Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

ค่ารักษาโรคไต ค่าฟอกไต แพงแค่ไหน? วางแผนรับมือไว้ จะได้ไม่กระทบเงินเก็บ

ค่ารักษาโรคไต ค่าฟอกไต แพงแค่ไหน? วางแผนรับมือไว้ จะได้ไม่กระทบเงินเก็บ

โรคไต เป็นโรคที่สร้างภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในระยะที่โรคมีความรุนแรงมากขึ้น เช่น ไตวายเรื้อรัง ที่ต้องเข้ารับการฟอกไต หรือการปลูกถ่ายไต โดยเฉพาะการฟอกไต ที่ต้องจ่ายค่าฟอกไตเดือนละหลายครั้ง เพราะมีการรักษาต่อเนื่อง ซึ่งบางคนอาจจะคิดว่าค่าฟอกไต ใช้บัตรทองได้ไหม หรือค่าฟอกไตใช้สิทธิ 30 บาทได้ไหม หรือหากไม่มีสวัสดิการเหล่านี้เราอยากรักษาผ่าน โรงพยาบาลรัฐบาล หรือโรงพยาบาลเอกชน ต้องเตรียมค่าฟอกไตไว้เท่าไร ซึ่งค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคไตนั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ระยะของโรค ประเภทของการรักษา สถานพยาบาลที่เลือกใช้ และสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ แอดจึงรวบรวมคำตอบที่ทุกคนสงสัยมาฝาก


1. การฟอกไต (ล้างไต) คืออะไร

2. ประเภทของการฟอกไต

3. 5 อาการอาจต้องฟอกไต

4. ค่าฟอกไตต้องเตรียมไว้เท่าไร


การฟอกไต คืออะไร

1. การฟอกไต (ล้างไต) คืออะไร


การฟอกไต หรือ การล้างไต เป็นกระบวนการทางการแพทย์ ที่ใช้ทดแทนการทำงานของไต เมื่อไตเสื่อมสมรรถภาพจนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติอีกต่อไป การฟอกไตจะทำหน้าที่กรองของเสียและน้ำส่วนเกินออกจากเลือด ช่วยรักษาสมดุลของสารเคมีในร่างกาย และลดอาการต่าง ๆ ที่เกิดจากการสะสมของของเสียในร่างกาย


ทำไมถึงต้องฟอกไต


การฟอกไตเป็นทางเลือกในการรักษาที่สำคัญ เพื่อช่วยยืดอายุและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไต เมื่อไตทำงานบกพร่อง จะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ดังนี้


  • การสะสมของของเสีย เมื่อไตไม่สามารถกรองของเสียออกจากร่างกายได้ ของเสียเหล่านี้จะค่อย ๆ สะสมในเลือดและเนื้อเยื่อ ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ง่วงนอน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และอาจนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมได้
  • ภาวะน้ำเกิน เมื่อไตไม่สามารถควบคุมปริมาณน้ำในร่างกายได้ จะทำให้เกิดภาวะน้ำเกิน ซึ่งแสดงอาการบวมที่มือ เท้า และใบหน้า ความดันโลหิตสูง และหายใจลำบาก
  • ภาวะความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์ ไตมีหน้าที่ควบคุมระดับของเกลือแร่ต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น โซเดียม โพแทสเซียม และแคลเซียม เมื่อไตทำงานบกพร่อง จะทำให้เกิดความไม่สมดุลของเกลือแร่เหล่านี้ ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ กล้ามเนื้อ และระบบประสาท
  • ภาวะเลือดเป็นกรด เมื่อไตไม่สามารถกำจัดกรดออกจากร่างกายได้ จะทำให้เลือดเป็นกรด ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย


2. ประเภทของการฟอกไต


การฟอกไต หรือการล้างไต เป็นกระบวนการที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรังหรือเฉียบพลัน เพื่อทำหน้าที่แทนไตในการกรองของเสีย และน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย ซึ่งการเลือกประเภทของการฟอกไต จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น สภาพร่างกายของผู้ป่วย โรคประจำตัว วิถีชีวิต และความสะดวกสบายของผู้ป่วย โดยแพทย์จะเป็นผู้ประเมิน และให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ซึ่งปัจจุบันมีการฟอกไตอยู่ 2 ประเภทหลัก คือ


1. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis)


เป็นวิธีการที่พบได้บ่อยที่สุด โดยนำเลือดของผู้ป่วยมาผ่านเครื่องฟอกไต เพื่อกรองของเสียและน้ำส่วนเกินออกจากเลือด ก่อนจะนำเลือดที่สะอาดกลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้ง

ข้อดี

  • มีประสิทธิภาพในการกำจัดของเสียและน้ำส่วนเกิน
  • สามารถปรับเปลี่ยนปริมาณการฟอกเลือดได้ตามความเหมาะสมของผู้ป่วย


ข้อเสีย

  • ต้องเดินทางไปที่ศูนย์ไตเทียมเป็นประจำ
  • ใช้เวลานานในการฟอกเลือดแต่ละครั้ง
  • อาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ความดันโลหิตต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ


2. การล้างไตทางช่องท้อง (Peritoneal Dialysis)


เป็นวิธีการที่ใช้เยื่อบุช่องท้องเป็นตัวกรอง โดยการใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปในช่องท้อง เพื่อดูดซับของเสียและน้ำส่วนเกินออกมาจากเลือด


ข้อดี

  • สามารถทำได้เองที่บ้าน
  • มีอิสระในการใช้ชีวิตมากกว่าการฟอกเลือด


ข้อเสีย

  • ต้องเปลี่ยนน้ำยาล้างไตหลายครั้งต่อวัน
  • ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  • อาจเกิดภาวะท้องอืด


การเตรียมตัวก่อนฟอกไต


  • ปรึกษาแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนฟอกไต
  • ควบคุมอาหาร ตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อควบคุมปริมาณโปรตีน โพแทสเซียม และฟอสฟอรัส
  • ดูแลสุขภาพทั่วไป เช่น ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ


การใช้ชีวิตหลังการฟอกไต


  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ควรกินยาตามที่แพทย์สั่ง และไปพบแพทย์ตามนัด
  • ควบคุมอาหาร ตามคำแนะนำของนักโภชนาการ
  • ออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างสุขภาพ
  • ดูแลสุขภาพจิต การฟอกไตอาจส่งผลกระทบต่อจิตใจ ควรปรึกษาจิตแพทย์หากมีความจำเป็น


อาการที่อาจต้องฟอกไต

3. 5 อาการที่อาจต้องฟอกไต


เมื่อไตทำงานบกพร่องอย่างรุนแรง และไม่สามารถกรองของเสียออกจากร่างกายได้ตามปกติ จะส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ ที่บ่งบอกถึงความจำเป็นในการฟอกไต ดังนี้


  • ภาวะน้ำท่วมปอด เกิดจากการที่ของเสียและน้ำสะสมในปอด ทำให้หายใจลำบาก
  • ภาวะยูรีเมีย เกิดจากการสะสมของสารพิษในเลือด ส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้มึนงง สับสน
  • ภาวะเลือดเป็นกรด เกิดจากการสะสมของกรดในร่างกาย ส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ
  • ภาวะคั่งของเกลือโซเดียมและน้ำ ทำให้เกิดอาการบวม ความดันสูง และอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว
  • ภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ หรือเยื่อหุ้มปอดอักเสบ เกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจหรือปอด เนื่องจากการสะสมของของเสีย

หากคุณมีอาการเหล่านี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม


ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไต


  • เบาหวาน เป็นสาเหตุหลักของโรคไตวายเรื้อรัง
  • ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงเรื้อรังทำลายหลอดเลือดในไต
  • โรคไตอักเสบ ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง
  • โรคทางพันธุกรรม
  • การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
  • การใช้ยาบางชนิด


การป้องกันโรคไต เพื่อดูแลไตให้แข็งแรงอยู่เสมอ


โรคไตเป็นโรคที่คุกคามสุขภาพได้อย่างมาก การป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด วิธีการป้องกันโรคไตสามารถทำได้ง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน ดังนี้


  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะเบาหวานเป็นสาเหตุหลักของโรคไต
  • ควบคุมความดันโลหิต ความดันโลหิตสูงเป็นอีกปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำลายไต การควบคุมความดันโลหิตให้เป็นปกติจึงช่วยป้องกันโรคไตได้
  • ดูแลน้ำหนัก การมีน้ำหนักเกินหรืออ้วนจะเพิ่มภาระในการทำงานของไต การควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกายช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และช่วยให้ร่างกายแข็งแรง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผัก ผลไม้ ธัญพืช ไม่รับประทานอาหารรสเค็มจัด อาหารแปรรูป และอาหารที่มีไขมันสูง
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ การดื่มน้ำช่วยชำระล้างไตและขับของเสียออกจากร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ทำลายหลอดเลือดทั่วร่างกาย รวมถึงหลอดเลือดในไต
  • ไปพบแพทย์เป็นประจำ เพื่อตรวจสุขภาพและคัดกรองโรคไตในระยะเริ่มต้น


ค่ารักษาโรคไต

4. ค่าฟอกไตต้องเตรียมไว้เท่าไร


ค่าใช้จ่ายในการฟอกไต เป็นเรื่องที่หลายคนกังวลใจ เนื่องจากเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอาจเป็นภาระทางการเงินที่หนักหน่วง โดยค่าใช้จ่ายนี้จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ดังนี้


  • ประเภทของการฟอกไต การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมหรือการล้างไตทางช่องท้อง
  • ความถี่ในการฟอกไต จำนวนครั้งต่อสัปดาห์
  • โรงพยาบาลหรือคลินิกที่ให้บริการ แต่ละแห่งมีอัตราค่าบริการที่แตกต่างกัน
  • สิทธิประโยชน์ เช่น ประกันสังคม ข้าราชการ ประกันสุขภาพส่วนบุคคล ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้


ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในขั้นตอนการรักษา


  • ค่าบริการฟอกไต รวมถึงค่าเครื่องมือ อุปกรณ์ และน้ำยาที่ใช้ในการฟอกไต
  • ค่าแพทย์ ค่าตรวจ ค่าปรึกษา และค่ารักษาพยาบาลอื่น ๆ
  • ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไป-กลับโรงพยาบาล
  • ค่าอาหาร สำหรับผู้ป่วยที่ต้องพักค้างคืนที่โรงพยาบาล
  • ค่ายา ค่ายาที่ใช้ในการรักษาโรคแทรกซ้อน


ค่าฟอกไต


สำหรับค่าฟอกไตของผู้ที่ป่วยโรคไตเรื้อรัง เป็นเรื่องที่ทุกคนกังวลอยู่แล้ว  เพราะต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ค่าใช้จ่ายบานปลาย จนอาจกระทบเงินเก็บทั้งครอบครัวก็ได้ มาดูกันว่ามีค่าใช้จ่ายเท่าไร


  • ค่าฟอกเลือด ครั้งแรก ครั้งละ 3,400 บาท (รวมค่าแพทย์) (คิดค่าเปิดใช้ตัวกรองครั้งแรก 1,200 บาท)
  • ค่าฟอกเลือด ครั้งต่อไป ครั้งละ 2,200 บาท
  • ค่าฟอกเลือด (ICU) ครั้งละ 4,700 บาท


หากฟอกเลือดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 2,200 บาท ต้องจ่ายเดือนละ 8,800 บาท หรือในกรณีที่ต้องฟอกเลือดสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 2,200 บาท ต้องจ่ายถึงเดือนละ 26,400 บาท

หมายเหตุ : ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง


การฟอกไตเป็นค่าใช้จ่ายระยะยาว การวางแผนทางการเงินจึงมีความสำคัญ เพื่อให้สามารถรับมือกับค่าฟอกไตที่เกิดขึ้นได้ การวางแผนล่วงหน้า จะช่วยให้คุณสามารถเตรียมตัวรับมือกับค่าฟอกไตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งไม่กระทบเงินเก็บ และไม่กระทบกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ด้วย และอย่าลืมดูแลสุขภาพให้แข็งแรง จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน และลดค่าใช้จ่ายในการรักษา


เรื่องสุขภาพเราไม่รู้อนาคตแต่สามารถ วางแผนสุขภาพไว้ก่อน จะได้ไม่ปวดใจกับค่ารักษา เพราะ ชีวิต “คุณ” ก็สำคัญ เลือกความคุ้มครองที่จำเป็นสำหรับคุณ เลือก Care Plus คุ้มครองค่ารักษามะเร็ง และไตวายเรื้อรัง วงเงินค่ารักษา 5 ล้านบาท ต่อโรค ต่อปี เบี้ยไม่ถึง 12 บาทต่อวัน* ครอบคลุมทั้ง IPD และ OPD เข้าถึงการรักษาที่ทันสมัย การตรวจวินิจฉัยขั้นสูง MRI, CT Scan, PET Scan เข้าถึงการรักษามะเร็งที่ทันสมัย ยามุ่งเป้า Targeted Therapy, ภูมิคุ้มกันบำบัด Immunotherapy, การปลูกถ่าย Stem Cell และ ทางเลือกการรักษาไตวายเรื้อรัง ล้างไตทางผนังช่องท้อง, ล้างไตแบบประสิทธิภาพสูง, ปลูกถ่ายไต สมัครได้ถึง อายุ 80 ปี คุ้มครองยาวถึงอายุ 99 ปี


รายละเอียดเพิ่มเติม

☑️ โทร. 1766 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

☑️ สนใจติดต่อตัวแทนเมืองไทยประกันชีวิต หรือ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ทุกสาขา


*สำหรับผู้เอาประกันภัย เพศชาย อายุ 40 ปี เลือกความคุ้มครองสำหรับโรคมะเร็งและไตวายเรื้อรัง แผน 5 ล้านบาท และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

  • ค่าบริการทางการแพทย์เพื่อการบำบัดรักษาโรคมะเร็งและ/หรือโรคไตวายเรื้อรัง ดังกล่าว จะจ่ายสำหรับวิธีการบำบัดรักษาตามที่บริษัทฯ กำหนด
  • ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย  
  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย


ที่มา : สืบค้น ณ วันที่ 07/10/67

🔖 ร.พ. พญาไท

🔖 ร.พ. วิภาวดี

🔖 my kidney journey


Interested In

I agree that Muang Thai Life Assurance PCL. Collect and use my personal information above to contact me to offer products and services at I am interested or the company saw that it was beneficial to I have by me to equate the mark In the square is an indication of intent. instead of my consent Signing as evidence. I have read and acknowledged the Privacy Policy.

Interesting article