Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

โรคเก๊าท์ อันตรายใกล้ตัว  เสี่ยงชัวร์! ถ้าไม่ดูแลตัวเอง

โรคเก๊าท์ อันตรายใกล้ตัว เสี่ยงชัวร์! ถ้าไม่ดูแลตัวเอง

หลายคนคงสงสัยว่า โรคเก๊าท์ เกิดจากอะไร อาการเป็นแบบไหน ห้ามกินอะไรบ้าง และอันตรายไหม โรคเก๊าท์เป็นโรคข้ออักเสบที่พบได้ในคนที่มีระดับกรดยูริกในเลือดสูงมาเป็นเวลานาน ซึ่งกรดยูริกที่สูง จะทำให้เกิดการตกตะกอนสะสมเป็นผลึกเกลือยูเรตตามเนื้อเยื่อบริเวณต่าง ๆ โดยเฉพาะในข้อและบริเวณรอบข้อ และเมื่อมีปัจจัยบางอย่างมากระตุ้น จะทำให้เกิดอาการข้ออักเสบเฉียบพลันอย่างรุนแรง 


ซึ่ง โรคเก๊าท์ จะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง เนื่องจากในเพศชายมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่าเพศหญิง และเมื่อป่วยเป็นโรคเก๊าท์แล้ว อาจมีค่ารักษาที่บานปลายได้ การมีประกันสุขภาพไว้ จึงเป็นตัวเลือกที่สำคัญ ในการเตรียมพร้อม ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ เกี่ยวกับ โรคเก๊าท์ จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน



โรคเก๊าท์ อาการเป็นยังไง

โรคเก๊าท์ อาการเป็นยังไง


ปวดข้อบ่อย ๆ ใช่ โรคเก๊าท์ ไหม โรคเก๊าท์ อาการเป็นยังไง เป็นกรรมพันธุ์ไหม หลายคนที่มีอาการปวดข้อ คงกังวลไม่น้อย โดยเฉพาะเพศชายที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเก๊าท์มากกว่าเพศหญิง เนื่องจากมีกรดยูริกในเลือดที่สูงกว่า ซึ่งในผู้ชายกรดยูริก ไม่ควรที่จะเกิน 8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร สำหรับผู้หญิงกรดยูริก ไม่ควรเกิน 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และโรคเก๊าท์นี้ยังสามารถติดต่อได้ทางกรรมพันธุ์อีกด้วย วันนี้ลองมาเช็กลิสต์กันดูว่า อาการแบบนี้เช่น อาการปวด บวมแดง ที่เราเป็น จะใช่โรคเก๊าท์หรือไม่


อาการของโรคเก๊าท์


  • ปวด บวม แดง ร้อน พบมากข้อนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ ข้อนิ้ว และข้อศอก ซึ่งบริเวณนิ้วหัวแม่เท้า เป็นข้อที่พบอาการปวดเยอะที่สุด โดยส่วนใหญ่จะปวดข้อเดียว แต่ก็จะมีบางคน ที่ปวดพร้อมกันหลายข้อได้เช่นกัน
  • อาการของเกาต์ปวดเป็นๆ หายๆ หรือเรื้อรัง หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง จะปวดบ่อยขึ้นและนานขึ้น จนกลายเป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ เช่น โรคไต ไตวาย
  • อาการของโรคเก๊าท์ มักปวดตอนกลางคืน อาการปวดจะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ มักจะมีปัจจัยกระตุ้นได้แก่ การกินอาหารที่มียูริกสูง ดื่มสุรา หรือความเครียด
  • ปวดเข่าข้างใดข้างหนึ่ง หากเกิดอาการแล้ว จะเป็นๆ หายๆ ในระยะแรก 


โรคเก๊าท์ ห้ามกินอะไรบ้าง


โรคเก๊าท์ ห้ามกินอะไรบ้าง


เช็กอาการกันไปแล้ว ลองมาดูกันต่อว่า โรคเก๊าท์ ห้ามกินอะไรบ้าง เป็นโรคเก๊าท์ห้ามกินไก่จริงไหม ซึ่งจริง ๆ แล้วการกินไก่ ไม่ใช่สาเหตุของการเกิดโรคเก๊าท์ เนื่องจากโรคนี้เกิดได้จากการสะสมกรดยูริกที่มีปริมาณมากในร่างกาย และกรดชนิดนี้ ไม่ใช่กรดที่พบได้มากในไก่ เนื่องจากส่วนมากกรดยูริก จะถูกผลิตขึ้นจากร่างกายของเราเอง ประกอบกับมาจากอาหารที่เรากินด้วยส่วนหนึ่ง แต่ถึงแม้ว่าการกินไก่ จะไม่ใช่สาเหตุของการเกิดโรคเก๊าท์ แต่สำหรับผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์อยู่แล้ว การกินไก่ หรืออาหารที่มีโปรตีน และกรดยูริกสูงจะทำให้อาการกำเริบขึ้นมาได้ ดังนั้นคนที่เป็นโรคเก๊าท์อยู่แล้วจึงควรหลีกเลี่ยงการกินไก่นั่นเอง รวมถึงอาหารต้องห้ามต่าง ๆ ที่มีกรดยูริกสูง ดังนี้


  • เครื่องในสัตว์ทุกชนิด
  • อาหารทะเลและสัตว์ปีก ควรกินในปริมาณที่เหมาะสม
  • น้ำหวาน ที่มีฟรุกโตสมากเกินไป
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ถั่วบางชนิด เช่น ถั่วแดง ถั่วเขียว และถั่วเหลือง
  • ผักบางชนิด เช่น หน่อไม้ เห็ด และชะอม
  • เนื้อสัตว์สีแดง


โรคเก๊าท์ เป็นอันตรายไหม มีวิธีรักษายังไง

โรคเก๊าท์ เป็นอันตรายไหม มีวิธีรักษายังไง


มาถึงตรงนี้หลายคนคงสังสัยว่า โรคเก๊าท์ เป็นอันตรายไหม และมีวิธีรักษายังไง อย่างที่แชร์กันไปแล้วว่า โรคเก๊าท์เกิดจากที่สุขภาพร่างกายของเรามีกรดยูริกสูง ซึ่งกรดยูริกเป็นสารที่เกิดจาก กระบวนการทางเคมีในร่างกายตามธรรมชาติ และอีกส่วนหนึ่ง เกิดจากการที่เรากินอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น เครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก ยอดผัก ถั่วต่าง ๆ หรือการดื่มเครื่องดื่ม เช่น เบียร์ น้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลฟรุคโตส


ความอันตรายของ โรคเก๊าท์ จะเริ่มจากตรงนี้ คือเมื่อร่างกายของเรามีกรดยูริกมากเกินกว่าความสามารถของไตที่จะขับออกมาได้ ทำให้ไตมีความเสื่อม จนความสามารถในการขับกรดยูริกออกจากร่างกายลดลง เช่น ในผู้ป่วยไตเสื่อมหรือไตวาย ก็จะทำให้มีการสะสมของกรดยูริกมากขึ้นอีก


ซึ่งในปัจจุบันยังพบว่า การมีกรดยูริกสะสมในร่างกาย มีปริมาณมากเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดภาวะไตเสื่อม เกิดโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งนำไปสู่ โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดสมอง เพิ่มความเสี่ยงเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตได้มากขึ้น โดยข้อมูลพบว่า ผู้ป่วยเพศชายที่เป็นโรคไตวาย จนต้องได้รับการรักษาด้วยการฟอกไต ส่วนหนึ่งเกิดจากการเป็นโรคเก๊าท์ หรือมีภาวะกรดยูริกในเลือดสูงมาก่อน ในขณะที่ผู้ป่วยเพศหญิงที่มาฟอกไต ส่วนมากเกิดจากการเป็นโรคเบาหวาน


สำหรับวิธีการรักษาโรคเก๊าท์ เนื่องจากโรคเก๊าท์ มีสาเหตุมาจากการสะสมของกรดยูริกในร่างกาย การรักษาโรคเก๊าท์จึงเป็นการรักษาที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง โดยการเพิ่มการขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ หรือลดการสร้างกรดยูริกด้วยยา ร่วมกับการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดยูริกสูง สำหรับคนที่มีอาการข้ออักเสบรุนแรง ต้องได้รับการรักษาด้วยยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือยา colchicine เพื่อบรรเทาอาการปวดและลดการอักเสบ และผู้ป่วยควรได้รับยาต่อเนื่องเพื่อรักษาระดับกรดยูริกในเลือดให้ต่ำกว่า 6 มก./ดล.  ซึ่งถ้าสามารถควบคุมได้ โอกาสที่จะมีข้ออักเสบรุนแรงเกิดขึ้นอีกจะน้อยมาก ขณะเดียวกันจะช่วยรักษาการทำงานของไต ไม่ให้เสื่อมลงจากการมีกรดยูริกสูงได้อีกด้วย


สำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ควรปฎิบัติตัวดังนี้


  • กินยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
  • ดื่มน้ำวันละมากๆ เพื่อช่วยขับกรดยูริกออกจากร่างกาย และช่วยให้ไตทำงานได้ดี
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดยูริกสูง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • หากเจ็บป่วย ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้งว่าเป็นโรคเก๊าท์ เพื่อหลีกเลี่ยงยาที่อาจมีผลต่อโรคเก๊าท์ หรือป้องกันโรคเก๊าท์กำเริบหลังจากผ่าตัด หรือจากการรักษาอื่น ๆ
  • เข้ารับการตรวจ ติดตามอาการ และผลการรักษา ตามแพทย์นัดเสมอ


รู้ทัน โรคเก๊าท์! ป้องกันได้

รู้ทัน โรคเก๊าท์! ป้องกันได้


เนื่องจากโรคเก๊าท์เกิดจากที่ร่างกายมีกรดยูริกสูงเกินไป การป้องกันจึงเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเช่น การกิน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเก๊าท์ ซึ่งโรคเก๊าท์ หากปล่อยไว้นาน อาจอันตรายร้ายแรงต่อชีวิตได้ ดังนั้นเราควรหาวิธีดูแลตัวเอง ให้ห่างไกลจากโรคเก๊าท์ได้ ดังนี้


  • เลือกกินประเภทคาร์โบไฮเดรตให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อป้องกันการสลายโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาใช้เป็นพลังงาน
  • ควรรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อขับกรดยูริกออกจากร่างกายทางปัสสาวะ
  • ไม่ควรกินน้ำหวานหรืออาหารที่มีส่วนผสมของฟรุกโตมากเกินไป เนื่องจากจะทำให้ระดับกรดยูริกในร่างกายสูงขึ้น
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ใช้น้ำมันประกอบอาหารเป็นจำนวนมาก เช่น ของทอด และอาหารกลุ่มไขมันสูง เนื่องจากอาหารที่มีไขมันสูงทำให้การขับกรดยูริกในร่างกายลดลง


จะเห็นได้ว่าโรคเก๊าท์เป็นโรคที่เกิดจาก การที่มีกรดกรดยูริกสะสมอยู่ในร่างกายมากจนเกินไป และตกผลึกเป็นตะกอนตามข้อต่อ จนทำให้เกิดอาการปวดข้อขึ้นมา ซึ่งในปัจจุบัน โรคเก๊าท์ สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ใครที่มีอาการ แล้วไม่เข้ารับการรักษาหรือรักษาผิดวิธี โรคเก๊าท์ก็สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อน ที่ทำให้เกิดนิ่วในไตหรือภาวะไตวายได้ ดังนั้นถ้าหากใครที่มีอาการปวดข้อ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย และเข้ารับการรักษาที่ถูกวิธี เพื่อบรรเทาความรุนแรงของโรคต่าง ๆ ที่จะตามมา 


เสริมความมั่นใจด้วย ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ที่พร้อมดูแลค่ารักษาทั้งโรคเล็ก โรคร้ายแรง ด้วยวงเงินที่เลือกได้ตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท คุ้มครองทั้ง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคทั่วไป ครอบคลุมเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย รวมถึงอายุรับประกันสูงสุด 90 ปี ดูแลต่อเนื่องยาว ๆ สูงสุดถึงอายุ 99 ปี 


ซื้อวันนี้ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% นานสูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13%


รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

☑️ โทร.1766 ตลอด 24 ชั่วโมง

☑️  ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขา ธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์


  • ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
  • เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย


ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 04/08/66

🔖 โรงพยาบาลวิภาวดี
🔖 โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
🔖 โรงพยาบาลเพชรเวช
🔖 โรงพยาบาลพญาไท

สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าสนใจ