Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

Living will เตรียมวางแผนช่วงสุดท้ายของชีวิต  ไม่ทิ้งภาระให้คนข้างหลัง

Living will เตรียมวางแผนช่วงสุดท้ายของชีวิต ไม่ทิ้งภาระให้คนข้างหลัง

เมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิต บางครั้งเราก็อยากเลือกขิตเองได้ถ้ามีโอกาส เชื่อว่าหลายคนคงอยากกำหนดความตายของตัวเองได้ ว่าอยากให้ออกมารูปแบบไหน  Living will จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการเตรียมพร้อม ก่อนจะถึงช่วงวาระสุดท้ายในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัวที่กำลังป่วย แล้วลูกหลานต้องเป็นคนตัดสินใจว่าจะให้รักษาต่อหรือพอแค่นี้ หรือแม้แต่ตัวเราเองที่อาจมีอาการป่วย จนไม่รู้สึกว่าร่างกายรับไม่ไหว หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถตอบสนองการสื่อสารได้ ก็สามาถใช้ living will เป็นอีกหนึ่งทาเงลือกในการตัดสินใจเตรียมรับมือกับความตาย กับการเขียนเอกสารเจตนาไม่รับการรักษา Living will  


วันนี้ลองมาดูกันว่า หนังสือแสดงเจตนา การเซ็นใบยินยอมไม่รับการรักษา Living will คืออะไร  ใครทำได้บ้าง และมีขั้นตอนอย่างไร ตามไปดูกัน!



Living Will คืออะไร


Living Will คืออะไร 


Living will หรือหนังสือแสดงเจตนา การเซ็นใบยินยอมไม่รับการรักษาคืออะไร หลายคนคงสงสัย เพราะพอพูดถึงความตาย คนส่วนใหญ่คงคิดว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัว แต่รู้หรือไม่ว่าความตายนั้นอยู่ใกล้ตัวเรามาก ๆ และมักจะเกิดขึ้นแบบไม่เลือกเวลา สถานที่ หรือแม้แต่ช่วงอายุ ซึ่งหากใครที่กำลังป่วยหนัก หรือมีคนใกล้ตัวที่มีอาการป่วยหนัก คงพอเข้าใจความยากลำบากในการตัดสินใจ ว่าจะรับการรักษาต่อหรือไม่ หากเป็นตัวเราเองก็คงตัดสินใจได้ว่าจะรักษาต่อหรือพอแค่นี้ แต่ถ้าเราต้องตัดสินใจแทนคนในครอบครัวที่กำลังป่วยหนัก ก็อาจจะมีความกังวลหรือขัดแย้งกับความต้องการของผู้ป่วยได้


Living Will จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่เป็นทางเลือกให้กับผู้ป่วยที่ยังมีสติสัมปชัญญะดีอยู่ สามารถพูดคุยวางแผนกับคนในครอบครัว คนใกล้ชิดที่ไว้วางใจ หรือแพทย์ เพื่อทำหนังสือแสดงเจตนาปฏิเสธการรักษาที่เกินความจำเป็น และวางแผนการดูแลรักษาเมื่อตนเองป่วยหนักหรืออยู่ในภาวะใกล้ตายได้ ซึ่งกฎหมายไทยอนุญาตให้เรากำหนดความประสงค์ที่จะปฏิเสธการรักษาที่เพียงเพื่อประคองอาการ ในวาระสุดท้ายผ่าน Living Will ได้


Living Will คือ หนังสือแสดงเจตนาในการรับบริการหรือปฏิเสธการรับบริการทางการแพทย์ตามมาตรา 12 ใน พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ระบุว่า บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข ที่ทำเพื่อประคองอาการก่อนวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้


พูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ กฎหมายอนุญาตให้เราทำหนังสือเลือกรับ หรือปฏิเสธการรักษาเพื่อให้เราตายอย่างสงบตามธรรมชาติได้ โดยหมอพยาบาลที่ทำตามหนังสือเจตนา จะไม่ถือว่ามีความผิดใด ๆ ตามกฎหมาย


จุดประสงค์ของการทำ Living will คือการรับรองสิทธิของผู้ป่วยที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองที่จะขอตายอย่างสงบตามธรรมชาติ ไม่ถูกเหนี่ยวรั้งด้วยเครื่องมือต่างๆ จากเทคโนโลยีทางการแพทย์ ซึ่งต้องเข้าใจว่าการแสดงเจตนาดังกล่าว มิใช่เรื่องการุณยฆาต ไม่ใช่กรณีเร่งการตายที่เป็น Active Euthanasia แต่เป็นเรื่องของการตายตามธรรมชาติโดยไม่ประสงค์จะยืดการตายด้วยการใช้เทคโนโลยีต่างๆ


การเขียน Living Will จึงเป็นแนวทางให้แพทย์ได้เดินไปในแนวทางของ Passive Euthanasia โดยไม่ใช้เครื่องมือต่าง ๆ จากเทคโนโลยีสมัยใหม่ การรักษาพยาบาลที่ควรกระทําคือ การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) ตามอาการที่เกิดขึ้น บรรเทาความเจ็บปวดให้แก่ผู้ป่วย และช่วยให้ผู้ป่วยได้จากไปอย่างสงบตามธรรมชาติ 


Living Will ใครทำได้บ้าง


Living Will ใครทำได้บ้าง


Living will หรือหนังสือแสดงเจตนา การเซ็นใบยินยอมไม่รับการรักษา สามารถทำได้ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสติสัมปชัญญะดีพอที่จะสื่อสารได้ตามปกติ สามารถเขียนหนังสือแสดงเจตนาได้ด้วยตนเอง แต่ถ้าอายุต่ำกว่า 18 ปีต้องได้รับความยินยอมจากบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือผู้อุปการะเลี้ยงดู  โดยจะทำสถานที่ใดก็ได้ แต่เพื่อความรอบคอบในการทำหนังสือแสดงเจตนา ควรขอคำแนะนำจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข 


การปรึกษาหมอผู้รักษาเกี่ยวกับการทำ Living Will จึงเป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะเราจะได้ปรึกษาความคิดเห็น แนวทางรักษา ข้อมูลต่างๆ ตลอดจนโอกาสในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ ก่อนจะตัดสินใจทำ Living Will ได้


การเขียนจะมีหรือไม่มีพยานก็ได้ แต่เพื่อให้การทำ Living Will มีประโยชน์มากที่สุด การมีพยาน หรือการบอกให้ครอบครัวคนสนิทรับรู้ จะช่วยให้หนังสือได้ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มที่ เพราะพยานจะช่วยยืนยันว่าผู้ทำมีสติสัมปชัญญะครบถ้วน ณ ขณะทำ และช่วยลดความลังเลสงสัยของหมอและพยาบาลได้


ขั้นตอนการเขียน Living Will


ขั้นตอนการเขียน Living Will


ที่จริงแล้วการเขียน Living Will ไม่ได้มีรูปแบบตายตัว จะเขียนบนแบบฟอร์มหรือบนกระดาษเปล่าก็ได้ เขียนด้วยลายมือหรือพิมพ์ก็ได้เช่นกัน แต่ต้องเซ็นรับรอง หรือหากผู้ที่แสดงเจตนาไม่สามารถเขียนหนังสือได้แล้ว ก็สามารถบอกเจตนาความต้องการ กับหมอหรือบุคคลใกล้ชิดได้ โดยสามารถให้ผู้อื่นเขียนแทน และระบุชื่อบุคคลนั้นไว้ด้วย ซึ่งมีขั้นตอนการเขียนดังนี้


ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป และมีสติสัมปชัญญะดีพอที่จะสื่อสารได้ตามปกติ สามารถเขียนหนังสือแสดงเจตนาได้ด้วยตนเอง หากอายุต่ำกว่า 18 ปี สามารถทำหนังสือแสดงเจตนาได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือผู้อุปการะเลี้ยงดู และควรขอคำแนะนำจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข


กรณีที่ผู้แสดงเจตนาไม่สามารถเขียนหนังสือเองได้ สามารถให้ผู้อื่นช่วยเขียนหรือพิมพ์ข้อความแทนได้ โดยระบุชื่อ นามสกุล หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เขียนไว้ด้วย และลงชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้แสดงเจตนา ในกรณีพิมพ์ลายนิ้วมือให้มีพยานลงนามรับรองลายนิ้วมือนั้นด้วย


การทำหนังสือแสดงเจตนาควรมีพยานรู้เห็น เพื่อประโยชน์ในการยืนยันเนื้อหากรณีที่มีข้อสงสัยเรื่องความถูกต้อง โดยพยานจะเป็นใครก็ได้ เช่น สมาชิกในครอบครัว คนใกล้ชิดที่ไว้วางใจ หรือผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข


ข้อมูลที่ต้องระบุในหนังสือแสดงเจตนาให้ครบถ้วน ได้แก่


  • ชื่อ นามสกุล อายุ หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ทำ หนังสือแสดงเจตนา
  • วัน เดือน ปี ที่ทำ หนังสือแสดงเจตนา
  • ประเภทของบริการสาธารณสุขที่ไม่ต้องการจะได้รับ เช่น
    การปั๊มหัวใจ การใส่ท่อช่วยหายใจ
  • ชื่อ นามสกุล อายุ หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนของพยาน และความเกี่ยวข้องกับผู้ทำ หนังสือแสดงเจตนา
  • อาจระบุชื่อบุคคลเพื่อทำ หน้าที่อธิบายความประสงค์ที่แท้จริงของผู้ทำ หนังสือแสดงเจตนาที่ระบุไว้ไม่ชัดเจน บุคคลผู้ถูกระบุชื่อ ดังกล่าวต้องลงลายมือชื่อ และหมายเลขบัตรประชาชนไว้ในหนังสือแสดงเจตนาด้วย
  • อาจระบุรายละเอียดอื่น ๆ เช่น ความประสงค์ในการเสียชีวิต
    ในสถานที่ไหน ความประสงค์ที่จะได้รับการเยียวยาทางจิตใจ และการปฏิบัติตามประเพณี ความเชื่อทางศาสนา


จะเห็นได้ว่าการทำ living will หรือหนังสือแสดงเจตนาการเซ็นใบยินยอมไม่รับการรักษานั้น มีความสําคัญมากเพราะหากเริ่มต้นทำในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยการเปิดใจพูดคุยกันในครอบครัวและคนใกล้ชิด เพื่อประกอบการตัดสินใจร่วมกัน และยังช่วยเป็นการทบทวนให้ผู้ที่ต้องการทำ living wil คิดให้ถี่ถ้วนก่อนการตัดสินใจอีกครั้ง ก่อนวาระสุดท้ายจะมาถึง หนังสือแสดงเจตนาการเซ็นใบยินยอมไม่รับการรักษาจึงอาจเป็นทางเลือกที่จะช่วยให้ผู้อยู่ในวาระสุดท้ายได้จากไปอย่างสงบ


ดังนั้นในทุกวันที่เรายังมีชีวิต สุขภาพแข็งแรง และสติสัมปชัญญะยังครบถ้วนอยู่ การทำประกันชีวิตจึงเป็นเรื่องหลัก ที่เราควรให้ความสำคัญ และทำไว้ให้กับคนที่เรารัก เพราะหากวันใดวันหนึ่ง ที่เราต้องจากไปก่อน คนที่บ้านจะต้องใช้ชีวิตอยู่ได้เหมือนเดิม เหมือนตอนที่ยังมีเราคอยดูแล


ประกันชีวิตเพื่ออนาคตมั่นใจ 
✔ ดูแลอนาคตของคนที่คุณรัก ด้วยหลักประกันที่มั่นคง
✔ เลือกจ่ายเบี้ยสั้นหรือยาวก็ได้ คุ้มครองยาวถึงอายุ 99 ปี

✔ จ่ายเบี้ยเริ่มต้นหลักร้อยต่อเดือน ส่งต่อหลักประกันเงินล้าน 
✔ แทนคำสัญญาจะดูแลกันตลอดไป
สามารถระบุ  “คู่ชีวิต” เป็นผู้รับประโยชน์สำหรับประกันชีวิตได้


.
ประกันชีวิตเพื่ออนาคตมั่นใจ ส่งต่อหลักประกันให้คนที่คุณรักอย่างมั่นคง เลือกเมืองไทยประกันชีวิต

ซื้อวันนี้ ผ่อนเบี้ยสบ๊ายสบายนานสูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13%


.
รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก
☑️ โทร 1766 ตลอด 24 ชั่วโมง
☑️  ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขา ธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์


  • เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
  • เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย


ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 18/10/63 

🔖 thematter

🔖 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

🔖 โรงพยาบาลรามาธิบดี

🔖 thailivingwill


สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าสนใจ