Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

Tax Planning Guide for Beginner 6

คู่มือวางแผนภาษีแบบมือใหม่ เข้าใจง่าย

ถึงเวลาต้องยื่นภาษีอีกแล้วหรอ! คำพูดคุ้นหู ที่ไม่ค่อยคุ้นเคย ของพวกเราผู้มีรายได้ต้องทำหน้าที่เป็นประชาชนที่น่ารักเสียภาษีเพื่อนำเงินไปพัฒนาประเทศทุกๆ ปี เพราะฉะนั้นการวางแผนการจัดการภาษีตั้งแต่เนิ่นๆ ถือเป็นเรื่องที่ดีงามสำหรับการยื่นช่วงปลายปี โดยเราสามารถตรวจสอบตัวเองเพื่อให้รู้ว่าเราต้องเสียภาษีจากรายได้ส่วนใด และส่วนใดสามารถนำมาจัดการภาษีได้ ถ้าพร้อมแล้วเรามาดูกันเถอะ


Tax Planning Guide for Beginner 1


มีรายได้เท่ากับต้องยื่นภาษี


เพราะมีรายได้เราจึงต้องเสียภาษี ท่องไว้ให้ขึ้นใจเลย โดยส่วนใหญ่ผู้มีรายได้ทุกคนจะเป็นผู้มีเงินเดือนประจำไม่ว่าจะเป็น พนักงานออฟฟิศ หรือลูกจ้าง ซึ่งจะถูกหักภาษีจากบริษัทไว้อยู่แล้ว แต่ทั้งนี้หากคุณมีรายได้จากช่องทางอื่นๆ เข้ามาเสริม ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างฟรีแลนซ์ ขายของออนไลน์ หรือทำธุรกิจเสริมที่มีรายได้ พูดเลยต้องนำมาคำนวณภาษีด้วย เพราะการมีรายได้เท่ากับต้องเสียภาษี หากไม่นำมาแสดงระวังงานจะเข้าได้นะพ่อแม่พี่น้อง ฉะนั้นแนะนำให้รวบรวม เอกสารแสดงรายได้ที่ได้รับต่อเดือน หรือต่อจ๊อบจากผู้จ้างเก็บไว้ให้ดี จะช่วยให้คุณยื่นภาษีได้ง่ายและสะดวกขึ้น


MTL Tips : ถ้าบุคคลที่มีเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท (หรือมีเงินเดือนไม่เกิน 26,583.33 บาท) ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี ส่วนใครที่คำนวณดูแล้วเข้าข่ายต้องเสียภาษี ขอแนะนำตัวช่วยในการวางแผนภาษี อาทิเช่นการซื้อกองทุน ประกัน หรือหักค่าใช้จ่ายอื่นๆ สำหรับการใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษี เพื่อเข้ามาช่วยวางแผนภาษีของคุณให้เรียบร้อย ถูกต้อง


Tax Planning Guide for Beginner 2


ขายของออนไลน์ก็ต้องเสียภาษี


เป็นหัวข้อที่ต้องขอย่อยมาจากหัวข้อก่อนหน้า เพราะธุรกิจขายของออนไลน์ค่อนข้างป็อบได้รับความนิยมอย่างมาก จนผู้ขายหลายต่อหลายคนไม่ได้นึกถึง และคุณอาจอยู่ในเงื่อนไขของการเสียภาษี คุณจะถูกตรวจสอบบัญชีอีเพย์เม้นต์ หรือบัญชีออนไลน์นั่นเอง หากมียอดฝากหรือโอนเงินเข้าทุกบัญชี ตั้งแต่ 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป ไม่ว่าจะรับครั้งละกี่บาทก็ตาม ฝากหรือโอนเงินเข้าทุกบัญชีตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปีขึ้นไป และมียอดเงินรวมกันตั้งแต่ 2,000,000 บาทต่อปีขึ้นไป ซึ่งต้องเข้าเงื่อนไขทั้งจำนวนครั้ง และจำนวนมูลค่าของเงินที่รับฝากหรือโอน ซึ่งสิ่งที่เราอยากแนะนำเลยคือผู้ที่ขายของออนไลน์ควรต้องทำบัญชีรายรับรายจ่าย และจดทะเบียนบริษัทให้ถูกต้องอย่างละเอียด เพราะหากตรวจสอบแล้วพบเจอคุณอาจจะมีโอกาสเสียภาษีเพิ่มก็ได้


MTL Tips : หากคุณประเมินตัวเองแล้วว่ามีโอกาสอยู่ในเงื่อนไขผู้ต้องเสียภาษีอีเพย์เมนต์ และอยากทำธุกิจออนไลน์แบบจริงจังในอนาคต ขอแนะนำให้คิดราคากำไรของสินค้า พร้อมบวกกับภาษีไปด้วยจะเป็นผลดีกับคุณ เพราะหากถึงเวลาต้องเสียภาษีคุณจะได้ไม่ต้องหยิบกำไรที่ได้มาจ่ายภาษีแทน


Tax Planning Guide for Beginner 3


ประกันกับการวางแผนภาษี


หลายคนอาจจะทราบว่าการออมเพื่อการลงทุนในระยะยาวนั้นมีเพียงกองทุนที่สามารถนำมาใช้สิทธิทางภาษีได้ แต่ความจริงแล้วยังมี “ประกัน” อีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะนอกจากจะคุ้มครองเราแล้วยังสามารถออมเพื่ออนาคตไปพร้อมๆ กัน ที่สำคัญสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ด้วย โดยนำเบี้ยประกันที่เราได้ซื้อไว้มาคำนวณเพื่อจัดการภาษีปลายปี สำหรับประกันที่สามารถนำมาใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ได้แก่ ประกันชีวิต ประกันบำนาญ ประกันสุขภาพ ประกันเพื่อบิดามารดา ประกันคู่สมรส ส่วนค่าเบี้ยประกันรวมที่เราสามารถนำมาใช้สิทธิทางภาษีได้นั้น ต้องขึ้นอยู่กับรูปแบบของประกันที่เราได้ทำว่าสามารถนำมาใช้สิทธิได้ไม่เกินกี่บาทต่อปี ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร


MTL Tips : การซื้อประกันเพื่อคุ้มครองและการออมสำหรับการวางแผนภาษี แนะนำว่าควรซื้อประมาณวันที่ 15 ธันวาคม 2562 เพราะประกันบางประเภทจะต้องใช้เวลาในการตรวจสอบก่อน ส่วนบางประเภทก็สามารถทำได้เลย ดังนั้นควรเผื่อเวลาในการทำจะเป็นประโยชน์ที่สุดสำหรับคุณในการจัดการภาษี


Tax Planning Guide for Beginner 4


การจัดการภาษีต้องมีพร้อมเพย์


ขั้นตอนสุดท้ายที่ขาดไม่ได้ เพื่อความรวดเร็วในการขอคืนภาษีเงินได้คุณต้องมีบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชน ช่วยลดภาระในการเดินทางไปยังธนาคารของประชาชน ป้องกันการศูนย์หายของเอกสารสำคัญ ที่สุดแล้วเลยคือคุณจะได้เงินคืนเร็วมากกกกก


MTL Tips : ช่องทางการรับภาษีคืนสะดวก รวดเร็วชัวร์ๆ เพียงปลายนิ้วสมัครการใช้งานพร้อมเพย์ได้ ง่ายๆ ผ่าน Online Banking แค่มีแอพพลิเคชั่นของธนาคารและเลขบัตรประชาชน เพียงเท่านี้ทุกอย่างก็จบบริบูรณ์


สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าสนใจ