เช้าไม่ตื่น กลางคืนไม่นอน เสี่ยงต่อมหมวกไตล้า
คุณมีอาการแบบนี้หรือไม่ ไม่อยากตื่นเช้า ตกบ่ายตาเริ่มปิด พอกลางคืนหัวแล่น ตาสว่างไม่อยากนอนซะงั้น ทั้ง ๆ ที่ปกติจะตื่นเช้าได้อย่างสดชื่น พร้อมมีพลังในการทำงาน แต่พอเริ่มเหนื่อยล้า ไม่มีไฟแล้วก็คิดว่าเป็นเรื่องปกติ จนลืมสังเกตอาการตัวเองว่าร่างกายเริ่มไม่ปกติ มีความเสี่ยงต่อภาวะต่อมหมวกไตล้า แล้วต่อมหมวกไตล้าเกิดจากอะไร มีอาการอย่างไร อันตรายหรือไม่ เมืองไทยประกันชีวิตมีคำตอบมาให้
- ต่อมหมวกไตสำคัญอย่างไร เหตุใดถึงล้า?
- พฤติกรรมแบบไหนเพิ่มความเสี่ยง “ต่อมหมวกไตล้า”
- วิธีดูแลตัวเองเมื่อต่อมหมวกไตล้า
ต่อมหมวกไตสำคัญอย่างไร เหตุใดถึงล้า?
ต่อมหมวกไตเป็นต่อมขนาดเล็กที่มีลักษณะคล้ายหมวกทรงสามเหลี่ยม ซึ่งต่อมหมวกไตจะถูกควบคุมโดยต่อมใต้สมองและบางส่วนของต่อมไร้ท่อ มีส่วนสำคัญในการเผาผลาญไขมัน เผาผลาญโปรตีน ควบคุมระดับน้ำตาล ควบคุมความดันโลหิต รวมไปถึงการตอบสนองต่อความเครียด และหากปล่อยให้ร่างกายมีความเครียดสะสม ต่อมหมวกไตก็จะเกิดอาการล้าได้ เช่น นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ร่างกายเกิดความเครียดสะสม หมกมุ่นกับเรื่องเครียดมีเรื่องกังวลใจอยู่ตลอดเวลา ที่สำคัญหากต่อมใต้สมองไม่สามารถควบคุมการผลิตฮอร์โมนของต่อมหมวกไตได้ อาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับต่อมหมวกไต เช่น เนื้องอก ปัญหาของต่อมไร้ท่อ ปัญหาในการผลิตฮอร์โมน เป็นต้น
🔖 สสส.
พฤติกรรมแบบไหนเพิ่มความเสี่ยง “ต่อมหมวกไตล้า”
อาจเพราะทุกคนใช้ชีวิตแบบนี้จนเคยชิน เลยคิดว่าพฤติกรรมเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ คือ ตื่นเช้ายาก ไม่สดชื่น เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ท้องอืด อาหารไม่ย่อย หลังมื้อเที่ยงเริ่มง่วงนอน ติดกาแฟ ชอบกินขนมหวานพอได้กินของหวานเริ่มรู้สึกดีขึ้น ตกดึกเริ่มกระปรี้กระเปร่า ไม่ง่วงนอน ร่วมด้วยความผิดปกติของร่างกายคือ หน้ามืดวิงเวียน เวลาลุกนั่งเปลี่ยนท่า ผิวแห้ง หมองคล้ำ อารมณ์แปรปรวนง่าย โรคภูมิแพ้ ผื่นแพ้ง่าย เป็นหวัดบ่อย น้ำหนักขึ้นง่าย พฤติกรรมและอาการเหล่านี้ ทุกคนลองสำรวจตัวเองดูว่ามีความเสี่ยงหรือไม่
🔖 โรงพยาบาลพญาไท (ข้อมูล ณ วันที่ 01/11/64)
🔖 MGR ONLINE (ข้อมูล ณ วันที่ 04/04/59)
ดูแลตัวเองเมื่อต่อมหมวกไตล้า
การดูแลตัวเองหลังมีภาวะต่อมหมวกไตล้านั้น ส่วนมากคือการดูแลตัวเอง ปรับตารางชีวิตให้กลับมาปกติ ได้แก่
- กำจัดความเครียด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะต่อมหมวกไตล้า ควรผ่อนคลายตัวเอง พยายามลดความกังวลที่ทำให้เกิดความเครียด
- นอนหลับพักผ่อนอย่างน้อย 6 ชั่วโมง พยายามปรับเวลาการนอนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่อย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวัน
- นอนก่อน 4 ทุ่ม เพื่อให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม
- เมื่อรู้สึกเพลียระหว่างวันควรนอนพัก หากรู้สึกอ่อนเพลียควรเอนหลังหรือนอนพักผ่อน เพื่อผ่อนคลายความเมื่อยล้า ไม่ควรฝืนตัวเอง
- ออกกำลังกายเบา ๆ เช่น โยคะ เดิน หรือ ทำงานบ้าน เพราะหากออกกำลังกายหนักอาจกระทบต่อฮอร์โมนได้
- กินอาหารเช้าก่อน 10 โมง และควรกินอาหารที่มีประโยชน์ ครบตามหลักโภชนาการ
- ปรึกษาแพทย์ หากมีอาการรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกวิธี
สุดท้ายแล้วก่อนที่เราจะเสี่ยงต่ออาการเจ็บป่วย ก็ควรดูแลสุขภาพตัวเอง รวมไปถึงการตรวจเช็กสุขภาพเป็นประจำทุกปี หรือสามารถเตรียมตัวให้พร้อมตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อเพิ่มความมั่นใจด้วยการซื้อประกันสุขภาพตั้งแต่ตอนที่เรายังแข็งแรง มีสุขภาพดี หากมีแล้วจะช่วยเพิ่มความอุ่นใจมากยิ่งขึ้น
สามารถพลัสความคุ้มครองสุขภาพอย่างเหนือระดับ และเลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต Elite Health Plus เหมาจ่ายตามจริง 20 - 100 ล้านบาทต่อปี
- โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย