Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

เปิดอาการ โรคความดันโลหิตสูง เช็กหน่อย  ปวดหัวบ่อย อาจเสี่ยง!

เปิดอาการ โรคความดันโลหิตสูง เช็กหน่อย ปวดหัวบ่อย อาจเสี่ยง!

ปวดหัวบ่อย ระวังหน่อยอาจเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง เพราะโรคความดันโลหิตสูงไม่ได้เกิดขึ้นกับเฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น วัยไหนก็สามารถเป็นได้ และถือว่าเป็นภัยเงียบที่น่ากลัวต่อร่างกาย อาจเสี่ยงทำให้เกิดโรคร้ายตามมา ไม่ว่าจะเป็น ภาวะหัวใจวาย โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น


ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อาจมีอาการปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ เวียนหัว บางคนอาจมีอาการปวดหัวตุบ ๆ เหมือนไมเกรน ซึ่งยากต่อการตรวจพบในอาการเริ่มต้น วันนี้ใครที่สงสัยว่า โรคความดันโลหิตสูง เกิดจากสาเหตุอะไร มีอาการแบบไหน โรความดันโลหิตสูง รักษาอย่างไร แล้วถ้าเป็นจะรักษาหายไหม ลองไปหาคำตอบกัน!



โรคความดันโลหิตสูง คืออะไร


โรคความดันโลหิตสูง คืออะไร


ปวดหัวบ่อย อาจเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง เพราะโรคนี้เป็นโรคที่ไม่มีอาการแสดงให้เห็นชัดเจน อาการอาจคล้ายแค่อ่อนเพลีย จึงถือเป็นภัยเงียบที่น่ากลัวต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อหัวใจ และอาจทำให้เกิดโรคร้ายตามมา โดยเฉพาะโรคหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นภาวะหัวใจวาย โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น 


ดังนั้นหากรู้ได้เร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตให้สูงขึ้นเท่านั้น มาถึงตรงนี้หลายคนคงสงสัยว่าโรคความดันโลหิตสูง คืออะไร มีสาเหตุเกิดจากอะไร โรคความดันโลหิตสูง เกิดในเฉพาะผู้สูงอายุหรือไม่ ลองไปดูกัน


โรคความดันโลหิตสูง คือ (Hypertension) เป็นโรคที่เกิดจากการที่ความดันเลือดสูงกว่าปกติ คือมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 ติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งความดันโลหิตที่ “เหมาะสม” ของคนอายุ 18 ปี ขึ้นไป อยู่ที่ 120-129 มม.ปรอท สำหรับตัวบน และ 80-84 มม.ปรอท สำหรับตัวล่าง มักไม่แสดงอาการ แต่ส่งผลเสียต่อหลอดเลือดและหัวใจ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงชีวิต หรือพิการ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง กล้ามเนื้อหัวใจหนา เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ไตวาย เป็นต้น การรู้ตัวว่าความดันโลหิตสูงตั้งแต่ระยะแรกนั้นสำคัญ เพราะจะช่วยให้ควบคุมระดับความดันโลหิตและลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้


นอกจากนี้หากมีความดันโลหิตสูงมาก ยังสามารถทำให้หลอดเลือดแตกได้ด้วย ในส่วนของสมองเมื่อเลือดไปเลี้ยงไม่พอ จะส่งผลต่อการเกิดอัมพฤกษ์อัมพาต เลือดออกในสมอง ถ้าหากในส่วนของหัวใจก็จะทำงานหนักทำให้หัวใจโตหรือล้มเหลว ผลลัพธ์อื่นๆ ที่เกิดจากความดันโลหิตสูง ได้แก่ โรคไต ไตเสื่อม ตามีปัญหาเริ่มมองได้ไม่ดีหรือมองไม่ชัดรวมถึงอวัยวะอื่นๆ ซึ่งมีผลทั้งร่างกายร้ายแรงเช่นกัน


สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง


สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง


ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่จากข้อมูลผู้ป่วย 95% ที่มีปัจจัยเสี่ยงเป็นโรคนี้คือการ  กินรสเค็มจัด อายุที่เพิ่มมากขึ้น โรคต่อมไทรอยด์ การใช้ฮอร์โมนบางชนิด เป็นต้น


โดยส่วนใหญ่คนไข้จะไม่มีอาการเลย ถือเป็นความน่ากลัวของโรคนี้และกลายเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้ป่วยแบบไม่รู้ตัว ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการวัดความดัน ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่สามารถบอกได้ว่าเรามีอาการนี้หรือไม่ ซึ่งหากพบภาวะดังกล่าวก็จะช่วยให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ทันท่วงที ซึ่งโรคความดันโลหิตสูงนั้น ไม่ได้เกิดแค่ในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัยเช่นกัน


 โรคความดันโลหิตสูงมีกี่ชนิด

โรคความดันโลหิตสูงมีกี่ชนิด


โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคสำคัญที่ควรได้รับการดูแลเป็นอย่างดีเพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในอนาคต เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไตวาย ซึ่งความดันโลหิตสูง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ


ความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ (primary or essential hypertension)


  • พบได้ประมาณ 95% ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด ส่วนใหญ่พบในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย แม้ปัจจุบันจะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่อย่างไรก็ตามคณะกรรมการร่วมแห่งชาติด้านการประเมินและรักษาโรคความดันโลหิตสูงของสหรัฐอเมริกาพบว่า มีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ กรรมพันธุ์ ความอ้วน การมีไขมันในเลือดสูง การรับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด การไม่ออกกำลังกาย การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ความเครียด อายุที่มากขึ้น และมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด


ความดันโลหิตสูงชนิดที่ทราบสาเหตุ (secondary hypertension)


  • พบได้น้อย คือประมาณ 5-10% ส่วนใหญ่เกิดจากการมีพยาธิสภาพของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย โดยจะส่งผลให้เกิดแรงดันเลือดสูง ส่วนใหญ่อาจเกิดจากพยาธิสภาพที่ไต ต่อมหมวกไต โรคหรือความผิดปกติของระบบประสาท ความผิดปกติของฮอร์โมน โรคของต่อมไร้ท่อ โรคครรภ์เป็นพิษ การบาดเจ็บของศีรษะ การใช้ยาและการถูกสารเคมี เป็นต้น


เช็กอาการ โรคความดันโลหิตสูง  ปัจจัยเสี่ยง


เช็กอาการ โรคความดันโลหิตสูง ปัจจัยเสี่ยง


พอจะทราบกันไปแล้วว่าโรคความดันโลหิตสูงคืออะไร แล้วแบ่งออกเป็นกี่ชนิด คราวนี้ลองมาเช็กอาการกันหน่อย เพราะส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอาจจะไม่มีอาการใดๆ เลย แต่จะมีอาการเสี่ยงดังนี้


  • ปวดหัว เวียนหัว
  • เลือดกำเดาไหล
  • เหนื่อยหอบขณะทำงาน หรือมีอาการเหนื่อยหอบจนนอนราบไม่ได้ แสดงถึงการมีภาวะหัวใจห้องล่างซ้ายล้มเหลว
  • อาการอื่นๆ ที่อาจพบร่วม ได้แก่ อาการเจ็บหน้าอกสัมพันธ์กับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากการมีเส้นเลือดหัวใจตีบ หรือจากการมีกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวมากจากภาวะความดันโลหิตสูงที่เป็นมานานๆ


ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง แบ่งได้เป็น 2 แบบคือ 


ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้


  • ประวัติครอบครัว ถ้าปู่ บิดา มารดาเป็นความดันโลหิตสูง โอกาสที่บุตรจะมีความดันโลหิตสูงมีมาก ดังนั้นคุณผู้อ่านที่มีคุณพ่อ แม่เป็นความดันโลหิตสูง ควรมั่นตรวจวัดความดันอย่างสม่ำเสมอ
  • อายุ และเพศ วัยก่อนหมดประจำเดือนผู้ชายจะเป็นความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้หญิงเมื่อวัยหมดประจำเดือนผู้หญิงจะเป็นความดันโลหิตมากกว่าผู้ชาย ส่านในคนแก่พบความดันโลหิตสูงพอๆกัน โดยมากมักพบความดันในช่วงอายุ 35-50 ปี
  • เชื้อชาติ พบความดันโลหิตสูงในผิวดำมากกว่าผิวขาว


ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้  


  • น้ำหนัก คนอ้วนพบความดันโลหิตสูงมากกว่าคนผอม
  • เกลือ ทานเค็มมีแนวโน้มที่จะมีความดันโลหิตสูง
  • การขาดการออกกำลังกาย
  • ความเครียด
  • การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์
  • มีไขมันในเลือดสูง
  • โรคเบาหวาน


วิธีป้องกัน ลดเสี่ยงโรความดันโลหิตสูง

วิธีป้องกัน ลดเสี่ยงโรความดันโลหิตสูง


มาถึงการรักษาและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงกันบ้าง การรักษาของโรคความดันโลหิตสูง แม้จะเป็นโรคที่อันตราย แต่ก็เป็นโรคที่สามารถควบคุมได้ในระยะยาวหากได้รับการรักษาที่รวดเร็วก่อนโรคจะลุกลาม 


โดยเบื้องต้นส่วนใหญ่จะรักษาด้วยวิธีการให้ยาลดความดันเลือด เพื่อรักษาระดับความดัน ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งนอกจากการกินยาแล้ว ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะหากไม่ปรับพฤติกรรม แล้วมีความดันโลหิตสูงขึ้นเรื่อย ๆ  จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้เป็นโรคต่างๆ ได้ อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว มีอาการหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ มีอาการขาบวม อาจเป็นโรคไตเรื้อรัง มีอาการขาบวม ซีด ผิวแห้ง รวมถึงโรคหลอดเลือดสมอง อาการที่แสดงออก คือ มีอาการปากเบี้ยว อ่อนแรงครึ่งซีก ชาครึ่งซีก หรืออาจมีภาวะสมองเสื่อม
ตา อาจเกิดความผิดปกติที่จอประสาทตา เป็นต้น


ดังนั้นคนที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว ควรปรับพฤติกรรมร่มกับการกินยา ดังนี้ 


  • หมั่นตรวจวัดความดันเลือดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผัก และผลไม้ชนิดที่ไม่หวาน
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ออกกำลังเป็นประจำ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ไม่เครียด
  • ลดอาหารมีรสเค็ม


ส่วนสำหรับใครที่ยังแข็งแรงแต่กังวลว่าตัวเองอาจเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรปฏิบัติตัวตามดังนี้


  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หากคุณอ้วนให้รีบลดน้ำหนัก
  • ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • เลือกอาหารมี่มีเกลือต่ำ
  • งดเครื่องดื่มแฮลกอฮอล์
  • งดบุหรี่ เป็นวิธีการที่ได้ผลดีในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ไม่เครียดง่าย
  • กินอาหารที่มีคุณภาพโดยการลดอาหารเค็ม ลดอาหารมันเพิ่มผักผลไม้แทน
  • หากมียากินประจำ ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่ เพราะมียาบางตัวทำให้เกิดความดันโลหิตสูง


จะเห็นได้ว่าโรคความดันโลหิตสูงเกิดจากอาการเล็ก ๆ เพียงเท่านั้น หากไม่หมั่นสังเกตตัวเอง จากอาการเล็ก ๆ เหล่านี้ ก็อาจเกิดเป็นโรคร้ายในอนาคตได้ ดังนั้นควรหมั่นคอยดูแลตัวเอง และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดโรค รวมถึงเสริมความมั่นใจด้วย ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ที่พร้อมดูแลค่ารักษาทั้งโรคเล็ก โรคร้ายแรง ด้วยวงเงินที่เลือกได้ตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท คุ้มครองทั้ง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคทั่วไป ครอบคลุมเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย รวมถึงอายุรับประกันสูงสุด 90 ปี ดูแลต่อเนื่องยาว ๆ สูงสุดถึงอายุ 99 ปี 


ซื้อวันนี้ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% นานสูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13%


รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก
☑️ โทร.1766 ตลอด 24 ชั่วโมง
☑️  ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขา ธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์


  • ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย  
  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
  • เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย


ที่มา :  สืบค้นเมื่อวันที่ 30/08/66


🔖 โรงพยาบาลรามาธิบดี

🔖 โรงพยาบาลศิครินทร์

🔖 โรงพยาบาลกรุงเทพ

🔖 โรงพยาบาลพญาไท

🔖 กรมควบคุมโรค

🔖 Rama channel

🔖 โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าสนใจ