Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

วิธีแก้ร้อนใน ฉบับเร่งด่วน พร้อมสาเหตุ และวิธีป้องกัน

วิธีแก้ร้อนใน ฉบับเร่งด่วน พร้อมสาเหตุ และวิธีป้องกัน

25 เมษายน 2567

5 นาที

ใครเคยเป็นร้อนในยกมือขึ้น ยิ่งเป็นแผลในปากยิ่งทรมานเวลากินอาหารที่มีรสเผ็ดจัด หรือเปรี้ยวจัด เพราะจะเกิดอาการแสบ และปวดได้ ซึ่งแอดเชื่อได้เลยว่าแทบทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย น่าจะเคยเป็นแผลร้อนในกัน บางคนถึงขั้นเคยเป็นบ่อยหลายครั้งมาแล้วก็มี ที่สำคัญพอเป็นร้อนในแล้ว ยังอาจลามไปถึงลิ้นเป็นแผลเลยก็มี แอดจึงมีวิธีแก้ร้อนใน แบบเร่งด่วน ที่สามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้ แต่ก่อนอื่นเรามาดูกันว่า สาเหตุร้อนในมาจากอะไร และมีอาการยังไง เป็นแล้วอันตรายหรือไม่ มาดูพร้อมกันเลย


1. แผลร้อนในปากคืออะไร

2. สาเหตุของแผลร้อนในปาก

3. แผลร้อนในอันตรายหรือไม่

4. อาการแผลร้อนในปาก

5. วิธีแก้ร้อนใน เร่งด่วน

6. เคล็ดลับดูแลตัวเองห่างไกลแผลร้อนใน


แผลร้อนในปากคืออะไร

1. แผลร้อนในปากคืออะไร


แผลร้อนในปาก คือแผลที่พบได้บริเวณริมฝีปากด้านใน อาจจะเป็นกระพุ้งแก้ม ลิ้น เพดานปาก เหงือก หรือส่วนใดส่วนหนึ่งภายในปาก มีขนาดเล็กเพียง 1 มิลลิเมตร หรืออาจจะใหญ่ได้ถึง 0.5 - 1 นิ้ว อาจเกิดเป็นแผลเดียว หรือหลายแผลก็ได้ที่สำคัญสามารถเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ได้ โดยลักษณะแผลจะเริ่มจากเป็นจุดแดง หรือตุ่มเล็ก ๆ ก่อน แล้วค่อยพัฒนาเป็นแผลเปิด ที่มีลักษณะรูปวงรี มีสีขาว และขอบเป็นสีแดงนูนออกมา ส่วนมากมักไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ แต่บางครั้งอาจมีแบคทีเรียแทรกซ้อนได้


2. สาเหตุของแผลร้อนในปาก


สำหรับใครที่เป็นเหรือเคยแผลร้อนในปากแล้ว อาจพูดเปฺ็นคำเดียวกันว่าทรมาน! โดยเฉพาะเวลากินอาหารที่มีรสจัดเรียกได้ว่าซี๊ดปากทุกที เพราะทั้งแสบและปวด ดังนั้น มาดูสาเหตุกันว่าแผลร้อนในปากเกิดจากอะไรได้บ่้างจะได้หลีกเลี่ยงสาเหตุเหล่านั้นกัน


  • บุคคลในครอบครัวมีประวัติเป็นแผลร้อนใน
  • กินอาหารประเภทของมันและของทอดบ่อย ๆ
  • ร่างกายขาดวิตามินบางชนิด เช่น ธาตุเหล็ก กรดโฟลิก และวิตามินบี 12
  • มีความวิตกกังวล และเกิดความเครียดสะสม ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง
  • มีแผลกดทับ หรือเสียดสีจากฟันปลอมที่หลวมเกินไป หรือเหล็กดัดฟันไม่พอดีกับฟัน
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนดึกเป็นประจำ หรืออดนอนบ่อย ๆ
  • แพ้สารบางชนิดในยาสีฟัน
  • ขณะเคี้ยวอาหารกัดกระกุ้งแก้ม หรือกัดโดนริมฝีปากตัวเอง
  • ภาวะภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง
  • ปัจจัยอื่นๆ เช่น ฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง การมีประจำเดือน การแพ้อาหาร
  • ดื่มน้ำน้อยเกินไป

 

3. แผลร้อนในปากอันตรายหรือไม่


อย่าเห็นว่าแผลร้อนในปากเป็นแผลเล็ก ๆ ดูแลไม่กี่สัปดาห์ก็ดีขึ้น แต่ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งในช่องปากระยะเริ่มแรกของได้เช่นกัน ซึ่งสามารถสังเกตได้จากลักษณะของแผลร้อนในดังต่อไปนี้ หากใครพบว่ามีักษณะคล้ายหรือตรงกัน ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษา


  • แผลเกิดขึ้นจำนวนมากกว่า 1 จุด และเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องขณะที่แผลเก่ายังไม่หาย
  • แผลมีขนาดใหญ่เกินกว่าปกติหรือลุกลามไปบริเวณอื่น
  • มีแผลร้อนในเกิดขึ้นต่อเนื่องและอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์


วิธีแก้ร้อนใน เร่งด่วน

4. อาการแผลร้อนในปาก


เพราะไม่ใช่ทุกแผลที่เกิดขึ้นในช่องปากจะเรียกว่าแผลร้อนในได้ แล้วจะสังเกตได้ยังไงว่าอาการนี้คือแผลร้อนในปาก มาดูกันเลย


  • แผลมีขนาดเล็ก ไม่ลึก
  • มักเกิดขึ้นที่บริเวณกระพุ้งแก้ม ลิ้น และเหงือก
  • ลักษณะแผลเปื่อยเป็นวงกลมหรือวงรีสีขาว ๆ เหลือง ๆ
  • มีอาการบวมแดงและเจ็บเวลากินข้าว เวลาพูด หรือเวลานอนทับแผล
  • หากมีการอักเสบรุนแรง แผลจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ
  • อาจเป็นร่วมกับอาการไข้สูง และเป็นนานกว่า 2 สัปดาห์
  • สีของแผลเป็นสีเหลืองหรือสีขาว ซึ่งจะมีรอยแดงรอบแผล
  • อาจจะมีอาการปวดร้าว หรือบวมหากมีอาการหนัก


แต่หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์

  • แผลร้อนในที่ใหญ่กว่าปกติ
  • มีแผลจำนวนมาก
  • เป็นแผลร้อนในนาน 2 สัปดาห์หรือมากกว่า
  • แผลที่ลุกลามไปยังบริเวณอื่น
  • มีไข้สูง หรือไม่สามารถกินอาหารได้เลย


5. วิธีแก้ร้อนใน เร่งด่วน


สำหรับใครที่เป็นแผลร้อนในปากแล้ว เรามีวิธีแก้ร้อนใน ฉบับเร่งด่วนมาแนะนำ เพราะแผลร้อนในปากหากยังไม่มีอาการรุุนแรงอย่างที่กล่าวไปแล้ว ก็สามารถรักษาได้ด้วยตัวเองง่าย ๆ ตามวีธีดังต่อไปนี้


  • กินอาหารที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม เคี้ยวง่าย ย่อยง่าย
  • หลีกเลี่ยงอาหารทอด อาหารรสจัด (เปรี้ยวจัด เค็มจัด เผ็ดจัด)
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีอุณหภูมิเย็นจัด และร้อนจัด
  • งดอาหาร และสิ่งที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองในช่องปาก เช่น เหล้า บุหรี่
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6 ชั่วโมง
  • หากมีแผลร้อนในที่ค่อนข้างใหญ่ และลึก จนมีอาการเจ็บปวดมาก สามารถใช้ผ้าสะอาดพันปลายนิ้ว เช็ดทำควา
  • สะอาดฟัน เหงือก และซอกฟันแทนการใช้แปรงสีฟันชั่วคราวได้
  • บ้วนปากด้วยน้ำเกลืออย่างน้อยวันละ 2-3 ครั้ง หรือหลังอาหารทุกมื้อ
  • หลีกเลี่ยงน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้แผลร้อนในระคายเคือง และแห้งตึงจนเกินไป
  • ดื่มน้ำอุณหภูมิห้องให้มาก ๆ โดยใช้หลอดดูดแทน เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้น้ำสัมผัสแผลได้ตรง
  • เปลี่ยนมาใช้ยาสีฟันเด็กในช่วงที่มีเป็นแผลร้อนใน เพราะยาสีฟันของผู้ใหญ่มักมีส่วนผสมของมินต์ที่ทำให้เกิดอาการแสบแผลได้
  • ใช้แปรงสีฟันที่มีขนนุ่มในการทำความสะอาดฟันและช่องปาก


6. เคล็ดลับดูแลตัวเองห่างไกลแผลร้อนใน


แผลร้อนในปากหากเป็นแล้วมันทรมานช่องปากเราเหลือเกิน ที่สำคัญหากดูแลไม่ได้อาจลามไปเป็นมะเร็งช่องปากได้ ดังนั้นมาป้องกันตั้งแต่เนิ่น ๆ ไว้ดีกว่า ตามวิธีดังนี้


  • กินอาหารให้ถูกสุขลักษณะ
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ของทอด ของมัน หรืออาหารที่มีรสเผ็ดร้อน
  • กินผักและผลไม้อย่างสม่ำเสมอ
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน
  • หลีกเลี่ยงความเครียด
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ดูแลสุขภาพในช่องปากอย่างสม่ำเสมอ เช่น แปรงฟันหลังก่อนนอน แปรงฟันหลังกินอาหาร
  • พักผ่อนให้เพียงพอ


วิธีแก้ร้อนใน

อย่าเห็นว่าเป็นแค่แผลเล็ก ๆ ในช่องปากแล้วจะคิดว่าเดี๋ยวก็หาย ควรดูแลสุขภาพทั้งช่องปากตัวเอง และพฤติกรรมการใช้ชีวิตอื่น ๆ ให้ถูกสุขลักษณะเพื่อให้ห่่างไกลโรค พร้อมวางแผนเสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพจากเมืองไทยประกันชีวิต #เพราะชีวิตทุกวัยมันเจ็บป่วย ป่วยเล็กป่วยใหญ่ ช่วงวัยไหนก็ป่วยได้ไม่ช็อตฟีล

ปล่อยจอยค่ารักษาเพราะมีประกันสุขภาพดูแลให้แบบเหมา ๆ ตั้งแต่ 2 แสน - 100 ล้านบาท


✅ Elite Health Plus คุ้มครองค่ารักษา 20-100 ล้านบาทต่อปี ครอบคลุมเทคโนโลยีการรักษา ดูแลให้ทั้ง IPD และ OPD(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 157 บาท(2)

✅ D Health Plus คุ้มครองค่ารักษา 5 ล้านบาท(3) นอนห้องเดี่ยวมาตรฐานทุก รพ. เบี้ยวันละไม่ถึง 38 บาท(4)

✅ เหมาจ่าย Extra แอดมิตเข้า รพ. ดูแลค่ารักษาเหมาจ่าย 5 แสนบาท(5) เบี้ยวันละไม่ถึง 42 บาท(6)


รายละเอียดเพิ่มเติม

☑️ โทร.1766 ตลอด 24 ชั่วโมง

☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต
.
(1) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 40, 75 หรือ 100 ล้านบาท

(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยอายุ 50 ปี แผน 20 ล้านบาท พื้นที่ความคุ้มครองประเทศไทย และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

(3) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 5 ล้านบาท โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาครั้งใดครั้งหนึ่ง

(4) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง อายุ 34 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท มีความรับผิดส่วนแรก 30,000 บาท ต่อการเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง (แผน Top Up ความคุ้มครอง) และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

(5) สำหรับแผนความคุ้มครอง 3 โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง

(6) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง 34 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 3 และชำระเบี้ยประกันรายปี

  • เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
  • สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
  • ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
  • เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต กำหนด
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย


ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 29/03/67

🔖 โรงพยาบาลศิครินทร์

🔖 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

🔖 โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต

🔖 ramachannel

สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าสนใจ