ภาวะแพ้อาหาร อันตรายใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม
เรื่องกินเรื่องใหญ่และอันตรายหากมองข้าม เพราะอาหารที่เรากินเข้าไปในแต่ละวันนั้นอาจก่อให้เกิดภาวะแพ้อาหารได้ ซึ่งภาวะแพ้อาหารสามารถเป็นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ส่งผลให้เกิดอาการในระบบต่าง ๆ ของร่างกายและแสดงอาการแพ้ออกมา ซึ่งอาการก็จะแตกต่างกันออกไป และหากใครที่มีอาการแพ้แบบเฉียบพลันอาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตเลยก็ได้ เราจึงต้องหมั่นสังเกตอาการต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงระมัดระวังเรื่องอาหารการกินของเราหากรู้ว่าแพ้อะไรบ้าง จะได้ป้องกันการแพ้อาหารได้ทันท่วงที
ภาวะแพ้อาหารคืออะไร? แบบไหนเรียกว่าแพ้
ภาวะแพ้อาหาร เป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่แสดงออกทางร่างกาย โดยเกิดจากปฏิกิริยาทางอิมมูน (Immune) หรือภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองไวผิดปกติต่ออาหารที่กินเข้าไป และสามารถก่อให้เกิดอาการซ้ำ ๆ ได้หากเรารับอาหารที่แพ้ชนิดเดิมเข้าสู่ร่างกาย โดยภาวะแพ้อาหารสามารถพบได้ในหลายระบบอวัยวะของร่างกาย ดังนี้
- อาการทางผิวหนัง สามารถพบได้บ่อยที่สุด เช่น ลมพิษฉับพลัน ตาบวมปากบวม ผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบ ผื่นแพ้จากการสัมผัส
- อาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น อาเจียน ท้องเสียเรื้อรัง อุจจาระมีเลือด เลือดออกในทางเดินอาหาร เป็นต้น
- อาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น คัดจมูก น้ำมูกเรื้อรัง ไอ หายใจไม่สะดวก หอบ
- อาการทางระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น หน้ามืด เป็นลม หมดสติ
โดยภาวะแพ้อาหารนั้นอาจมีอาการแบบเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ ได้ แต่ในกรณีอาการแพ้แบบเฉียบพลันหลังกินอาหารเข้าไปไม่กี่นาที หรือภายใน 2 ชั่วโมง หรือมีอาการรุนแรงหลายระบบ (Anaphylaxis) เช่น มีอาการทางผิวหนัง แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ความดันโลหิตต่ำ ให้รีบไปโรงพยาบาลทันทีเพราะอันตรายถึงชีวิตได้
แพ้อาหาร หายได้หรือไม่?
ภาวะแพ้อาหารนั้น อาจแสดงอาการแบบฉับพลันหรือเรื้อรังยาวนานก็ได้ โดยอาการแพ้ที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก ส่วนใหญ่จะสามารถหายได้เมื่อโตขึ้น โดยโอกาสหายจะแตกต่างกันไปแล้วแต่คน รวมถึงอาหารที่แพ้ด้วย เช่น ตอนเด็กแพ้นมวัว เมื่อโตขึ้นมีโอกาสหายได้ 70-90% เลยทีเดียว
ในทางกลับกัน บางคนในวัยเด็กไม่เคยแพ้อาหารเลย แต่กลับมาแพ้ตอนเป็นผู้ใหญ่ก็ได้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะอาจเกิดจากความเปลี่ยนแปลงของ “ไมโครไบโอม” (Microbiome) ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในร่างกายของเรา นอกจากนี้ ยังรวมถึงการกินยาปฏิชีวนะ และการกินอาหารที่มีกากใยไม่เพียงพอ จึงส่งผลให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ จนส่งผลให้แพ้อาหารในตอนโตได้
วิธีดูแลตัวเองหากเกิดอาการแพ้
ในปัจจุบันนี้ แนวโน้มคนมีภาวะแพ้อาหารเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยภาวะแพ้อาหารนั้นอาจมีอาการของโรคภูมิแพ้อื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น โรคผื่นแพ้ผิวหนัง หอบหืด และภูมิแพ้จมูกอักเสบ โดยเราจะพบภาวะแพ้อาหารในผู้ป่วยเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ ซึ่งอาหารที่มักทำให้เด็ก ๆ เกิดอาการแพ้ ได้แก่ นมวัว นมถั่วเหลือง ไข่ อาหารทะเล แป้งสาลี ถั่ว เป็นต้น ส่วนอาหารที่ทำให้เกิดภาวะแพ้ในผู้ใหญ่ ได้แก่ อาหารทะเล ถั่ว ผลไม้บางชนิด เนื้อสัตว์ เป็นต้น
แม้ว่าเราจะระมัดระวังมากแค่ไหน แต่อาจพลาดกินอาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ เราจึงต้องรู้วิธีดูแลตัวเองหากเกิดอาการแพ้ ดังนี้
- ตั้งสติและรีบขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้างให้โทรเรียกรถพยาบาลทันที อย่าปล่อยให้อาการรุนแรงมากขึ้น
- หากรู้สึกเวียนศีรษะ หน้ามืด ให้นั่งหรือนอนในท่าที่รู้สึกสบายและหายใจได้สะดวก
- ในกรณีฉุกเฉิน หากมียาแก้แพ้ให้กินยาระหว่างรอความช่วยเหลือ ซึ่งไม่ใช่ยาหลักในการรักษา
- รีบไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดเพื่อรับการช่วยเหลือให้เร็วที่สุด โดยแพทย์อาจจะให้แอดมิทเพื่อสังเกตอาการต่ออย่างน้อย 1 วัน
ภาวะแพ้อาหาร เป็นอันตรายใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเรื่องที่คิดว่าเล็กน้อยอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้น เราจึงต้องดูแลตัวเองในเรื่องของอาหารการกิน และหมั่นสังเกตอาการต่าง ๆ ของร่างกายเสมอ เพื่อจะได้ป้องกันและรักษาได้ทันที พร้อมเสริมความมั่นใจด้วยการซื้อประกันสุขภาพตั้งแต่ตอนที่สุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย เพื่อจะได้รับความคุ้มครองอย่างเต็มที่ เพราะประกันสุขภาพไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อนซื้อ เราจึงต้องเตรียมตัวไว้ตั้งแต่แรก
พลัสความคุ้มครองสุขภาพอย่างเหนือระดับ เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต Elite Health Plus เหมาจ่ายตามจริง 20 - 100 ล้านบาทต่อปี +เข้ารักษาได้ทุก รพ. ทั่วไทยหรือทั่วทุกมุมโลก(1) คุ้มครองทั้งโรคอุบัติใหม่ โรคระบาด โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี ดูแลสุขภาพยาว ๆ ถึงอายุ 99 ปี คุ้มครองครบทั้ง IPD และ OPD(2) เบี้ยวันละไม่ถึง 94 บาท(3)
✔ คุ้มครองค่าห้องเดี่ยวมาตรฐาน แบบเหมาจ่ายตามจริง หรือ ห้องเดี่ยวพิเศษก็คุ้มครอง 10,000 - 25,000 บาทต่อวัน
✔ คุ้มครองค่าห้อง ICU แบบจ่ายตามจริง รวมสูงสุด 365 วัน
✔ ครอบคลุมการรักษาโรคมะเร็ง ทั้งแบบเคมีบำบัดและแบบออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted Therapy) การวินิจฉัยแบบ MRI และการฟอกไตโดยไม่ต้องแอดมิท
✔ เข้ารักษาได้ทุกโรงพยาบาล
✔ เลือกซื้อเพิ่มได้ ความคุ้มครองคลอดบุตร หรือ แพ็กตรวจสุขภาพประจำปี ทันตกรรม ฉีดวัคซีน และค่ารักษาทางสายตา ได้ตามใจ
ซื้อวันนี้! ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% สูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13%
กับบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ
รายละเอียดเพิ่มเติม
☑️ โทร.1766 ตลอด 24 ชั่วโมง
☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขา ธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
(1) กรณีเลือกพื้นที่ความคุ้มครองทั่วโลก
(2) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 40, 75 หรือ 100 ล้านบาท
(3) สำหรับผู้เอาประกันภัยอายุ 34 ปี แผน 20 ล้านบาท พื้นที่ความคุ้มครองประเทศไทย และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
- สัญญาเพิ่มเติมประกันภัยแบบ อีลิท เฮทล์ พลัส ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
- ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
- เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
- เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
- การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
- ค่าห้องเดี่ยวมาตรฐาน หมายถึง ค่าห้องพักเดี่ยวมาตรฐานของโรงพยาบาลในประเทศไทย
เงื่อนไขเป็นไปตามแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามประกาศ ฉบับวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 และ แนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในการให้คำแนะนำผู้ป่วยและการจัดบริการผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation ฉบับปรับปรุง วันที่ 4 มกราคม 2565 หรืออ้างอิงตามประกาศฉบับล่าสุด - เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
- โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 27/04/65
🔖 รพ.บำรุงราษฎร์ (ข้อมูล ณ วันที่ 01/11/64)
🔖 รพ.สินแพทย์ (ข้อมูล ณ วันที่ 14/01/64)