ฮีลใจดี ๆ ในการวางแผนภาษีอย่างไร? ให้ใจฟูตั้งแต่ต้นปี
ในช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี มักจะเป็นเดือนสุดท้ายที่เราจะต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หลายคนยื่นแล้วอาจจะยิ้มดีใจเพราะได้เงินภาษีคืน แต่ก็มีอีกหลายคนที่ต้องทำหน้าเศร้าเพราะต้องจ่ายภาษีเพิ่มเติมอีกหลายบาท แล้วเราจะทำยังไงให้เรายิ้มได้ ไม่ต้องกุมขมับเพราะต้องหาเงินมาจ่ายภาษี วันนี้เรามีวิธีมาแนะนำ
ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่า ใครบ้างมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยทั้งนี้ก็จะเป็นผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่าง 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคมของทุกปี โดยมีสถานะ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
1) บุคคลธรรมดา
2) ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
3) ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
4) กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
5) วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
ทั้งนี้ผู้ที่มีเงินได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด ต้องยื่นแบบฯ เสียภาษีทุกราย ไม่ว่าเมื่อคำนวณแล้วจะต้องเสียภาษีหรือไม่ก็ตาม
(1) บุคคลธรรมดาและผู้ถึงแก่ความตาย มีเงินได้พึงประเมิน ดังนี้
ประเภทเงินได้ | โสด | สมรส |
เงินเดือนเพียงอย่างเดียว | 120,000 | 200,000 |
เงินได้ประเภทอื่น | 60,000 | 120,000 |
(2) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
(3) กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
ในส่วนถัดมาก็คือ ประเภทเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ซึ่งมีการแบ่งออกเป็น 8 ประเภท และค่าใช้จ่าย ซึ่งค่าใช้จ่ายนั้นเป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่กฎหมายได้กำหนดไว้ สำหรับหักเป็นต้นทุนในการทำงาน เพื่อให้ได้เงินได้สุทธิที่จะนำมาคำนวณภาษี โดยการหักค่าใช้จ่ายนั้นจะมากน้อยตามแต่ละประเภทของเงินได้
ประเภทเงินได้ | หักค่าใช้จ่าย |
1. เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส เบี้ยเลี้ยง 2. เงินได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ฯลฯ | 50% ไม่เกิน 100,000 บาท หากมีเงินได้ประเภทที่ 1 และ 2 ให้นำเงินได้ทั้ง 2 ประเภท รวมกันแต่หักได้ไม่เกิน 100,000 บาท |
3. ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น | 50% ไม่เกิน 100,000 บาท หรือตามจริง |
4. ดอกเบี้ย เงินปันผล ส่วนแบ่งกำไร ฯลฯ | หักค่าใช้จ่ายไม่ได้ |
5. รายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่าซื้อ การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน - บ้าน โรงเรียน สิ่งปลูกสร้าง แพ - ที่ดินที่ใช้ในการเกษตร - ที่ดินที่มิได้ใช้ในการเกษตร - ยานพาหนะ - ทรัพย์สินอื่น | ตามจริงหรืออัตราเหมา 30% 20% 15% 30% 10% |
6. วิชาชีพอิสระ - ประกอบโรคศิลปะ - กฏหมาย วิศวกรรม สถานปัตยกรรม บัญชี ประณีตศิลปกรรม | ตามจริงหรืออัตราเหมา 60% 30% |
7. รับเหมาก่อสร้าง | ตามจริงหรืออัตราเหมา 60% |
8. รายได้อื่น นอกเหนือจาก 1-7* | ตามจริงหรืออัตราเหมา 40% และ 60% |
* ตามพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 629) พ.ศ.2560
หลังจากที่เรานำรายได้ในแต่ละปีหักค่าใช้จ่ายแล้ว เรายังมีสิทธินำค่าลดหย่อนต่าง ๆ มาหักได้อีก ซึ่งค่าลดหย่อนเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เราเสียภาษีน้อยลงและอาจช่วยให้ได้ภาษีคืนเพิ่มขึ้นอีก สำหรับค่าลดหย่อนนั้นมักจะขึ้นอยู่กับสถานะของเรา ไม่เกี่ยวข้องกับเงินได้ที่เราหามาได้ เช่น สถานะโสด สมรส มีบุตรกี่คน ต้องดูแลพ่อแม่หรือไม่ มีการออมการลงทุนประเภทไหนบ้าง มีประกันชีวิต ประกันสุขภาพไหม เป็นต้น
ค่าลดหย่อนภาษี สามารถแบ่งได้เป็น 4 หมวดหมู่ ดังนี้
สำหรับใครหลายคนที่กำลังหาตัวช่วยในการลดหย่อนภาษีในช่วงท้ายปลายปี ขอแนะนำว่าเราสามารถวางแผนภาษีได้เนิ่นๆ ตั้งแต่ต้นปี เพื่อที่จะได้ไม่ต้องยุ่งยากหรือวุ่นวายในช่วงท้าย เช่น การวางแผนใช้สิทธิค่าลดหย่อนในหมวดหมู่การลงทุน และประกัน เราสามารถวางแผนซื้อประกันชีวิต ประกันสุขภาพได้ตั้งแต่ต้นปี นอกจากจะนำเบี้ยประกันไปใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษีได้แล้ว หากเราวางแผนเร็ว เราก็จะได้รับความคุ้มครองด้านชีวิตหรือสุขภาพเร็วขึ้นอีกด้วย ในส่วนของกองทุนรวม SSF , RMF และ Thai ESG เราก็สามารถวางแผนการลงทุนได้ตั้งแต่ต้นปีเช่นกัน โดยอาจจะใช้วิธี DCA หรือ Dollar-Cost Averaging การทยอยการลงทุนเป็นงวด ๆ ด้วยจำนวนเงินที่เท่ากันก็ได้ ซึ่งเป็นอีกวิธีที่หลายคนนิยมใช้ เพราะไม่ต้องใช้เงินก้อนใหญ่ในช่วงปลายปี นี้เป็นเพียงตัวอย่างที่เราสามารถใช้วางแผนได้ตั้งแต่ต้นปี โดยที่เราสามารถเลือกให้ตรงกับไลฟ์สไตล์ของตัวเองได้
ลูกค้าที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
☎️ Call Center 1766 กด 6 ในวันและเวลาทำการ หรือ
💼 ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต
- โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
- การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และควรศึกษาข้อมูลสิทธิประโยชน์ทางภาษี ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมดังกล่าว ก่อนตัดสินใจลงทุน