Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

โรคกระเพาะอาหาร Thumbnail

สัญญาณเสี่ยง ! โรคกระเพาะอาหาร สาเหตุและวิธีการรักษา

โรคกระเพาะอาหาร แม้ไม่เป็นโรคร้ายแรง แต่เมื่อเป็นแล้วอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยจะทรมานมาก เพราะมีอาการปวดท้องเป็น ๆ หาย ๆ โดยสาเหตุของโรคกระเพาะอาหารเกิดจาก กินอาหารไม่ตรงเวลา กินมากเกินไป หรือ เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งวิธีป้องกัน โรคกระเพาะอาหาร คือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใช้ชีวิต ระวังเรื่องของการกิน อะไรบ้างที่กินได้ และ อะไรที่ห้ามกิน หากพร้อมแล้วมาหาคำตอบของโรค กระเพาะอาหาร กันได้เลย



โรคกระเพาะอาหาร สาเหตุเกิดจาก อะไร


โรคกระเพาะอาหาร สาเหตุเกิดจาก อะไร


สำหรับ โรคกระเพาะอาหาร เป็นหนึ่งในภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม เพราะสามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ และ โรคกระเพาะอาหาร จัดเป็นโรคหนึ่งที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตเป็นหลัก ซึ่ง ไม่สามารถรักษาให้หายด้วยยา แต่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยสาเหตุหลักของโรคกระเพาอาหาร มีดังนี้


  • ติดเชื้อ Helicobacter pylori (H. pylori) : ที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร และ น้ำดื่ม ส่งผลให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหาร และ ที่สำคัญเป็นเชื้อที่ก่อให้มีความเสี่ยงในการเกิด โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ตามมาด้วย
  • ใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ : หรือ ยาแก้ปวดปวดชนิดต่าง ๆ ยาเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร เช่น ยาแอสไพริน ไอบูโพรเฟน อินโดเมทาซิน นาโพรเซน เป็นต้น
  • จากพฤติกรรมการใช้ชีวิต : ดื่มแอลกอฮอล์ ส่งผลให้เกิดการระคายเคืองกับกระเพาะอาหาร ไม่ว่าจะเป็น เบียร์ เหล้า ไวน์ หรือ เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ รวมถึง กาแฟ ชา พฤติกรรมการ สูบบุหรี่ หรือ กินอาหารไม่ตรงเวลา ทั้งหมดนี้เป็นจุดเริ่มต้นความเสี่ยงของ โรคกระเพาะอาหาร
  • ความเครียด : ช่วยกระตุ้นให้กรดในกระเพาะอาหารหลั่งมากกว่าปกติ ส่งเสริมให้เกิด โรคกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะความเครียด วิตกกังวล หงุดหงิด อาการนอนไม่หลับ และ พักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ออกกำลังกาย
  • กินอาหารรสจัด : ทั้งรสเผ็ด หรือ เปรี้ยวจัด เพราะ ในอาหารเผ็ดจะมีส่วนประกอบของพริก ซึ่งมีสารแคปไซซิน ที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุต่าง ๆ ในร่างกาย จึงเป็นสาเหตุของ โรคกระเพาะอาหาร นั่นเอง


การรักษา โรคกระเพาะอาหาร มักเน้นการใช้ยาเพื่อลดการสร้างกรดในกระเพาะอาหาร และ ยาเพื่อกำจัดเชื้อ H. pylori (ในกรณีที่ติดเชื้อ) และ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ส่งเสริมการดูแลสุขภาพที่ดีเพื่อช่วยในการรักษา และ ป้องกันการกลับมาของ โรคกระเพาะอาหาร ในอนาคตได้


โรคกระเพาะอาหาร มีอาการอะไรบ้าง

โรคกระเพาะอาหาร มีอาการอะไรบ้าง


ปัจจุบัน โรคกระเพาะอาหาร สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยหลากหลายวัย เพราะด้วยวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้พฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่ถูกต้อง เช่น กินไม่ตรงเวลา รีบกิน หรือ มีความเครียดที่สะสมจากการทำงาน เป็นเวลานานจะนำไปสู่ปัจจัยการเกิดโรคกระเพาะอาหารในที่สุด โดยอาการของโรคกระเพาะอาหาร สามารถสังเกตตัวเองได้ ดังนี้


  • รู้สึกไม่สบายช่องท้องส่วนบน
  • ปวดท้อง แสบท้อง
  • อิ่มง่าย จุกหน้าอก แน่นท้อง เรอบ่อย
  • ปวดท้องก่อน หรือ หลังรับประทานอาหาร
  • คลื่นไส้หลังการรับประทานอาหาร 


หากใครรู้ตัวว่ากำลังเริ่มมีอาการข้างต้น แนะนำให้พบแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษา เพราะหากปล่อยไว้จนมีอาการหนักจะทรมานมาก และ ใช้เวลาในการรักษา ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และหากไม่รีบรักษาโรคกระเพาะอาหารอาจเป็นจุดเริ่มต้นของปัจจัยเสี่ยงการเกิด โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร นั่นเอง


วิธีป้องกัน โรคกระเพาะอาหาร


วิธีป้องกัน โรคกระเพาะอาหาร


หากใครยังไม่เคยเป็น โรคกระเพาะอาหาร หรือ เป็นแล้วแต่สามารถรักษาให้หายจากอาการถือว่าโชคดีมาก ซึ่งใครที่ไม่อยากเป็น โรคกระเพาะอาหาร สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตได้ง่าย ๆ ดังนี้


  • กินอาหารให้ตรงเวลา
  • ไม่กินอาหารมากเกินไป แต่ควรทานน้อยแต่ทานบ่อย ๆ
  • เลี่ยงอาหารที่กระตุ้นให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร หรือ ทำให้มีอาการมากขึ้น เช่น อาหารรสเปรี้ยว เผ็ด รวมถึงถั่วที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และ ที่สำคัญ ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เพราะยาบางชนิดอาจกัดกระเพาะอาหารได้


ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหาร ห้ามกินอะไร

ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหาร ห้ามกินอะไร


  • อาหารทอด
  • ซอสมะเขือเทศ หรือ น้ำมะเขือเทศ
  • นมสด อาหารที่ทำจากนม นมช็อกโกแลต โกโก้ร้อน หรือ ครีม
  • พริก พริกไทย หรือ ซอสพริก
  • เนื้อสัตว์แปรรูป ไส้กรอก แฮม หรือ เบคอน
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ชา หรือ กาแฟ
  • น้ำอัดลม หรือ โซดา
  • น้ำผลไม้ โดยเฉพาะ น้ำส้ม หรือ น้ำเกรปฟรุต


 ใครเสี่ยงเป็นโรคกระเพาะอาหาร

ใครเสี่ยงเป็นโรคกระเพาะอาหาร


  • ผู้ที่นั่งอยู่กับที่ทั้งวัน เช่น พนักงานออฟฟิศนั่งหน้าคอมพิวเตอร์เกิดความเครียดสะสม
  • ทำงานเป็นกะ ส่งผลให้การกินอาหาร และ นอนไม่เป็นเวลา
  • พนักงานที่ทำงานบริการ ที่ไม่สามารถกินอาหารให้ตรงเวลาได้
  • อาชีพอิสระ ผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงชอบนอนดึก และ มักเกิดอาการหิวส่งผลให้กินอาหารไม่เป็นเวลาเช่นกัน


โรคกระเพาะอาหาร สาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคุล ซึ่งการรักษา โรคกระเพาะอาหาร ไม่ใช่เรื่องง่าย หากเป็นเรื้อรังจนเกิดแผล หรือ อักเสบ ในการะเพาะอาหาร อาจมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ ดังนั้นควรดูแลสุขภาพ และมองหาประกันสุขภาพก่อนเจ็บป่วย เพื่อช่วยเพิ่มความมั่นใจ เจ็บป่วยมาก็ไม่กังวลเรื่องค่ารักษา


พร้อมเสริมความมั่นใจด้วย ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ดูแลค่ารักษาทั้งโรคเล็ก โรคร้ายแรง ด้วยวงเงินที่เลือกได้ตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท คุ้มครองทั้ง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคทั่วไป ครอบคลุมเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย รวมถึงอายุรับประกันสูงสุด 90 ปี ดูแลต่อเนื่องยาว ๆ สูงสุดถึงอายุ 99 ปี 


รายละเอียดเพิ่มเติม
☑️ โทร.1766 ตลอด 24 ชั่วโมง
☑️  ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขา ธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์


  • ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
  • เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย


ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 5/09/66

🔖 โรงพยาบาลวิชัยเวช

🔖 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาด

🔖 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

🔖 mgronline

🔖 กระทรวงสาธารณะสุข

🔖 pobpad

🔖 lovefitt

สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าสนใจ