Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

สายมูต้องรู้ ! เงินบริจาคแบบไหน ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า!

สายมูต้องรู้ ! เงินบริจาคแบบไหน ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า!

กลับมาอีกแล้วสำหรับเทศกาลการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับคนโสดที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี หรือมีรายได้ประเภทอื่น ๆ ตั้งแต่ 60,000 บาทต่อปี และคนที่สมรสแล้วมีรายได้ 220,000 บาท หรือรายได้ประเภทอื่น ๆ ตั้งแต่ 120,000 บาท จะต้องทำหน้าที่ยื่นเสียภาษี โดยสามารถดำเนินการได้ 2 แบบ คือ แบบเอกสาร และออนไลน์ วันนี้ลองมาดูกันว่าค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีมีอะไรที่ลดหย่อนได้บ้าง รวมถึงสายมู สายบุญห้ามพลาด กับเงินบริจาค ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า จะมีเงินบริจาคแบบไหนที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่า บ้างไปดูกัน !


รายการลดหย่อนภาษีปี 2566 มีอะไรบ้าง?

เงินบริจาคแบบไหน ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า!



รายการลดหย่อนภาษีปี 2566 มีอะไรบ้าง ?


รายการลดหย่อนภาษีปี 2566 มีอะไรบ้าง ?


เงินเดือนออกทุกเดือน เคยดูกันมั้ยว่าเราโดนหักภาษีกันไปเท่าไร? ใครที่ไม่เคยเช็กบอกเลยว่ากลับไปเช็กกันด่วน ๆ เพราะหากเอามาคำนวนรวมดูจริง ๆ ปี ๆ นึงเราอาจจะเสียภาษีมากกว่าที่คิดไว้ก็ได้ ดังนั้นควรวางแผนภาษีลอดหย่อนกันตั้งแต่ตอนนี้ ซึ่งรายการลดหย่อนภาษีปี 2566 นี้แบ่งเป็น 4 กลุ่มหลัก ๆ ดังนี้


ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว


  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว ผู้เสียภาษีสามารถใช้ค่าลดหย่อนส่วนตัวได้ 60,000 บาท โดยผู้เสียภาษีจะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนนี้ได้ทันทีที่ทำการยื่นแบบแสดงภาษีเงินได้ประจำปี (ภ.ง.ด. 90, ภ.ง.ด. 91)
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส กฎหมายกำหนดให้คู่สมรสสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 60,000 บาท มีเงื่อนไข คือ ต้องเป็นคู่สมรสที่จดทะเบียนตามกฎหมายกำหนด คู่สมรส (สามีหรือภรรยา) ต้องเป็นผู้ไม่มีเงินได้ หรือรายได้ในปีนั้น ๆ ในกรณีที่สามีและภรรยามีเงินได้ทั้งคู่ กฎหมายอนุญาตให้ ยื่นภาษีรวมกันเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษีคู่สมรสได้
  • ค่าลดหย่อนบุตร กฎหมายกำหนดเงื่อนไขการใช้สิทธิค่าลดหย่อนบุตร 2 ข้อ คือ บุตรชอบด้วยกฎหมายสามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรคนละ 30,000 บาท และหากมีบุตรคนที่ 2 ที่เกิดตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไปสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้คนละ 60,000 บาท สำหรับผู้ที่มีบุตรบุญธรรม หรือมีทั้งบุตรบุญธรรมและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้สูงสุด 3 คน และจะต้องเป็นบุตรที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น  เงื่อนไขการใช้สิทธิค่าลดหย่อนบุตรบุตรจะต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี ในกรณีที่บุตรมีอายุ 21-25 ปี บุตรจะต้องศึกษาอยู่ในระดับปวส. ขึ้นไปเท่านั้น บุตรจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี (ยกเว้นกรณีเงินปันผล)
  • ค่าลดหย่อนพ่อแม่ กฎหมายกำหนดให้ผู้ที่เลี้ยงดูพ่อแม่ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนพ่อแม่ได้คนละ 30,000 บาท โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติม คือ ต้องเป็นพ่อแม่ที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือพ่อแม่ที่แท้จริงเท่านั้นพ่อ-แม่จะต้องมีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี 
  • ค่าลดหย่อนผู้พิการ หรือทุพพลภาพ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้คนละ 60,000 บาท โดยมีเอกสารที่ต้องใช้เป็นหลักฐาน คือ บัตรประจำตัวผู้พิการ หรือใบรับรองแพทย์ เอกสารรับรองการเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูผู้ทุพพลภาพ (ลย.04)
  • ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร ใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 60,000 บาท และจะต้องเป็นค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรที่จ่ายตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป โดยมีเงื่อนไข ต้องเป็นค่าฝากครรภ์ หรือคลอดบุตร ที่จ่ายให้กับสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน ในกรณีที่ท้องปีนี้ คลอดปีหน้า สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามปีที่จ่ายจริง แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 60,000 บาท


กลุ่มประกันสุขภาพและประกันชีวิต


  • ประกันชีวิตลดหย่อนภาษีในกรณีที่จ่ายเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป หรือ เงินฝากแบบมีประกันชีวิตในช่วงปีที่ผ่านมา สามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายตลอดทั้งปีมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาทจะต้องเป็นกรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองระยะเวลา 10 ปีขึ้นไป ที่ทำกับบริษัทประกันในประเทศไทยเท่านั้น
  • ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี ค่าเบี้ยประกันสุขภาพที่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้มี 2 กรณี คือ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากค่าเบี้ยประกันสุขภาพที่จ่ายมาตลอดทั้งปีจ่ายจริงแต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับค่าเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป หรือเงินฝากแบบมีประกันชีวิต จะต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  • เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท และพ่อแม่จะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องให้พ่อแม่มีอายุครบ 60 ปี
  • ประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนภาษี  ได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และสามารถใช้ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 200,000 บาท และจะต้องเป็นประกันบำนาญที่มีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป ทำและจะต้องทำกับบริษัทประกันในประเทศไทยเท่านั้น
  • ค่าลดหย่อนประกันสังคม ใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 9,000 บาทต่อปี ( ตามอัตราสมทบเงินประกันสังคมที่ 5% คำนวณจากเพดานที่ 15,000 บาท หรือสูงสุดไม่เกินเดือนละ 750 บาท )


กลุ่มการออมและลงทุน


  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องจ่ายภาษี ตามที่จ่ายจริงแต่เมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อเกษียณอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000
  • กองทุนรวมเพื่อการออม SSF สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องจ่ายภาษี ตามที่จ่ายจริงแต่ต้องไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อเกษียณอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 และมีเงื่อนไขอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่ต่ำกว่า 10 ปี นับจากวันที่ซื้อกองทุน
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กบข/ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน  ใช้ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องจ่ายภาษี ตามที่จ่ายจริงแต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดปีละ 30,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุน RMF, กบข, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนสังเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน, เบี้ยประกันบำนาญ จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท


กลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ


  • ดอกเบี้ยบ้าน ลดหย่อนภาษี สามารถนำรายจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้บ้านในรอบปี 2566 มาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ในกรณีที่ซื้อแบบกู้ร่วม สิทธิลดหย่อนภาษีจะเฉลี่ยตามจำนวนคนร่วมกู้
  • ช้อปดีมีคืน 2566 ลดหย่อนภาษี สามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือบริการภายในประเทศ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2566 มาใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี 2566 ได้ตามที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 40,000 บาท 


กลุ่มเงินบริจาค


เงินบริจาคลดหย่อนภาษี ตามที่กฎหมายกำหนดลดหย่อนภาษี 2 เท่า คือ บริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา พัฒนาสังคม และสถานพยาบาลของทางราชการ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของเงินที่บริจาคจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน และบริจาคลดหย่อนภาษีทั่วไป สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหัก   ส่วนบริจาคพรรคการเมือง ลดหย่อนภาษี สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท


เงินบริจาคแบบไหน ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า]


เงินบริจาคแบบไหน ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า


ทำแล้วได้บุญแถมยังได้ลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่า กับสิทธิลดหย่อนภาษีด้วยการบริจาค ซึ่งเงินบริจาคที่ลดหย่อนภาษีได้พิเศษ โดยสามารถใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง แต่ไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ เงินบริจาคพิเศษ สามารถเช็กว่าบริจาคที่ไหนลดหย่อนได้ 2 เท่าบ้าง แนะนำให้เข้าไปตรวจสอบรายชื่อองค์กรรับบริจาคที่เว็บไซต์สรรพากรได้เลย


บริจาคที่ไหน ได้ลดหย่อนภาษี 2 เท่าบ้าง?


สถานศึกษา

  • ไม่ว่าเป็นโรงเรียนรัฐ โรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษา โดยจะต้องเป็นการบริจาคเพื่อใช้จ่ายสำหรับอาคารสถานที่ สื่อการเรียนการสอน และบุคลากร โดยจะต้องเป็นการบริจาคผ่านระบบ e-Donation เท่านั้น ไม่อย่างนั้นจะลดหย่อนได้แค่เท่าเดียว 


สถานพยาบาลของทางราชการ

  • โดยทั่วไป ถ้าเป็นการบริจาคให้ “โรงพยาบาล” โดยตรง กรณีนี้จะลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า แต่ถ้าเป็นการบริจาคให้ “มูลนิธิโรงพยาบาล” กรณีนี้จะลดหย่อนภาษีได้เท่าเดียว แนะนำให้เช็กจากใบเสร็จที่ได้จะชัวร์สุด


หน่วยงานด้านกีฬาที่สังกัดสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย / กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้ง / องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเด็กเล็ก / สถานพักฟื้น บำบัด และฟื้นฟูเด็ก / กองทุนยุติธรรม / เงินบริจาคเพื่อคนพิการเพื่อการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะ / สภากาชาด

  • สามารถลดหย่อน 2 เท่าได้ ต่อเมื่อบริจาคผ่านระบบ e-Donation เท่านั้น


หลักฐานที่ต้องเก็บในกรณีบริจาคได้แก่ ใบอนุโมทนาบัตร หรือใบเสร็จรับเงิน ที่มีข้อความระบุชื่อหน่วยงานที่บริจาคเงินให้ วันเดือนปีที่บริจาค ชื่อผู้บริจาค และจำนวนเงินที่บริจาค


ได้รับข้อมูลกันไปแน่น ๆ ขนาดนี้แล้ว อย่าลืมเตรียมตัววางแผนลดหย่อนภาษีประจำปีภาษี 2566 กันด้วยนะ เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับได้วางแผนทางด้านการเงินของเราด้วย ซึ่งนอกจากเงินบริจาคที่ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าแล้วบางรายการในการลดหย่อนภาษี เช่นประกันสุขภาพ ยังสามารถนำค่าเบี้ยไปลดหย่อนภาษี ได้สูงสุด 25,000 บาท อีกด้วย


เลือกทำประกันสุขภาพที่ดูแลค่ารักษาทั้งโรคเล็ก โรคแรง ด้วยวงเงินที่เลือกได้ตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท เข้ารักษาได้ทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศ คุ้มครองทั้ง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคทั่วไป ครอบคลุมเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย รวมถึงอายุรับประกันสูงสุด 90 ปี ดูแลต่อเนื่องยาว ๆ สูงสุดถึงอายุ 99 ปี


ซื้อวันนี้ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% นานสูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13%


รายละเอียดเพิ่มเติม

☑️ โทร.1766 ตลอด 24 ชั่วโมง

☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขา ธนาคารกสิกรไทย


  • สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
  • ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
  • เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย


ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 30/11/66 
🔖 finnomena (ข้อมูล ณ วันที่ 21/11/66)
🔖 thaipbs (ข้อมูล ณ วันที่ 07/11/66)
🔖 finnomena (ข้อมูล ณ วันที่ 05/03/64)
🔖 dst (ข้อมูล ณ วันที่ 06/11/66)

สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าสนใจ