ไวรัสตับอักเสบ อันตรายกว่าที่คิด รู้ทันป้องกันได้
ไวรัสตับอักเสบ เป็นโรคยอดฮิตที่หลายคนเคยได้ยินบ่อย และยังก่อให้เกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง รวมถึงมะเร็งตับอีกด้วย ซึ่งไวรัสตับอักเสบยังแบ่งเป็นหลายชนิด คือ ไวรัสตับอักเสบชนิด A B C D และ E โดยเฉพาะไวรัสตับอักเสบบี ก็เป็นหนึ่งในโรคที่คนป่วยเยอะเช่นกัน ซึ่งแต่ละชนิดก็มีความต่างกัน ทั้งสาเหตุการติดเชื้อ อาการ หรือผลของอาการในระยะยาว มาดูกันว่า ไวรัสตับอักเสบ เกิดจากอะไร มีอาการอย่างไร ห้ามกินอะไรบ้าง หรือไวรัสตับอักเสบ เอ กับ บี ต่างกันอย่างไร ตามมาดูกันเลย
4. ไวรัสตับอักเสบ A กับ B ต่างกันอย่างไร
5. ไวรัสตับอักเสบ ป้องกันอย่างไร
1. ไวรัสตับอักเสบ เกิดจากอะไร
ไวรัสตับอักเสบ เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นภาวะที่มีการอักเสบ จนเกิดจากการทำลายเนื้อเยื่อ ทำให้การทำหน้าที่ต่าง ๆ ของตับผิดปกติ จนป่วยเป็นตับอักเสบในที่สุด แต่หากเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง อาจมีภาวะแทรกซ้อนตามมา คือ โรคตับแข็ง และมะเร็งตับ และนอกจากการติดเชื้อแล้วยังมีสาเหตุอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน
- ดื่มแอลกอฮอล์ อาจเป็นเหตุให้ตับเกิดความเสียหายหรืออักเสบได้ เนื่องจากแอลกอฮอล์จะทำลายเซลล์ตับ ทำให้เกิดตับแข็ง
- การใช้ยาและได้รับสารพิษบางชนิด โดยการใช้ยาเกินปริมาณและเกินระยะเวลาที่กำหนด อาจสร้างความเสียหายต่อตับได้ เช่น ยาพาราเซตามอล ไอบูโพรเฟ่น ยารักษาวัณโรค รวมถึงยาฮอร์โมน วิตามินบำรุง หรือสมุนไพรต่าง ๆ
- ภาวะไขมันพอกตับ ซึ่งมักเกิดได้ในคนที่มีภาวะเสี่ยงเป็นไขมันพอกตับ ได้แก่ โรคอ้วน โดยเฉพาะผู้ที่อ้วนลงพุง ผู้ตรวจพบโรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูงและความดันโลหิตสูง โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบเผาผลาญ การกินอาหารพลังงานสูงเป็นประจำ
- สาเหตุอื่น ๆ เช่น การติดเชื้อจากโรคไข้เลือดออก ไข้รากสาด ไข้ป่า การอุดกันทางเดินน้ำดี จากภูมิแพ้ตนเอง เป็นต้น
2. ไวรัสตับอักเสบ มีกี่ชนิด
หลายคนคงเคยได้ยินว่าไวรัสตับอักเสบ A B ซึ่งเป็นชื่อที่คุ้นหู แต่ไวรัสตับอักเสบนั้นมีด้วยกันหลายชนิด และแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน ดังนี้
ไวรัสตับอักเสบชนิด A
เป็นชนิดที่พบได้บ่อย สามารถติดต่อผ่านการกินอาหาร หรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค ซึ่งจะมีอาการไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาเจียน ดีซ่าน
ไวรัสตับอักเสบชนิด B
ก็เป็นชนิดที่พบได้บ่อยเหมือนชนิด เอ โดยจะมีการติดต่อคล้ายกับการติดเชื้อ HIV โดยติดต่อทางเลือด ทางเข็ม ทางเพศสัมพันธ์ และจากแม่สู่ลูก คนที่ได้รับเชื้อมีโอกาสเกิดภาวะตับอักเสบรุนแรง ตับอักเสบเรื้อรัง และร้ายแรงจนพัฒนาไปเป็นโรคตับแข็ง และมะเร็งตับ
ไวรัสตับอักเสบชนิด C
สำหรับไวรัสตับอักเสบชนิดซี จะเป็นเป็นภาวะการอักเสบของตับเรื้อรัง ทำให้เกิดพังผืดในตับ จนกลายเป็นตับแข็ง และมะเร็งตับ โดยติดต่อจากการติดเชื้อทางเลือด เข็มฉีดยา ทางเพศสัมพันธ์ และส่วนมากจะไม่แสดงอาการ ทำให้คนที่ติดเชื้อรู้ตัวช้า
ไวรัสตับอักเสบชนิด D
ถือว่าเป็นไชนิดที่พบได้น้อย แต่เป็นไวรัสที่ต้องอยู่ร่วมกับไวรัสตับอักเสบ B ซึ่งหากใครที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด D แล้วจะมีอาการลุกลามรวดเร็ว และรุนแรงมากกว่าผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดอื่น 10 เท่า ซึ่ง 80% ของผู้ที่มีอาการจะเสียชีวิตในเวลาไม่นาน ถือว่าเป็นชนิดที่คนติดน้อยแต่เมื่อติดเชื้อแล้วอันตรายถึงชีวิตเลยทีเดียว
ไวรัสตับอักเสบชนิด E
เป็นชนิดที่เกิดจากการกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ โดยติดต่อจากสัตว์ที่มีเชื้อ การถ่ายเลือดกับผู้ติดเชื้อ และติดต่อจากแม่สู่ลูกเมื่อติดแล้วจะมีอาการเหมือนไวรัสตับอักเสบชนิดอื่น เช่น ปวดท้อง ตัวเหลือง ตาเหลือง ดีซ่าน คลื่นไส้อาเจียน และยังทำให้เกิดตับอักเสบแบบเรื้อรัง และตับแข็งได้อีกด้วย
3. ไวรัสตับอักเสบ อาการ
แม้ว่าอาการหลังติดเชื้อไวรัสแต่ละชนิดจะกล่าวถึงไปแล้วข้างต้น แต่อาการหลังติดเชื้อไวรัสตับอักเสบโดยรวมแล้ว จะมีความแตกต่างกัน ดังนี้
อาการตับอักเสบเฉียบพลันจากการติดเชื้อไวรัส
- อ่อนเพลีย
- จุกแน่นใต้ชายโครงขวา
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ
- คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร
- ท้องเสีย ปัสสาวะสีเข้ม
- ตัวเหลือง ตาเหลือง
ตับอักเสบเรื้อรัง อาการที่แตกต่างไป
- อ่อนเพลีย
- คลื่นไส้อาเจียน ในช่วงที่มีภาวะตับอักเสบ
- อาการเมื่อปล่อยไว้จนลุกลาม ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ท้องบวม เท้าบวม อาเจียนเป็นเลือด ตัวเหลืองตาเหลือง
4. ไวรัสตับอักเสบ A กับ B ต่างกันอย่างไร
สำหรับไวรัสตับอักเสบ A กับ B เป็นชนิดที่พบได้บ่อย แต่ก็จะมีความแตกต่างให้สังเกตได้ด้วยตัวเอง ดังนี้
ไวรัสตับอักเสบ A พบได้บ่อย
การติดต่อ : ติดต่อทางอาหาร หรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค
อาการ : ไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาเจียน ดีซ่าน
แม้ว่าส่วนใหญ่อาการจะสามารถดีขึ้นได้เอง แต่ก็มีบางรายที่มีอาการรุนแรงและอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
ไวรัสตับอักเสบ B พบได้บ่อย
การติดต่อ : ติดต่อทางเลือด เพศสัมพันธ์ จากมารดาสู่บุตร
อาการ : ตับอักเสบรุนแรง อาจพัฒนาไปเป็นโรคตับ มะเร็งตับ
โดยไวรัสตับอักเสบบี นอกจากจะทำให้เกิดทั้งภาวะตับอักเสบเฉียบพลัน แล้วยังสามารถเกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรังได้อีกด้วย ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคตับแข็งและมะเร็งตับ
5. ไวรัสตับอักเสบ ป้องกันอย่างไร
เพราะส่วนมาก การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเกิดจากการติดต่อ จึงควรป้องกันตัวเอง ให้ห่างไกลไวรัสตับอักเสบ ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำที่ไม่สะอาด หรือ อาหารที่ปรุงไม่สุก ช่วยป้องกันไวรัสตับอักเสบ A, E ที่ติดเชื้อผ่านการกินได้
- ไม่ใช้เข็ม มีดโกน แปรงสีฟัน ร่วมกับผู้อื่น
- ใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ช่วยป้องกันไวรัสตับอักเสบ B, C ที่ติดเชื้อผ่านการสัมผัสเลือด หรือ สารคัดหลั่งได้
- หากเป็นไปได้ ควรหลีกเลี่ยงการเจาะ หรือการสักผิวหนัง
- การฉีดวัคซีน โดยการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบ ซึ่งจะมีวัคซีนของไวรัสตับอักเสบบางชนิด ควรสอบถามทางโรงพยาบาลที่จะรับบริการก่อน ว่ามีวัคซีนไหนบ้าง
จะเห็นได้ว่าการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ สามารถติดเชื้อกันได้ง่ายมาก ควรดุแลและป้องกันตัวเอง และอย่าลืมตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี พร้อมวางแผนเสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพจากเมืองไทยประกันชีวิต #เพราะชีวิตทุกวัยมันเจ็บป่วย ป่วยเล็กป่วยใหญ่ ช่วงวัยไหนก็ป่วยได้ไม่ช็อตฟีล
ปล่อยจอยค่ารักษาเพราะมีประกันสุขภาพดูแลให้แบบเหมา ๆ ตั้งแต่ 2 แสน - 100 ล้านบาท
✅ Elite Health Plus คุ้มครองค่ารักษา 20-100 ล้านบาทต่อปี ครอบคลุมเทคโนโลยีการรักษา ดูแลให้ทั้ง IPD และ OPD(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 157 บาท(2)
✅ D Health Plus คุ้มครองค่ารักษา 5 ล้านบาท(3) นอนห้องเดี่ยวมาตรฐานทุก รพ. เบี้ยวันละไม่ถึง 38 บาท(4)
✅ เหมาจ่าย Extra แอดมิตเข้า รพ. ดูแลค่ารักษาเหมาจ่าย 5 แสนบาท(5) เบี้ยวันละไม่ถึง 42 บาท(6)
รายละเอียดเพิ่มเติม
☑️ โทร.1766 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต
(1) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 40, 75 หรือ 100 ล้านบาท
(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยอายุ 50 ปี แผน 20 ล้านบาท พื้นที่ความคุ้มครองประเทศไทย และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
(3) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 5 ล้านบาท โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาครั้งใดครั้งหนึ่ง
(4) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง อายุ 34 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท มีความรับผิดส่วนแรก 30,000 บาท ต่อการเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง (แผน Top Up ความคุ้มครอง) และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
(5) สำหรับแผนความคุ้มครอง 3 โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง
(6) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง 34 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 3 และชำระเบี้ยประกันรายปี
- เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
- สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
- ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
- เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
- เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต กำหนด
- การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
- โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
✅ ติดตามข่าวสารจาก MTL add LINE คลิกเลย
ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 17/07/67