Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

เอกสารยื่นภาษี 2567 ต้องใช้อะไรบ้าง? และก่อนยื่นต้องรู้อะไร

เอกสารยื่นภาษี 2567 ต้องใช้อะไรบ้าง? และก่อนยื่นต้องรู้อะไร

ยื่นภาษียังไงไม่ให้โป๊ะ ! ก่อนอื่นต้องตั้งสติกับการเตรียมเอกสารยื่นภาษีกันก่อน เพราะการยื่นภาษีแต่ละครั้งถือเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความละเอียดรอบคอบ หากลืมรายการลดหย่อนภาษีไปแม้แต่รายการเดียว นั่นก็หมายถึงต้องจ่ายภาษีมากขึ้น ทุกคนจึงต้องเช็กรายการลดหย่อนภาษีพื้นฐานให้พร้อม ซึ่งการยื่นภาษีประจำปี 2567 สามารถยื่นออนไลน์ได้ถึงวันที่ 8 เมษายน 2568 แต่ก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่การยื่นภาษี เราควรเตรียมเอกสารให้พร้อม เพราะเอกสารบางประเภทอาจต้องใช้เวลานานในการขอ ดังนั้นกันพลาดไว้ดีที่สุด เพราะหากเรากรอกรายละเอียดและส่งเอกสารยื่นภาษีเร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งได้เงินคืนภาษีเร็วขึ้น วันนี้ลองมาเช็กดูหน่อยว่า เอกสารที่มีอยู่ในมือนั้นมีครบกันหรือยัง


ยาวไปเลือกอ่านตามหัวข้อได้นะ


1. ก่อนยื่นภาษีต้องรู้อะไรบ้าง!

2. เอกสารสำคัญที่ต้องเตรียมก่อนยื่นภาษี

3. เอกสารยื่นภาษีในกลุ่มต่าง ๆ มีอะไรบ้าง?

4. ยื่นภาษีไม่ทัน ต้องทำอย่างไร?



 ก่อนยื่นภาษีต้องรู้อะไรบ้าง!


1. ก่อนยื่นภาษีต้องรู้อะไรบ้าง!


ยื่นภาษีทีไรถึงแม้น้ำตาจะไหลแต่ก็ต้องยื่น ! เพราะการเสียภาษีคือหน้าที่ของผู้มีเงินได้ ซึ่งในปีนี้สามารถยื่นภาษีแบบเอกสารได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 2568 และสามารถยื่นภาษีทางออนไลน์ได้ถึงวันที่ 8 เมษายน 2568 ซึ่งการยื่นภาษีนั้น สามารถทำที่สำนักงานสรรพากรใกล้บ้าน หรือยื่นภาษีออนไลน์ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากรได้ และไม่ว่าจะเป็นมือใหม่หัดยื่น หรือเทพแห่งการยื่นภาษีแล้วก็ตาม วันนี้ลองมาทบทวนกันหน่อยว่า ก่อนยื่นภาษีเราควรรู้อะไรบ้าง ?


1. การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามี 2 แบบ 


การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี

  • เป็นการยื่นภาษีสำหรับรายได้ที่เกิดขึ้นตลอดทั้งปีภาษีที่ผ่านมา
  • โดยปกติจะยื่นปีละ 1 ครั้ง ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคมของปีถัดไปหากยื่นผ่านระบบออนไลน์ของกรมสรรพากร (e-Filing) จะขยายเวลาได้ถึงวันที่ 8 เมษายนของปีถัดไป
  • ใช้แบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 90 สำหรับผู้ที่มีรายได้จากแหล่งต่างๆ เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ธุรกิจ หรือทรัพย์สิน
  • ใช้แบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 91 สำหรับผู้ที่มีรายได้จากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว


การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี

  • เป็นการยื่นภาษีสำหรับรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีแรก (มกราคม - มิถุนายน)
  • ยื่นภายในเดือนกันยายนของปีภาษีนั้น ๆ
  • ใช้แบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 94
  • โดยมากผู้ที่มีรายได้จาก 40(5)-40(8) เช่น ค่าเช่า, วิชาชีพอิสระ, รับเหมาก่อสร้าง, เงินได้อื่นๆ ที่มีรายได้ช่วงมกราคม – มิถนายน ตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป จะต้องยื่นภาษีครึ่งปี


2. ประเภทเงินได้


ทำความเข้าใจประเภทเงินได้ของตนเอง เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าคอมมิชชั่น ค่าเช่า ดอกเบี้ย เงินปันผล หรือรายได้จากธุรกิจส่วนตัว
ประเภทเงินได้แต่ละประเภทมีวิธีการคำนวณและหักค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน


3. ค่าลดหย่อนภาษี

  • ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับค่าลดหย่อนภาษีต่าง ๆ ที่มีสิทธิ์ได้รับ เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว ค่าลดหย่อนคู่สมรส ค่าลดหย่อนบุตร ค่าลดหย่อนบิดามารดา ค่าลดหย่อนประกันชีวิต ประกันสุขภาพ กองทุนรวมต่างๆ (SSF, RMF, ThaiESG) และค่าลดหย่อนจากการบริจาค
  • เตรียมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับค่าลดหย่อนแต่ละรายการ เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบรับรองการจ่ายเบี้ยประกัน หรือหนังสือรับรองการบริจาค


4. เอกสารที่ต้องเตรียม

  • หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) จากนายจ้าง
  • เอกสารแสดงรายได้อื่น ๆ เช่น หนังสือรับรองรายได้จากดอกเบี้ย หรือเงินปันผล
  • เอกสารหลักฐานค่าลดหย่อนภาษีต่าง ๆ


5. การคำนวณภาษี

  • ทำความเข้าใจวิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อให้ทราบถึงภาระภาษีที่ต้องชำระ หรือจำนวนเงินภาษีที่จะได้รับคืน
  • สามารถใช้โปรแกรมคำนวณภาษีออนไลน์ของกรมสรรพากร เพื่อช่วยในการคำนวณภาษีได้


6. ช่องทางการยื่นภาษี

  • เลือกช่องทางการยื่นภาษีที่สะดวก เช่น การยื่นภาษีออนไลน์ผ่านระบบ e-Filing ของกรมสรรพากร หรือการยื่นภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่
  • การยื่นภาษีออนไลน์จะได้รับความสะดวกสบาย และมักมีระยะเวลาการยื่นที่ขยายออกไป



 เอกสารสำคัญที่ต้องเตรียมก่อนยื่นภาษี


2. เอกสารสำคัญที่ต้องเตรียมก่อนยื่นภาษี


อย่างที่บอกไปข้างต้นว่าสิ่งที่ต้องรู้ก่อนยื่นภาษีมีอะไรบ้าง ซึ่งหนึ่งในส่วนที่สำคัญคือการเตรียมเอกสารยื่นภาษี เพราะก่อนการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การเตรียมเอกสารและข้อมูลให้ครบถ้วน เป็นเรื่องสำคัญมาก เพื่อให้การยื่นภาษีเป็นไปอย่างราบรื่นและถูกต้อง โดยเอกสารยื่นภาษีหลัก ๆ ที่ต้องเตรียมมีดังนี้


  • เอกสารหลักฐานแสดงรายได้ หนังสือรับรองเงินเดือน (50 ทวิ) จากนายจ้าง ซึ่งในเอกสาร 50 ทวิจะมีรายละเอียดสำคัญ เช่น รายได้รวมที่แสดงให้เห็นว่า ในปีนั้นเรามีรายได้รวมเท่าไหร่ หรือเงินสมทบประกันสังคมทั้งหมด เป็นต้น
  • เอกสารรายการลดหย่อนภาษีกลุ่มต่าง ๆ ที่รวบรวมไว้ตลอดทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ หรือบุตร เบี้ยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ เอกสารช้อปดีมีคืน เป็นต้น


3. เอกสารยื่นภาษีในกลุ่มต่าง ๆ มีอะไรบ้าง?


ในเมื่อรู้แล้วว่าเราต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง คราวนี้ลองมาดูกันว่าเอกสารแต่ละกลุ่มมีอะไรบ้าง ก่อนทำเรื่องยื่นภาษีจะได้เตรียมไว้ให้พร้อม


ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มภาระส่วนตัวและครอบครัว

  • หนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (ล.ย.03)
  • หนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ (ล.ย.04)
  • หนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพ (ล.ย.04-1)
  • ทะเบียนสมรส
  • เอกสารรับรองบุตร
  • ใบรับรองแพทย์ ใบเสร็จรับรอง หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าได้จ่ายค่าฝากครรภ์และค่าคลอดให้แก่สถานพยาบาล


ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน

  • เบี้ยประกันชีวิต และประกันสุขภาพ ไม่ต้องเตรียมเอกสารแต่ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิลดหย่อนต่อตัวแทน หรือบริษัทผู้รับประกัน
  • เบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่ ไม่ต้องเตรียมเอกสารเช่นกัน แต่ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิลดหย่อนต่อตัวแทน หรือบริษัทผู้รับประกัน


ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มการออมและลงทุน

  • หากใครที่มีกองทุนควรเตรียมเอกสารหนังสือรับรองการซื้อกองทุน SSF RMF


ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ

  • หากใครกู้ซื้อบ้านหรือคอนโด ให้ขอหนังสือรับรองการเสียดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยจากธนาคาร
  • สำเนาบัญชีผู้ถือหุ้นที่มีชื่อของผู้ยื่นภาษีเป็นรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ลงหุ้น หรือลงทุนในการจัดตั้งของบริษัทหรือห้า
  • หุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถขอเอกสารได้จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์


ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มบริจาค

  • หากมีการบริจาคผ่าน e-Donation ไม่ต้องเตรียมเอกสาร เพราะทางสรรพากรสามารถเข้าไปตรวจสอบในระบบไ
  • ด้การบริจาคทั่วไปต้องมีใบอนุโมทนาบุญ หรือใบเสร็จรับเงินที่ระบุชื่อผู้ยื่นภาษีเป็นผู้บริจาค
  • สำหรับการบริจาคเพื่อพรรคการเมือง ใบเสร็จ หรือหลักฐานอื่น ๆ ที่ช่วยยืนยันว่าผู้ยื่นภาษีได้บริจาคช่วยเหลือ
  • พรรคการเมือง เช่น ใบโอนกรรมสิทธิ์ต่าง ๆ ที่ผู้ยื่นภาษีบริจาคให้แก่พรรคการเมือง เป็นต้น



ยื่นภาษีไม่ทัน ต้องทำอย่างไร


4. ยื่นภาษีไม่ทัน ต้องทำอย่างไร?


ไม่ว่าจะเพราะสาเหตุอะไรที่ทำให้เราเสียภาษีไม่ทัน จงจำไว้ว่าให้เตรียมเอกสารยื่นภาษีที่เกี่ยวข้อง ไปยื่นที่สำนักงานสรรพากรเท่านั้น ! จะไม่สามารถยื่นภาษีผ่านออนไลน์ได้ แนะนำให้เตรียมเอกสารดังต่อไปนี้


  • เตรียมแบบฟอร์ม ภ.ง.ด.91 หรือ ภ.ง.ด.90
  • หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่ จ่าย (50 ทวิ)
  • เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการลดหย่อนภาษี เช่น หนังสือรับรองการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต หนังสือรับรองการจ่ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • เอกสารยืนยันสิทธิ์ค่าลดหย่อนบิดามารดา (ใบ ล.ย. 03)
  • เตรียมเงิน นอกจากจะต้องจ่ายภาษีส่วนที่ค้างแล้ว เราอาจจะต้องจ่ายค่าปรับซึ่งเป็นบทลงโทษที่เกิดจากการยื่นภาษีล่าช้า


บทลงโทษหากยื่นภาษีไม่ทัน

หากคุณยื่นภาษีไม่ทันกำหนดเวลา จะมีบทลงโทษดังนี้

1. ค่าปรับอาญา

  • กรณีไม่ยื่นแบบฯ
    • ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับ 100 บาท
    • ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ค่าปรับ 200 บาท
    • โทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท
  • กรณีจงใจละเลยไม่ยื่นแบบฯ เพื่อหลบเลี่ยงการเสียภาษี
    • ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ 


2. เงินเพิ่ม

  • เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ นับตั้งแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน)


3. เบี้ยปรับ

  • กรณีเจ้าพนักงานตรวจสอบพบว่าไม่ได้ยื่นแบบฯ, ชำระภาษีขาด หรือต่ำไป
    • ต้องเสียเบี้ยปรับ 1-2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระ ตามแต่ละกรณีความผิด


4. โทษทางอาญา

  • กรณีจงใจแจ้งข้อความ หรือแสดงหลักฐานเท็จ เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี
    • มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท


จบกันไปแล้วสำหรับการเตรียมเอกสารยื่นภาษีต่าง ๆ ใครที่กำลังรีรอแนะนำให้รีบยื่นเลยนะ เพราะยื่นเร็วเท่าไหร่ เราก็จะได้เงินภาษีคืนเร็วขึ้นเท่านั้น เตรียมวางแผนการยื่นภาษีกันไปแล้ว อย่าลืมวางแผนลดหย่อนภาษีกันด้วยนะ คุ้มสองต่อได้ทั้งความคุ้มครองสุขภาพและลดหย่อนภาษี ด้วยประกันสุขภาพเหมาจ่าย จากเมืองไทยประกันชีวิต ที่ดูแลค่ารักษา ตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท และยังสามารถนำค่าเบี้ยไปลดหย่อนภาษี ได้สูงสุด 25,000 บาท อีกด้วย


รายละเอียดเพิ่มเติม 

☑️ โทร.1766 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต/ ช่องทางที่ดูแลท่าน


  • เบี้ยประกันภัย สามารถ นำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากรกำหนด
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย


ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 10/03/68


🔖 กรมสรรพากร
🔖 thaipbs
🔖 prachachat


สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าสนใจ