หลายคนอาจคุ้นเคยกับคำว่า “ตรวจ MRI” (Magnetic Resonance Imaging) หรือที่เรียกว่าตรวจอุโมงค์แม่เหล็ก ซึ่งเป็นการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถูกต้องแม่นยำในการวินิจฉัยโรค แต่ก็ยังมีความเข้าใจผิดๆ ว่าการตรวจ MRI จะส่งผลเสียต่อร่างกาย และยังมีค่าใช้จ่ายที่อาจจ่ายไม่ไหวหากได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ให้ตรวจ MRI กะทันหัน บางคนอาจมีประกันชีวิตและสุขภาพ แต่อาจไม่ครอบคลุมมากพอจนต้องจ่ายส่วนต่าง แต่รู้หรือไม่ว่าการตรวจด้วย MRI มีข้อดีมากกว่าที่คิด เมืองไทยประกันชีวิตจึงมีข้อมูลมาฝากอีกเช่นเคย
เครื่อง MRI ทำงานโดยอาศัยการทำปฏิกิริยาของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นความถี่วิทยุ และอนุภาคโปรตอนที่อยู่ในส่วนประกอบของเนื้อเยื่อแต่ละชนิด ซึ่งจะทำให้ได้สัญญาณภาพและจะถูกเปลี่ยนเป็นภาพของอวัยวะภายในโดยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งการตรวจ MRI ใช้เวลาประมาณ 20 นาที ถึง 2 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับรอยโรคที่สงสัย และความร่วมมือของผู้ที่รับการตรวจ เช่น การตรวจเพื่อดูความผิดปกติของเนื้อสมองโดยรวม จะอยู่ที่ประมาณ 20-25 นาที แต่ถ้าต้องการตรวจดูหลอดเลือดด้วย เวลาที่ใช้ในการตรวจ ก็จะเพิ่มขึ้น อีก 15 นาที กรณีที่ตรวจเพื่อดูความผิดปกติของส่วนช่องท้อง จะใช้เวลาประมาณ 40-60 นาที
การตรวจด้วยเครื่อง MRI ไม่ทําให้เกิดอาการเจ็บปวดระหว่างตรวจอย่างที่หลายคนเข้าใจผิด และยังสามารถตรวจหาความผิดปกติได้แทบทุกอวัยวะ
CT scan (Computerized Tomography Scan) คือ การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตรวจอวัยวะภายในร่างกาย โดยอาศัยหลักการของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการสร้างภาพ สามารถให้รายละเอียดภาพที่คมชัด และสามารถตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ ได้อย่างดี และจากข้อดีของการตรวจ MRI ที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อเหมือนใน CT scan นั้น มาดูกันดีกว่า MRI และ CT Scan แตกต่างกันอย่างไร
1. CT scan ต้องใช้รังสี แต่ MRI ไม่ใช้รังสี
2. MRI เหมาะกับการตรวจเนื้อเยื่ออ่อน แต่ CT เหมาะกับการตรวจกระดูก
3. CT ใช้เวลาในการตรวจสั้นมาก MRI ต้องใช้เวลานานกว่า
4. สารเพิ่มความชัดของภาพ (contrast media) ที่ใช้แตกต่างกัน
- การตรวจ CT ต้องมีการฉีดสารทึบแสงให้กับผู้ป่วยเพื่อเพิ่มความชัดเจนของภาพ ซึ่งมีส่วนประกอบของไอโอดีน และมีโอกาสทำให้เกิดพิษกับไตได้
- การตรวจ MRI สารเพิ่มความชัดของภาพ จะเป็น Gadolinium ไม่มีไอโอดีนเป็นส่วนประกอบ จึงไม่ทำให้เกิดพิษกับไต
5. โลหะเป็นของต้องห้ามสำหรับ MRI
- การตรวจ MRI หากมีโลหะทั้งภายในและภายนอกร่างกายเข้าไปอยู่ในสนามแม่เหล็กอาจทำให้เกิดการเคลื่อนที่ และเป็นอันตรายได้
- ส่วนการตรวจ CT scan สามารถทำการตรวจในผู้รับการตรวจที่มีโลหะได้ เพียงแต่ภาพที่ได้อาจมีความเบลออยู่บ้าง
เมื่อทราบถึงข้อดีและประโยชน์ของการตรวจ MRI แล้ว หลายคนคงเบาใจขึ้นว่าไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย ที่สำคัญหากไม่อยากกังวลเรื่องค่ารักษา เมืองไทยประกันชีวิต ขอเสนอ สัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพแบบอีลิท เฮลท์ ที่คุ้มครองการตรวจวินิจฉัยแบบ MRI การรักษามะเร็งแบบจำเพาะเจาะจง Targeted Therapy แบบจ่ายตามจริงสูงถึง 20 - 100 ล้านบาทต่อปี คุ้มครองโรคร้ายแรงทุกระยะ โรคทั่วไป และโรคระบาด ยาวๆ ถึงอายุ 99 ปี(1) จ่ายเบี้ยเพียงเดือนละไม่เกิน 2,000 บาท(2) ให้คุณคลายกังวลทุกความเสี่ยงของเรื่องสุขภาพ
(1) ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยอายุ 30 ปี แผน 1 พื้นที่ความคุ้มครองประเทศไทย ชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
หมายเหตุ
ที่มา :
โรงพยาบาลพญาไท bit.ly/3octOsN, bit.ly/3luNAhw
โรงพยาบาลสินแพทย์ bit.ly/33xvGUY
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ bit.ly/3fTGXnJ
โรงพยาบาลกรุงเทพ bit.ly/3qle34N
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล bit.ly/3lFRNie