ประกันชีวิตผู้สูงอายุ คืออะไร ดียังไง และทำไมถึงควรทำ
ประกันชีวิตผู้สูงอายุ คือ ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ออกแบบมาเพื่อให้การคุ้มครองแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในช่วงวัยเกษียณหรือใกล้เกษียณ การทำประกันชีวิตประเภทนี้จะช่วยให้ผู้เอาประกันภัยได้รับความคุ้มครองในกรณีต่าง ๆ เช่น การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุหรือโรคภัยไข้เจ็บ โดยต่างจากประกันชีวิตทั่วไปตรงที่ไม่ต้องมีการตรวจสุขภาพในทุกกรณี จึงเป็นประกันที่เหมาะกับผู้ที่มีอายุมากแล้ว อีกทั้งยังมีข้อเสนอที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้สูงอายุ เช่น เบี้ยประกันที่ไม่สูงเกินไป และการคุ้มครองที่ครอบคลุมตามช่วงอายุ
ประกันชีวิตผู้สูงอายุ ที่วัยเก๋าต้องมี
แม้จะเข้าสู่ช่วงสูงวัย แต่ก็มีเรื่องมากมายที่อยากทำ ประกันชีวิตผู้สูงอายุ โครงการ เมืองไทยวัยเก๋า คุ้มทั่วไทย (เพื่อผู้สูงอายุ) ให้คุณใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ ด้วยความคุ้มครองชีวิตและอุบัติเหตุ เพียงแค่แสดงบัตรประจำตัวผู้เอาประกันภัยคู่กับบัตรประชาชนที่โรงพยาบาลคู่สัญญา เราพร้อมช่วยดูแลค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุสูงสุดถึง 25,000 บาท มีเงินชดเชยรายวันกรณีเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลจากอุบัติเหตุ สูงสุดวันละ 2,500 บาท(2) สูงสุด 365 วัน และรับเพิ่มเป็น 2 เท่าเมื่อรักษาตัวในห้อง ICU นานสูงสุด 7 วัน คุ้มครอง คุ้มค่า ด้วยความคุ้มครองจากแบบ ประกันผู้สูงอายุ หากเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสาธารณะ คุ้มครองชีวิตสูงสุดถึง 3,000,000 บาท(1) นอกจากนี้ยังสามารถนำเบี้ยประกันภัยไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนดได้อีกด้วย
ข้อมูลเพิ่มเติมของประกันชีวิตผู้สูงอายุ
- คุ้มครองชีวิต สูงสุด 3,000,000 บาท(3) กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสาธารณะ (เป็นความคุ้มครองของแบบประกันภัย เมืองไทยสบายใจ 90/90 (เพื่อผู้สูงอายุ) 1,000,000 บาท และความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุส่วนบุคคล สบายใจ (เพื่อผู้สูงอายุ) 2,000,000 บาท)
- กรณีเสียชีวิตจากเจ็บป่วย 2 ปีแรก จะได้รับเงินเท่ากับเบี้ยประกันภัยที่ชำระมาแล้วของแบบประกันภัย เมืองไทยสบายใจ 90/90 (เพื่อผู้สูงอายุ) บวกด้วยเงินเพิ่ม 2% ของเบี้ยประกันภัยดังกล่าว และในปีกรมธรรม์ที่ 3 เป็นต้นไป หรือมีชีวิตอยู่จนครบสัญญา จะได้รับเต็มตามจำนวนเงินเอาประกันภัยของแบบประกันภัย เมืองไทยสบายใจ 90/90 (เพื่อผู้สูงอายุ)
- ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ สูงสุด 25,000 บาท(4) โดยไม่ต้องสำรองจ่าย เพียงแค่ยื่นบัตร(1)
- รับเงินชดเชยรายวันกรณีเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลจากอุบัติเหตุ สูงสุดวันละ 2,500 บาท(4) สูงสุด 365 วัน และรับเพิ่มเป็น 2 เท่าเมื่อรักษาตัวในห้อง ICU นานสูงสุด 7 วัน(5)
- เบี้ยประกันภัยขึ้นอยู่กับเพศ อายุ แผนความคุ้มครองที่เลือก
เปรียบเทียบผลประโยชน์ ประกันชีวิตผู้สูงอายุ
ระยะเวลาเอาประกันภัยและระยะเวลาชำระเบี้ยประกันภัย
แบบประกันภัย เมืองไทย สบายใจ 90/90 (เพื่อผู้สูงอายุ) : ครบอายุ 90 ปี
สัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุส่วนบุคคล สบายใจ (เพื่อผู้สูงอายุ) : 1 ปี (ชำระเบี้ยประกันภัยได้ถึงอายุ 75 ปี และให้ความคุ้มครองถึงอายุ 76 ปี)
ตารางแสดงแผนความคุ้มครอง
แผนความคุ้มครอง ความคุ้มครอง(จำนวนเงินเอาประกัน) |
แผน 1 | แผน 2 | แผน 3 | แผน 4 | แผน 5 | แผน 6 |
---|---|---|---|---|---|---|
แบบประกันภัย เมืองไทย สบายใจ 90/90 (เพื่อผู้สูงอายุ) | 30,000 | 100,000 | 200,000 | 300,000 | 500,000 | 500,000 |
สัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุส่วนบุคคล สบายใจ (เพื่อผู้สูงอายุ) | 30,000 | 100,000 | 200,000 | 300,000 | 500,000 | 1,000,000 |
ตารางแสดงผลประโยชน์ของสัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุส่วนบุคคล สบายใจ (เพื่อผู้สูงอายุ)
ผลประโยชน์ | แผน 1 | แผน 2 | แผน 3 | แผน 4 | แผน 5 | แผน 6 |
---|---|---|---|---|---|---|
1. เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง หรือ ทุพพลภาพถาวร จากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง ดังต่อไปนี้ | ||||||
1.1 อุบัติเหตุที่ ไม่ได้เกิดจากการขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ สูงสุดไม่เกิน | 30,000 | 100,000 | 200,000 | 300,000 | 500,000 | 1,000,000 |
1.2 อุบัติเหตุที่ เกิดจากการขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ สูงสุดไม่เกิน | 15,000 | 25,000 | 50,000 | 75,000 | 125,000 | 125,000 |
1.3 การฆาตกรรม หรือ ถูกทำร้ายร่างกาย สูงสุดไม่เกิน | 15,000 | 50,000 | 100,000 | 150,000 | 250,000 | 250,000 |
1.4 อุบัติเหตุสาธารณะ สูงสุดไม่เกิน | 60,000 | 200,000 | 400,000 | 600,000 | 1,000,000 | 2,000,000 |
2. เงินค่ารักษาพยาบาล เนื่องจากอุบัติเหตุแต่ละครั้ง สูงสุดไม่เกิน | 5,000 | 10,000 | 15,000 | 20,000 | 25,000 | 25,000 |
3. เงินชดเชยรายวันระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลในห้องผู้ป่วยปกติ วันละ (สูงสุดไม่เกิน 365 วัน ต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง)*" |
500 | 1,000 | 1,500 | 2,000 | 2,500 | 2,500 |
4. เงินชดเชยรายวันระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ห้อง ไอ.ซี.ยู วันละ (สูงสุดไม่เกิน 7 วัน ต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง)*" |
1,000 | 2,000 | 3,000 | 4,000 | 5,000 | 5,000 |
* บริษัทฯ จะจ่ายผลประโยชน์ ข้อ 3 และข้อ4 รวมกันสูงสุดไม่เกิน 365 วัน ต่อการบาดเจ็บแต่ละครั้ง
หมายเหตุ : เบี้ยประกันภัยของสัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุส่วนบุคคล สบายใจ (เพื่อผู้สูงอายุ) จะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุที่เพิ่มขึ้นของผู้เอาประกันภัย
ตารางแสดงผลประโยชน์ของแบบประกันภัย เมืองไทย สบายใจ 90/90 (เพื่อผู้สูงอายุ)
ผลประโยชน์ | ปีกรมธรรม์ที่ 1 - 2 | ปีกรมธรรม์ที่ 3 เป็นต้นไป |
---|---|---|
1. กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต** จาก | ||
1.1 การเจ็บป่วย | บริษัทฯ จะจ่ายเงินเท่ากับเบี้ยประกันภัยที่ชำระมาแล้ว บวกด้วยเงินเพิ่ม 2% ของเบี้ยประกันภัยดังกล่าว | บริษัทฯ จะจ่ายเงินเท่ากับ 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย |
1.2 ความบาดเจ็บ เนื่องจากอุบัติเหตุที่มิใช่อุบัติเหตุสาธารณะภายใน 180 วัน นับแต่วันที่เกิดอุบัติเหตุ | บริษัทฯ จะจ่ายเงินเท่ากับเบี้ยประกันภัยที่ที่ชำระมาแล้ว บวกด้วยเงินเพิ่ม 2% ของเบี้ยประกันภัยดังกล่าว และ 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย | บริษัทฯ จะจ่ายเงินเท่ากับ 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย |
1.3 ความบาดเจ็บเนื่องจากอุบัติเหตุสาธารณะภายใน 180 วัน นับแต่วันที่เกิดอุบัติเหตุสาธารณะ | บริษัทฯ จะจ่ายเงินเท่ากับเบี้ยประกันภัยที่ชำระมาแล้ว บวกด้วยเงินเพิ่ม 2% ของเบี้ยประกันภัยดังกล่าว และ 200% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย | บริษัทฯ จะจ่ายเงินเท่ากับ 200% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย |
2. กรณีผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่จนถึงวันครบกำหนดสัญญาประกันภัย | บริษัทฯ จะจ่ายเงินเท่ากับ 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย |
** บริษัทฯ จะจ่ายผลประโยชน์ กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตเพียงกรณีเดียวเท่านั้นและให้ถือว่าสัญญาสิ้นสุดผลบังคับ
(1) แสดงบัตรประจำตัวผู้เอาประกันภัยคู่กับบัตรประชาชน เฉพาะโรงพยาบาลคู่สัญญาเท่านั้น
(2) เบี้ยประกันภัยของโครงการนี้ สามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้บางส่วนเท่านั้น ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากรกำหนด
(3) สำหรับแผน 6 ตั้งแต่ปีกรมธรรม์ที่ 3 เป็นต้นไป
(4) สำหรับแผน 5, 6 เป็นความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุส่วนบุคคล สบายใจ (เพื่อผู้สูงอายุ)
(5) บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์การชดเชยรายวันระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลรวมกันสูงสุดไม่เกิน 365 วัน ต่อการบาดเจ็บแต่ละครั้ง
- โครงการ เมืองไทยวัยเก๋า คุ้มทั่วไทย (เพื่อผู้สูงอายุ) เป็นชื่อทางการตลาดของแบบประกันภัยเมืองไทยสบายใจ 90/90 (เพื่อผู้สูงอายุ) และ สัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุส่วนบุคคล สบายใจ (เพื่อผู้สูงอายุ)
- เงื่อนไขและข้อยกเว้นเป็นไปตามที่ระบุในกรมธรรม์
- การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
Q:ถ้าวันที่สมัครทำประกันสุขภาพยังดี แต่เมื่อสมัครไปสักพักเป็นโรคร้ายโดยที่ไม่เคยมีประวัติมาก่อน ทางบริษัทฯ จะมีการตรวจสอบและยกเลิกความคุ้มครองภายหลังหรือไม่
A:เนื่องจากไม่มีการถามคำถามสุขภาพตอนสมัครทำประกัน บริษัทฯจึงไม่สามารถใช้สิทธิบอกล้างสัญญาได้ ทั้งนี้ความคุ้มครองจะเป็นไปตามเงื่อนไขและข้อยกเว้นที่ระบุในกรมธรรม์
Q:หากเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยใน 2 ปีแรก จะได้รับผลประโยชน์ใดหรือไม่
A:กรณีหากเสียชีวิตจากเจ็บป่วยใน 2 ปีแรก บริษัทฯ จะจ่ายเงินเท่ากับเบี้ยประกันชีวิตที่ชำระมาแล้ว ของแบบประกันภัยเมืองไทยสบายใจ 90/90 (เพื่อผู้สูงอายุ) บวกด้วยเงินเพิ่ม 2% ของเบี้ยประกันดังกล่าว แต่หากเสียชีวิตตั้งแต่ปีกรมธรรม์ที่ 3 เป็นต้นไป บริษัทฯ จ่ายเต็มตามจำนวนเงินเอาประกันภัยของแบบประกันภัยเมืองไทยสบายใจ 90/90 (เพื่อผู้สูงอายุ) ให้แก่ผู้รับประโยชน์
Q:กับข่าวลือที่มีคนแชร์กันในโลกออนไลน์ เรื่อง 9 โรคที่คนสูงอายุเป็นแล้วบริษัทประกันต่างๆ จะไม่คุ้มครอง จริงหรือไม่
A:อ้างอิงข่าวจากนสพ.โพสตูทูเดย์ ฉบับวันที่ 30 พ.ย. 2558 นายอำนาจ วงศ์พินิจวโรดม ผู้ช่วยเลขาธิการสายพัฒนาและวิเคราะห์ระบบการตรวจสอบ สำนักงานคปภ. เปิดเผยว่า หากลูกค้าทำประกันชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ และบริษัทไม่ระบุให้ลูกค้าต้องแถลงเรื่องสุขภาพ หากลูกค้าเสียชีวิต บริษัทประกันต้องจ่ายสินไหมตามที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ ไม่มีสิทธิปฏิเสธได้ ดังนั้น ข่าวลือดังกล่าว จึงไม่เป็นความจริง
Q:ช่องทางการติดต่อบริษัทฯ หากเกิดข้อสงสัยหรือต้องการความกระจ่างในเรื่องต่าง ๆ
A:สามารถติดต่อบริษัทฯ ผ่าน Call Center ได้ตลอด 24 ชม.ที่หมายเลข 1766 หรือ www.muangthai.co.th หรือฝากข้อความไว้ใน inbox ทาง Facebook: Muang Thai Life
1. ระยะเวลาเอาประกันภัยและระยะเวลาชำระเบี้ยประกันภัย
แบบประกันภัย เมืองไทยสบายใจ 90/90 (เพื่อผู้สูงอายุ) : ครบอายุ 90 ปี
สัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุส่วนบุคคล สบายใจ (เพื่อผู้สูงอายุ) : 1 ปี (ชำระเบี้ยประกันภัยได้ถึงอายุ 75 ปี และให้ความคุ้มครองถึงอายุ 76 ปี)
2. อายุของผู้เอาประกันภัย : 50 – 75 ปี
3. การชำระเบี้ยประกันภัย : รายปี และรายเดือน
4. การตรวจสุขภาพ : ไม่ต้องตรวจและไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพ
ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยรู้อยู่แล้ว และแถลงข้อความอันเป็นเท็จ หรือรู้อยู่แล้วในข้อความจริงใด แต่ไม่เปิดเผยข้อความจริงนั้น ให้บริษัทฯ ทราบในขณะที่ขอเอาประกันภัย ซึ่งถ้าบริษัทฯ ทราบข้อความจริงนั้นๆ แล้ว อาจจูงใจบริษัทฯ ให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นหรือให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญา สัญญาประกันภัยจะตกเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 ซึ่งบริษัทฯ อาจบอกล้างสัญญา และไม่จ่ายเงินตามกรมธรรม์ ความรับผิดของบริษัทฯ จะมีเพียงคืนเบี้ยประกันภัยที่ได้ชำระให้แก่บริษัทฯ แล้วทั้งหมดเท่านั้น
1. กรณีผู้เอาประกันภัยฆ่าตัวตายด้วยใจสมัครภายใน 1 ปี นับแต่วันเริ่มมีผลคุ้มครองตามกรมธรรม์ หรือตามการต่ออายุ หรือตามการกลับคืนสู่สถานะเดิมของกรมธรรม์ครั้งสุดท้าย หรือวันที่บริษัทฯ อนุมัติให้เพิ่มจำนวนเงินเอาประกันภัย ทั้งนี้เฉพาะในส่วนของจำนวนเงินเอาประกันภัยที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น
2. กรณีผู้เอาประกันภัยถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนา
3. กรณีผู้เอาประกันภัยแถลงอายุคลาดเคลื่อนไม่ถูกต้องแท้จริง และบริษัทฯ พิสูจน์ได้ว่าในขณะทำสัญญาประกันภัยอายุที่ถูกต้องแท้จริงอยู่นอกจำกัดอัตราเบี้ยประกันภัยตามทางค้าปกติของบริษัทฯ
มีทั้งหมด 14 ข้อ เช่น
ไม่คุ้มครองการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ อันเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้
1. การถูกฆ่าหรือถูกทำร้ายร่างการโดยเจตนา
2. สงคราม (ไม่ว่าจะประกาศหรือไม่ก็ตาม) การรุกราน การกระทำของศัตรูต่างชาติ สงครามกลางเมือง การปฏิวัติ การกบฏ การที่ประชาชนก่อความวุ่นวายถึงขนาดลุกฮือขึ้นต่อต้านรัฐบาล การจรจล การนัดหยุดงาน การปฏิบัติการของผู้ก่อการร้าย เป็นต้น
มีทั้งหมด 20 ข้อ เช่น
ไม่คุ้มครองการสูญเสีย การเสียชีวิต การสูญเสียอวัยวะ สายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง ทุพพลภาพถาวร
การรักษาพยาบาลอันเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
1. การกระทำของผู้เอาประกันภัยขณะอยู่ภายใต้ฤทธิ์สุรา สารเสพติด หรือยาเสพติดให้โทษ จนไม่สามารถครองสติได้
คำว่า "ขณะอยู่ภายในฤทธิ์สุรา" นั้น ในกรณีที่มีการตรวจเลือดให้ถือเกณฑ์มีระดับแอลกอฮอล์ในเลือด ตั้งแต่ 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ขึ้นไป
2. การฆ่าตัวตาย พยายามฆ่าตัวตาย หรือการทำร้ายร่างกายตนเอง
3. การเปลี่ยนหรือใส่ฟันปลอม การครอบฟัน ทันตกรรมประดิษฐ์ เป็นต้น
ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
การเลือกทำประกันชีวิตในช่วงวัยเกษียณเป็นการวางแผนการเงินที่สำคัญ โดยเฉพาะในวัย 60 ปีขึ้นไปที่มักมีข้อจำกัดเกี่ยวกับสุขภาพและการทำงาน การเลือก ประกันผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จึงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อให้ได้ประกันที่มีความคุ้มครองเหมาะสมและเบี้ยประกันที่ไม่สูงเกินไป ซึ่งแบบประกันผู้สูงอายุจากเมืองไทยประกันชีวิตก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ตอบโจทย์
อายุ 60 ปีขึ้นไปทำประกันได้ไหม? คำตอบคือ ได้ แต่ว่ามีข้อจำกัดและปัจจัยหลายอย่างที่ต้องพิจารณาในการเลือกแผนประกันที่เหมาะสม
1. ระยะเวลาคุ้มครองและเงื่อนไข : ควรเลือกแผนประกันที่มีระยะเวลาคุ้มครองที่เหมาะสมกับอายุ และตรวจสอบเงื่อนไขการรับประกันให้ดี เช่น เบี้ยประกันคงที่หรือปรับเพิ่มขึ้นตามอายุ
2. การศึกษาข้อมูลและการเปรียบเทียบแผนประกัน : ควรศึกษาและเปรียบเทียบแผนประกันจากหลาย ๆ บริษัท เพื่อให้ได้แผนที่ตอบโจทย์และคุ้มค่าที่สุดทั้งในด้านราคาและความคุ้มครอง
การทำประกันผู้สูงอายุให้พ่อแม่เป็นทางเลือกที่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและเพิ่มความมั่นคงทางการเงินในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด โดยเฉพาะในวัยที่ร่างกายเริ่มเสื่อมสภาพ การเลือกประกันที่เหมาะสมจะช่วยให้การดูแลสุขภาพเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นการมอบความมั่นใจให้ทั้งพ่อแม่และครอบครัวในด้านความคุ้มครองทางการเงิน ทั้งนี้การเลือกแผนประกันที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สูงอายุและความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกันของครอบครัว
การทำประกันชีวิตสำหรับผู้สูงอายุโดยไม่ต้องตรวจสุขภาพเป็นเรื่องที่ทำได้ในบางแผนประกัน แต่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกัน ในบางกรณีบริษัทประกันอาจอนุญาตให้ทำประกันได้โดยไม่ต้องตรวจสุขภาพ หากเลือกแผนที่มีข้อกำหนดง่าย แต่ก็อาจจะมีข้อจำกัดในเรื่องของความคุ้มครองหรือเบี้ยประกันที่สูงขึ้นเพื่อทดแทนความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากการไม่ตรวจสุขภาพ ดังนั้น ควรศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขของแต่ละบริษัทให้ดี
ประกันชีวิตผู้สูงอายุมีหลายแบบที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการต่าง ๆ เช่น
- ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life Insurance) - ให้ความคุ้มครองตลอดชีวิต และสามารถสะสมมูลค่าเงินสดได้
- ประกันชีวิตแบบระยะสั้น (Term Life Insurance) - คุ้มครองตามระยะเวลา เช่น 5 หรือ 10 ปี
- ประกันสุขภาพผู้สูงอายุ - เน้นการคุ้มครองด้านสุขภาพ เช่น ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
ทั้งนี้ควรเลือกแบบที่เหมาะสมกับความต้องการและงบประมาณของเราและครอบครัวด้วย
การทำประกันชีวิตเมื่ออายุ 80 ปีขึ้นไปสามารถทำได้ แต่ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทประกันว่าจะมีเงื่อนไขการรับประกันอย่างไร บางบริษัทอาจจำกัดอายุในการทำประกันหรือให้ความคุ้มครองในกรณีที่ไม่ต้องตรวจสุขภาพ ในขณะที่บางแผนอาจมีการเพิ่มเบี้ยประกันสูงขึ้นตามอายุที่มากขึ้น ควรศึกษาเงื่อนไขและเลือกแผนที่เหมาะสมกับความต้องการและงบประมาณของผู้เอาประกัน
บทความน่าสนใจเกี่ยวกับประกันชีวิตผู้สูงอายุ
null