Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

ไขข้อข้องใจ ใบกำกับภาษี ลดหย่อนภาษีได้ไหม?

ไขข้อข้องใจ ใบกำกับภาษี ลดหย่อนภาษีได้ไหม?

06 กุมภาพันธ์ 2567

5 นาที

ใครไม่อยากจ่ายภาษีจุก ๆ ลองใช้สิทธิลดหย่อนภาษีครบกันหรือยัง ทั้งลดหย่อนส่วนตัว บุตร ลดหย่อนพ่อแม่ หรือ กองทุนลดหย่อนภาษี แต่อย่าลืมว่ายังมีการลดหย่อนภาษีอีกแบบที่เรียกว่า ใบกำกับภาษีที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งในบุคคลธรรมดาจะลดได้เท่าไหร่ หรือใบกำกับภาษีมีกี่ประเภท มีหน้าตาเป็นยังไงสำหรับมือใหม่ที่ต้องจ่ายภาษี จะใช่ใบเสร็จที่เราได้เวลาจ่ายตังค์ซื้อของมั้ย หรือใบที่ต้องขอกับทางร้านแยกต่างหาก มาทำความรู้จักไปพร้อม ๆ กัน จะได้ไม่เสียสิทธิและนำไปลดหย่อนภาษีได้อย่างสบายใจ



ใบกำกับภาษีคืออะไร


ใบกำกับภาษีคืออะไร สำคัญหรือไม่?


ใบกํากับภาษี (Tax Invoice) คือ เอกสารสำคัญที่ผู้ขาย หรือผู้ให้บริการ จะทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือจดทะเบียน VAT (Value added tax) ที่ทุกคนพูดบ่อย ๆ เวลาไปซื้อของว่าเสียค่า VAT นั่นเอง ซึ่งจะต้องออกให้กับคนที่ซื้อสินค้าหรือบริการทุกครั้ง เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่คิดกับลูกค้า ซึ่งจะออกใบกำกับภาษีทุกครั้งหลังมีการซื้อขายสินค้าเกิดขึ้น 


 ใบกำกับภาษีประเภทต่างๆ

ใบกำกับภาษีมีกี่ประเภท


แค่พูดว่าใบกำกับภาษีก็ปวดหัวรอแล้ว แต่เรื่องนี้ไม่ยากเกินไปแน่นอน มาทำความรู้จักแต่ละประเภทของใบกำกับภาษีว่ามีอะไรบ้าง


  1. ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
  2. ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ
  3. ใบเพิ่มหนี้
  4. ใบลดหนี้
  5. ใบเสร็จรับเงินที่ส่วนราชการออกให้ในการขายทอดตลาด
  6. ใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรที่ออกให้สำหรับการชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม
  7. ใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากร หรือกรมสรรพสามิตออกให้ในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม


ใบกำกับภาษีอย่างย่อ คืออะไร


ใบกำกับภาษีอย่างย่อ คืออะไร


ถึงแม้ใบกำกับภาษีจะมีหลายประเภท แต่ส่วนมากคนทั่วไปจะรู้จักกันแค่ไม่กี่แบบ หนึ่งในนั้นคือ ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ซึ่งเป็นเอกสารหลักฐานการขายสินค้า ที่เจ้าของกิจการเรียกเก็บภาษีเพิ่มจากลูกค้ารายย่อย แต่กิจการค้าปลีก ผู้ประกอบการจะต้องมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่แล้ว เพื่อเป็นหลักฐานแสดงข้อมูลสินค้า ในแต่ละครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจที่ขายสินค้าให้กับลูกค้าโดยตรง และลูกค้านำไปใช้เอง เช่น ร้านอาหาร ร้านค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อเวลาไปซื้อของอย่าลืมขอกันน้า

เนื้อหาสำคัญที่ใบกำกับภาษีอย่างย่อต้องมี


  • ต้องระบุคำว่า “ใบกำกับภาษีอย่างย่อ”
  • ชื่อ และเลข 13 หลักประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ขาย
  • วัน/เดือน/ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
  • เลขที่ใบกำกับภาษี
  • ชื่อ/ชนิด/ประเภท/ปริมาณ/ราคา ของสินค้าที่ซื้อขาย
  • ราคาสินค้าบริการ ที่รวม Vat แล้ว
  • ข้อความอื่นที่สรรพากรกำหนดไว้


*ใบกำกับภาษีอย่างย่อ จะไม่สามารถนำไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อนำส่ง ภ.พ.30 ได้


ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ คืออะไร


ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ คืออะไร


ส่วนใบกำกับภาษีอีกแบบที่สำคัญและคนเห็นกันบ่อยที่สุดก็จะเป็น ใบกํากับภาษีแบบเต็ม ซึ่งจะเป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานของเจ้าของกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยจะต้องออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบให้กับลูกค้าทุกครั้งเมื่อลูกค้าแจ้งความต้องการ แต่หากลูกค้าไม่ได้แจ้งก็จะได้ใบกำกับภาษีแบบย่อไปแทน  โดยใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ ผู้ซื้อจะสามารถนำไปใช้เป็นภาษีซื้อได้ และส่วนเนื้อหาของใบกำกับภาษีอย่างเต็มรูปแบบ จะเพิ่มเนื้อหาจากแบบจากใบกำกับภาษีอย่างย่อ คือ


  • ต้องระบุในใบว่าเป็น “ใบกำกับภาษี” ให้ชัดเจน
  • ระบุชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ขาย
  • ระบุชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ซื้อ


*ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ สามารถนำไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อนำส่ง ภ.พ.30 ได้


ใบกำกับภาษีลดหย่อนภาษีได้ไหม


ใบกำกับภาษีลดหย่อนภาษีได้ไหม


เมื่อเรามีใบกำกับภาษีแล้ว อย่าลืมนำมารวบรวมยอดที่จะใช้ยื่นภาษี พอถึงช่วงเวลาต้องยื่นภาษีก็อย่าลืมนำไปลดหย่อนกันนะ 


อยู่ในช่วงยื่นภาษีแล้วใครมีใบกำกับภาษีก็จัดเลยไม่ต้องรอ ส่วนในปี 2567 นี้ เริ่มขอใบกำกับภาษีกันได้เลย จะได้เตรียมตัววางแผนลดหย่อนภาษีได้อย่างเต็มที่ หรือหากใครสนใจรายการลดหย่อนภาษีอื่น เช่น ประกันสุขภาพ ยังสามารถนำค่าเบี้ยไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาท


เลือกทำประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่ดูแลค่ารักษาทั้งโรคเล็ก โรคแรง ด้วยวงเงินที่เลือกได้ตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท เข้ารักษาได้ทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศ คุ้มครองทั้ง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคทั่วไป ครอบคลุมเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย รวมถึงอายุรับประกันสูงสุด 90 ปี ดูแลต่อเนื่องยาว ๆ สูงสุดถึงอายุ 99 ปี


ใบกำกับภาษีแบบย่อกับใบกำกับภาษีแบบเต็มต่างกันอย่างไร

รายละเอียดเพิ่มเติม

☑️ โทร.1766 ตลอด 24 ชั่วโมง

☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขา ธนาคารกสิกรไทย


  • สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
  • ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
  • เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย


ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 22/01/67

🔖 ช้อปดีมีคืน

🔖 กสิกร

🔖 กรมสรรพากร

🔖 prosoft

สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าสนใจ