณมากขึ้น มาดูกันว่าก่อนนอนควรปรับตัวยังไงให้ช่วยบรรเทาอาการไอได้


  • ดื่มน้ำอุ่น หรือน้ำผสมน้ำผึ้งก่อนนอน

ช่วยให้ลำคอชุ่มชื้น ลดการระคายเคือง และอาการไอ

  • ปรับท่านอนให้ศีรษะสูงขึ้น

ใช้หมอนรองให้ศีรษะสูงขึ้นเล็กน้อย เพื่อลดการไหลย้อนของเสมหะ และกรดจากกระเพาะอาหารที่อาจกระตุ้นให้ไอ

  • ใช้เครื่องทำความชื้นในห้อง

อากาศแห้งอาจทำให้ลำคอระคายเคือง การเพิ่มความชื้นในห้องนอนช่วยบรรเทาอาการไอได้

  • กลั้วคอด้วยน้ำเกลือก่อนนอน

ช่วยลดเสมหะ และฆ่าเชื้อแบคทีเรียในลำคอ ทำให้ไอน้อยลง

  • หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นก่อนนอน

หลีกเลี่ยงฝุ่น ควันบุหรี่ หรือกลิ่นฉุนที่อาจทำให้เกิดอาการไอมากขึ้น

  • ใช้ยาแก้ไอ หรือยาแก้แพ้

หากอาการไอเกิดจากภูมิแพ้ อาจใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อช่วยลดอาการ


หากอาการไอเรื้อรังต่อเนื่องเกิน 2 สัปดาห์ หรือมีอาการอื่น ๆ ร่วม เช่น หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก หรือไอเป็นเลือด ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจหาแนวทางการรักษา



ไอแบบไหนควรหาหมอ


ไอแบบไหนควรหาหมอ


อาการไอในบางกรณี อาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรงที่ต้องพบแพทย์โดยด่วน หากคุณมีอาการไอดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และรักษาอย่างเหมาะสม


อาการไอ แบ่งตามระยะเวลาได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

  • ไอเฉียบพลัน (Acute Cough) มีอาการไอน้อยกว่า 3 สัปดาห์
  • ไอกึ่งเฉียบพลัน (Subacute Cough) มีอาการไอตั้งแต่ 3-8 สัปดาห์
  • ไอเรื้อรัง (Chronic Cough) มีอาการไอต่อเนื่องมากกว่า 8 สัปดาห์


อาการไอเรื้อรังควรพบแพทย์ เมื่อมีอาการร่วมดังต่อไปนี้

  • ไอเป็นเลือด หรือไอมีเสมหะปนเลือด
  • เสียงแหบ
  • มีไข้
  • น้ำหนักลด
  • ไอจากการที่เคยสัมผัสกับผู้ป่วยวัณโรค หรืออยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค
  • มีประวัติป่วยเป็นโรคปอดอักเสบบ่อย ๆ
  • กลืนลำบาก หรือกลืนแล้วรู้สึกเจ็บ
  • มีอาการสำลัก


หากคุณมีอาการไอ และคันคอที่ไม่ดีขึ้น หรือมีอาการที่อาจบ่งบอกถึงโรคร้ายแรง ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย และรักษาอย่างเหมาะสม การดูแลสุขภาพตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน และช่วยให้คุณกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างสบายใจ


อ่านบทความเกี่ยวกับอาการไอเพิ่มเติมได้ที่


นอกจากนี้ การมีประกันสุขภาพ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายเมื่อต้องเข้ารับการรักษา ไม่ว่าจะเป็นค่าหมอ ค่ายา หรือค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาล ลองเลือกแผนประกันที่คุ้มครองอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ เพื่อให้คุณมั่นใจได้ว่า หากเกิดปัญหาสุขภาพขึ้น คุณจะได้รับการดูแลอย่างเต็มที่โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย ด้วย ประกันสุขภาพเหมาจ่าย จากเมืองไทยประกันชีวิต ที่ดูแลค่ารักษา ตั้งแต่ 2 แสน - 100 ล้านบาท เจ็บป่วยก็เบาใจกับค่ารักษา


รายละเอียดเพิ่มเติม

☑️ โทร.1766 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต



  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย



ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 3/03/68

🔖phyathai

🔖sikarin

🔖hdmall

🔖pobpad

🔖chulalongkornhospital

Interested In

I agree that Muang Thai Life Assurance PCL. Collect and use my personal information above to contact me to offer products and services at I am interested or the company saw that it was beneficial to I have by me to equate the mark In the square is an indication of intent. instead of my consent Signing as evidence. I have read and acknowledged the Privacy Policy.