Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

โรคฝีดาษลิง น่ากลัวกว่าที่คิด  หากสัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงติด

โรคฝีดาษลิง น่ากลัวกว่าที่คิด หากสัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงติด

01 ธันวาคม 2566

5 นาที

โรคฝีดาษลิง มาเงียบ ๆ แต่ร้ายเอาเรื่อง โดยเป็นโรคที่สามารถติดต่อได้โดยตรงจากการสัมผัส ทั้งจากสัตว์สู่คน ได้แก่ สัตว์จำพวกหนู กระรอก และลิง หรือจากคนสู่คนที่ใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อโรคฝีดาษลิง โดยต้นกำเนิดพื้นที่การระบาดโรคฝีดาษลิงอยู่ในทวีปแอฟริกาตอนกลาง ถึงตะวันตกแล้วจึงแพร่ระบาดไปสู่ภูมิภาคอื่น ๆ ถึงแม้ว่าโรคฝีดาษลิงจะมีอาการคล้ายกับโรคฝีดาษคน แต่โรคฝีดาษลิงมีความสามารถในการแพร่กระจายโรคได้น้อยกว่า และธรรมชาติของโรคมีความรุนแรงน้อยกว่าฝีดาษคนมาก



โรคฝีดาษลิง ติดต่อได้อย่างไรบ้าง?

โรคฝีดาษลิง ติดต่อได้อย่างไรบ้าง?

โรคฝีดาษลิง คือโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิด DNA ชื่อ monkey pox เป็นเชื้อไวรัสในกลุ่ม Orthopoxvirus  ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับโรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ (Smallpox) เกิดการติดเชื้อในสัตว์มาก่อน และสามารถติดเชื้อจากสัตว์สู่คนได้ผ่านการสัมผัส โดยการติดต่อของโรคฝีดาษลิง สามารถแบ่งได้ดังนี้


  • จากสัตว์สู่คน โดยการสัมผัสกับสารคัดหลั่ง หรือแผลของสัตว์ป่วย การรับประทานสัตว์ที่ปรุงไม่สุก
  • จากคนสู่คน โดยการสัมผัสสารคัดหลั่งทางเดินหายใจ (Droplet respiratory particle) ของผู้ป่วย หรือสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่ง แผลของผู้ป่วย เช่น เสื้อผ้า โดยมีการระบาดในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายเป็นหลัก


โรคฝีดาษ ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือไม่

ยังไม่มีการยืนยันว่าโรคฝีดาษลิง สามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ หรือไม่ แต่ระยะหลังพบผู้ติดเชื้อที่เป็นกลุ่มชายรักร่วมเพศจำนวนมาก ซึ่งมีรอยโรคบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ และใกล้อวัยวะสืบพันธุ์ จึงทำให้มีการคาดการณ์ว่าโรคฝีดาษลิง สามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือจากการสัมผัสใกล้ชิดระหว่างกิจกรรมทางเพศได้


ใครเสี่ยงเป็นโรคฝีดาษลิง

สำหรับใครที่กังวลว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคฝีดาษลิง หรือไม่ สามารถสำรวจความเสี่ยงของตัวเองเบื้องต้นเพื่อป้องกันสุขภาพได้ ดังนี้


  • ผู้ที่อาศัย หรือมีการเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาด เช่น ในประเทศแถบแอฟริกา
  • ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับสัตว์ หรือผู้ป่วยที่ติดเชื้อ
  • บุคลากรทางการแพทย์
  • นักวิจัยที่มีการทำวิจัยเกี่ยวกับเชื้อฝีดาษลิง
  • ผู้อยู่อาศัยร่วมกับผู้ติดเชื้อ
  • ผู้ที่มีกิจกรรมทางเพศกับผู้ติดเชื้อ
  • ผู้อาศัยติดเขตป่ามีโอกาสสัมผัสกับสัตว์ติดเชื้อมากขึ้น


อาการของโรคฝีดาษลิง

อาการของโรคฝีดาษลิง

ผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงเมื่อได้รับเชื้อแล้ว ร่างกายจะมีอาการเกิดขึ้นได้ภายใน 6 – 13 วัน หรืออาจพบได้ถึง 21 วัน (หรือที่เรียกว่าระยะฟักตัว) โดยลักษณะอาการดั้งเดิมของโรคฝีดาษลิง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะ


  • ระยะแพร่เชื้อเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยที่ติดเชื้อฝีดาษลิงจะมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ที่สำคัญคือ มีต่อมน้ำเหลืองโต ซึ่งแตกต่างจากโรคสุกใส หรือโรคฝีดาษคน ระยะนี้อาจมีอาการได้ถึง 5 วัน
  • ระยะผื่น เกิดขึ้นภายใน 3 วันหลังจากมีไข้ ผื่นจะมีลักษณะเป็นผื่นแบน จากนั้นค่อย ๆ นูนเป็นตุ่มน้ำใส หรือเป็นตุ่มหนอง และแตกเป็นสะเก็ดหลุดไปในที่สุด โดยผื่นมักเกิดที่หน้า และแขน ขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้า มากกว่าที่ตัว รวมถึงสามารถพบได้ในเยื่อบุต่าง ๆ เช่น ในช่องปาก เยื่อบุตา และอวัยวะเพศ เป็นต้น


นอกจากนี้ กลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้หากติดเชื้อฝีดาษลิงแล้ว มีความเสี่ยงสูงที่จะมีอาการรุนแรง ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือด ผู้ป่วยมะเร็งอวัยวะต่าง ๆ ผู้ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ เด็กอายุน้อยกว่า 8 ปี และผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำอื่น ๆ เช่น กลุ่มที่ได้รับยาที่กดภูมิต้านทาน กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ หรืออยู่ระหว่างให้นมบุตร


วิธีรักษาโรคฝีดาษลิง

วิธีรักษาโรคฝีดาษลิง

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษา หรือวัคซีนป้องกันเฉพาะเจาะจง แต่สามารถควบคุมการระบาดได้ด้วย การฉีดวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพ 85% และสามารถรักษาได้ด้วยวิธีดังนี้


  • หากไม่ได้ทำการรักษาโรคฝีดาษลิง ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ ธรรมชาติของโรคจะหายได้เองภายใน 2 – 4 สัปดาห์
  • การดูแลผิวหนังที่ติดเชื้อฝีดาษลิง ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกมีดังนี้
    • งดแกะเกาที่ผื่น
    • รักษาความสะอาดของผิวหนังไม่ให้อับชื้น เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม
    • ควรล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์ ก่อนและหลังการสัมผัสผื่น
    • ทำความสะอาดผื่นด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ
    • ไม่ควรปิดผื่นให้มิดชิด แต่ควรเปิดผื่นให้ระบายอากาศได้
    • หากผื่นมีอาการปวด บวมแดง หรือเป็นหนอง แนะนำให้รีบพบแพทย์


วิธีป้องกันโรคฝีดาษลิง ในประเทศไทย

วิธีป้องกันโรคฝีดาษลิง ในประเทศไทย


ทุกคนต้องช่วยกัน โดยเฉพาะความใส่ใจสุขภาพ และระมัดระวังในการใช้ชีวิตประจำวัน ที่จะช่วยป้องกันและลดโอกาสการติดเชื้อโรคฝีดาษลิง โดยเราทุกคนสามารถป้องกันเชื้อได้ด้วยวิธีง่าย ๆ ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่วย สัตว์ที่เป็นพาหะโดยเฉพาะลิง และสัตว์ฟันแทะ
  • หมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อย ๆ  โดยเฉพาะหลังสัมผัสสัตว์ หรือสิ่งของสาธารณะ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่ง บาดแผล เลือด น้ำเหลืองของสัตว์
  • ใส่หน้ากากอนามัย เมื่อต้องเดินทางไปยังสถานที่เสี่ยงมีการแพร่ระบาด
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่ง แผล ตุ่มหนอง หรือตุ่มน้ำใส จากผู้มีประวัติเสี่ยง หรือสงสัยว่าติดเชื้อ กรณีที่สัมผัสเชื้อไปแล้ว ควรฉีดวัคซีนป้องกันในกรณีที่ยังไม่เกิน 14 วัน (ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนในประเทศไทย ข้อมูล ณ วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2565)


โรคฝีดาษลิง จัดได้ว่าเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังในประเทศไทย และสามารถติดต่อได้ง่าย ๆ เพียงแค่สัมผัสบริเวณตุ่ม หนอง หรือสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ ดังนั้นการดูแลตนเองอย่างดี ใส่ใจสุขภาพ รักษาความสะอาด จะช่วยลดพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ให้ห่างไกลการเกิดโรคได้


รวมถึงเลือกทำประกันสุขภาพที่ดูแลค่ารักษาทั้งโรคเล็ก โรคแรง ด้วยวงเงินที่เลือกได้ตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท เข้ารักษาได้ทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศ คุ้มครองทั้ง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคทั่วไป ครอบคลุมเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย รวมถึงอายุรับประกันสูงสุด 90 ปี ดูแลต่อเนื่องยาว ๆ สูงสุดถึงอายุ 99 ปี


ซื้อวันนี้ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% นานสูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13%


รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

☑️ โทร.1766 ตลอด 24 ชั่วโมง

☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขา ธนาคารกสิกรไทย

  • ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต และธนาคารกำหนด
  • เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐาน และความจำเป็นทางการแพทย์
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย


ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 8/11/66 

🔖 สสส. ข้อมูล ณ วันที่ 15/08/66

🔖 โรงพยาบาลสมิติเวช ข้อมูล ณ วันที่ 8/06/65

🔖 ThaiPBS ข้อมูล ณ วันที่ 8/09/66

สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความของเรา