Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

มัดรวม! กองทุนลดหย่อนภาษี 2566 วางแผนครบจบที่นี่

มัดรวม! กองทุนลดหย่อนภาษี 2566 วางแผนครบจบที่นี่

โค้งสุดท้ายปลายปีแบบนี้ หลายคนต้องเตรียมตัวยื่นภาษีประจำปี 2566 กันแล้ว ซึ่งเป็นความคุ้นเคยของมนุษย์เงินเดือน หรือผู้ที่มีรายได้ที่ต้องเสียภาษี โดยทุกคนจะได้รับสิทธิในการหักค่าใช้จ่ายและลดหย่อนภาษีต่าง ๆ จากค่าลดหย่อนทั่วไป เช่น ลดหย่อนส่วนตัว บุตร ค่าเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและคู่สมรส ฯลฯ นอกจากนั้นสำหรับผู้ที่ซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนต่าง ๆ ก็สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้อีกด้วยหรือเรียกว่า กองทุนลดหย่อนภาษี เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุน Super Savings Fund (SSF) เป็นต้น ซึ่งแต่ละกองทุนก็ได้สิทธิลดหย่อนแตกต่างกัน รู้แบบนี้แล้วมาดูกันดีกว่าว่ากองทุนไหนลดหย่อนภาษีได้ตรงใจ เหมาะกับตัวเอง



กองทุน SSF ลดหย่อนภาษี

กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ลดหย่อนภาษี


สำหรับกองทุนลดหย่อนภาษีแบบแรก คือ SSF (Super Savings Fund) หรือกองทุนรวมเพื่อการออม ถือว่าเป็นกองทุนน้องใหม่ที่พึ่งเริ่มใช้เมื่อปี 2563 เป็นกองทุนที่เน้นการออมระยะยาวและเป็นตัวช่วยที่หลายคนนำมาใช้ลดหย่อนภาษี ซึ่งกองทุน SSF มีข้อกำหนดดังนี้


  • ลงทุนในสินทรัพย์อะไรก็ได้ ทั้งหุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ ตราสารหนี้ กองทุนทองคำ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ
  • ซื้อหน่วยลงทุนเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีแต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับค่าลดหย่อนการออมเพื่อเกษียณอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  • ถือหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่า 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ
  • ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อและไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี
  • นำค่าซื้อมาหักลดหย่อนภาษีได้ในปี 2563 - 2567


กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนภาษี


กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนภาษี


มากันที่กองทุนลดหย่อนภาษี ที่หลายคนคุ้นเคยกัน คือ RMF “Retirement Mutual Fund” หรือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เป็นกองทุนที่ส่งเสริมการออมเงินไว้ใช้จ่ายยามเกษียณ ซึ่งกองทุน RMF สามารถเลือกลงทุนได้หลากหลาย ทั้ง หุ้น ตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ ทั้งในหรือต่างประเทศก็ได้ โดยไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ใหม่ เพื่อให้นักลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีมากขึ้น มีอะไรบ้างไปดูกัน


  • ซื้อหน่วยลงทุนเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท และเมื่อรวมกับการออมเพื่อเกษียณอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  • ลงทุนอย่างน้อย 5 ปีต่อเนื่อง และขายได้ตอนอายุครบ 55 ปี
  • ต้องลงทุนอย่างต่อเนื่อง หรืออย่างน้อยที่สุดคือปีเว้นปี ถ้าเว้นมากกว่าหนึ่งปีจะถือว่าทำผิดเงื่อนไข
  • ไม่มีกำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำต่อปี แต่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี (หรืออย่างน้อยซื้อปีเว้นปี)


     SSF และ RMF ต่างกันตรงไหน

    กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (PVD) ลดหย่อนภาษี


    อีกกองทุนลดหย่อนภาษีที่มนุษย์เงินเดือนรู้จักกันเป็นอย่างดี คือ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (PVD) ซึ่งเป็นกองทุนที่ลูกจ้างและนายจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการออมระยะยาว ให้ลูกจ้างมีเงินออมไว้ใช้จ่ายในยามเกษียณ และยังเป็นหลักประกันของครอบครัว หากเกิดเหตุทางสุขภาพหรือบาดเจ็บในระหว่างทำงาน เกษียณอายุ ออกจากกองทุนหรือ เสียชีวิต ซึ่งถือว่าเป็นกองทุนที่เป็นตัวช่วยออมเงิน และมีความคุ้มค่าในระยะยาวเป็นอย่างมาก มาดูกันว่าหลักเกณฑ์และผลประโยชน์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีดังนี้


    • โดยเงินของกองทุนมาจากเงินที่ลูกจ้างนำส่งส่วนหนึ่ง เรียกว่า "เงินสะสม" ซึ่งกฎหมายกำหนดให้สะสมได้ต้องแต่ละบริษัทมีอัตราเงินสะสมให้เลือกออมได้ตั้งแต่ 2-15% ของเงินเดือน
    • และนายจ้างนำส่งอีกส่วนหนึ่ง เรียกว่า "เงินสมทบ" เป็นประจำทุกเดือน โดยนายจ้างจะจ่าย “เงินสมทบ” ตั้งแต่ 2 -15% เท่ากับลูกจ้าง
    • สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีประจำปีได้ ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง และไม่เกิน 500,000 บาท


     SSF และ RMF ต่างกันตรงไหน

    เปรียบเทียบ SSF และ RMF ต่างกันตรงไหน แบบไหนน่าลงทุน


    การเลือกกองทุนเพื่อลงทุนก็เรียกได้ว่าแล้วแต่ความสะดวกและไลฟ์สไตล์ว่าชอบลงทุนแบบไหน หรือผลตอบแทนจุดไหนที่ตอบโจทย์ ซึ่งกองทุน SSF และ RMF เหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการลดหย่อนภาษี ลงทุนระยะยาว และต้องการออมเงินไปจนถึงวัยเกษียณ ส่วนความแตกต่างแหละคล้ายกันของทั้งสองกองทุน จะมีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลย


    • สิทธิลดหย่อนภาษี SSF สามารถลดหย่อนภาษีไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปี และ ไม่เกิน 200,000 บาท ส่วน RMF สามารถลดหย่อนไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปี และไม่เกิน 500,000 บาท
    • ระยะเวลาถือครอง SSF ต้องถือไม่น้อยกว่า 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ โดยที่ RMF ต้องถือขั้นต่ำ 5 ปี และขายออกได้เมื่ออายุครบ 55 ปี บริบูรณ์
    • สินทรัพย์ลงทุน สามารถลงทุนได้ทุกสินทรัพย์ ทั้ง SSF และ RMF
    • จำนวนการซื้อขั้นต่ำ SSF ไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี แต่ RMF ต้องซื้อต่อเนื่องอย่างน้อยปีเว้นปี


    จะจ่ายภาษีแล้ว อย่าลืมเตรียมตัววางแผนลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดา ประจำปีภาษี 2566 ใครลงทุนกองทุนไหนไว้บ้างก็จัดเลย! เพราะสามารถใช้สิทธิต่าง ๆ ในกองทุนลดหย่อนภาษีเพื่อนำไปลดหย่อนภาษีได้อย่างเต็มที่ รวมถึงในบางรายลดหย่อน อย่างเช่นประกันสุขภาพ คุณจะได้ทั้งความคุ้มครองสุขภาพ และยังสามารถนำค่าเบี้ยไปลดหย่อนภาษี 2566 บุคคลธรรมดา ได้สูงสุด 25,000 บาท


    เลือกทำประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่ดูแลค่ารักษาทั้งโรคเล็ก โรคแรง ด้วยวงเงินที่เลือกได้ตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท เข้ารักษาได้ทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศ คุ้มครองทั้ง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคทั่วไป ครอบคลุมเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย รวมถึงอายุรับประกันสูงสุด 90 ปี ดูแลต่อเนื่องยาว ๆ สูงสุดถึงอายุ 99 ปี


    ซื้อวันนี้ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% นานสูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13%


    รายละเอียดเพิ่มเติม

    ☑️ โทร.1766 ตลอด 24 ชั่วโมง

    ☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขา ธนาคารกสิกรไทย


    • สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
    • ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
    • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
    • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
    • เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
    • เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
    • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย


    ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 22/11/66

    🔖 finnomena ข้อมูล ณ วันที่ 01/12/65

    🔖 Set

    🔖 Innovestx ข้อมูล ณ วันที่13/11/66

    สนใจแบบประกัน

    ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

    บทความน่าสนใจ