COPAYMENT มาตรฐานใหม่เพื่อความยั่งยืนของระบบประกันสุขภาพ
ทั่วโลก อัตราเงินเฟ้อด้านต้นทุนการดูแลสุขภาพ (Health Inflation)
เพิ่มขึ้นเร็วกว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ
ผู้บริโภค และประเทศไทยก็พบปัญหาเดียวกันนี้ เช่นในปี 2024 ที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อด้านสุขภาพอยู่ที่ 14.2%* ในขณะที่ในช่วงเวลาเดียวกัน อัตราเงินเฟ้อผู้บริโภคทั่วไปอยู่ต่ำกว่า 1%**
ดังนั้นหากไม่มีการจัดการอย่างเหมาะสมต้นทุน
การดูแลสุขภาพอาจกลายเป็นสิ่งที่ไม่สามารถรับมือได้ในอนาคต
อัตราเงินเฟ้อด้านต้นทุนการดูแลสุขภาพถูกผลักดันโดยปัจจัยหลายประการ เช่น อัตราการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ
(ซึ่งส่งผลต่อความถี่ในการใช้บริการสุขภาพ) การเข้าถึงการดูแลสุขภาพทั้งภาครัฐและเอกชนความก้าวหน้า
ทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ และการกำหนดราคาตลาดสำหรับการรักษาพยาบาล การร่วมมือกันจากทุกภาคส่วน
เป็นสิ่งจำเป็นในการแก้ไขปัญหาอัตราเงินเฟ้อด้านต้นทุนการดูแลสุขภาพ
ภาคธุรกิจประกันภัยมีบทบาทสำคัญในการช่วยด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงผ่านผลิตภัณฑ์ประกันภัย
ที่เหมาะสมครอบคลุมและช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายทางการรักษาที่จะเกิดขึ้นเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาล
ได้เมื่อเกิดความจำเป็น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องบริหารจัดการต้นทุนให้เหมาะสม
เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและการเข้าถึง
ประกันสุขภาพได้ในระยะยาว
* 2024 GlobalMedical Trends Survey report, WTW co
** Thai November headline inflation misses forecast, below c.bank target By Reuters
คำถามที่พบบ่อยกับ COPAYMENT
บริษัทประกันภัยจะมีหนังสือแจ้งล่วงหน้าก่อนครบชําระเบี้ยประกันภัยไม่น้อยกว่า 15 วัน
หากเกิดการเคลมภายหลังจากที่บริษัทได้ออกหนังสือแจ้งชําระเบี้ยประกันภัย และเข้าเงื่อนไข Copayment
บริษัทจะออกเอกสาร บันทึกสลักหลัง (Endorsement) เพื่อแจ้งรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงและเงื่อนไขเพิ่มเติมให้ผู้เอาประกันภัยทราบ
บริษัทประกันภัยจะพิจารณาเมื่อครบรอบปีกรมธรรม์ หากการเคลมของผู้เอาประกันภัยมีการปรับตัวลดลงตามเกณฑ์บริษัทประกันภัยจะยกเลิกการมีส่วนร่วมจ่าย Copayment
เงื่อนไข Copayment จะปรับเปลี่ยนได้เมื่อสถานการณ์การเคลมของแต่ละบุคคล โดยบริษัทจะพิจารณาทุกรอบปีกรมธรรม์
ไม่เกี่ยวกับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก (OPD) ใช้เฉพาะกับการรักษาแบบผู้ป่วยใน (IPD)
ลักษณะของ Simple Diseases:
· อาการไม่รุนแรง: อาการมักไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันในระยะยาว
· รักษาง่าย: การรักษามักไม่ซับซ้อน เช่น การใช้ยาสามัญประจำบ้านหรือวิธีการธรรมชาติ
· หายได้เอง: ในบางกรณีร่างกายสามารถฟื้นตัวได้เองโดยไม่ต้องพึ่งพาการรักษา
· พบได้บ่อย: เป็นโรคหรืออาการที่พบได้ทั่วไปในทุกเพศทุกวัย
ตัวอย่าง โรค Simple Disease
- ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน
- ไข้หวัดใหญ่
- ท้องเสีย
- เวียนศีรษะ
- ไข้ไม่ระบุสาเหตุ
- ปวดหัว
- กล้ามเนื้ออักเสบ
- ภูมิแพ้
- โรคกระเพาะอาหารอักเสบและกรดไหลย้อน
· อาการไม่รุนแรง: อาการมักไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันในระยะยาว
· รักษาง่าย: การรักษามักไม่ซับซ้อน เช่น การใช้ยาสามัญประจำบ้านหรือวิธีการธรรมชาติ
· หายได้เอง: ในบางกรณีร่างกายสามารถฟื้นตัวได้เองโดยไม่ต้องพึ่งพาการรักษา
· พบได้บ่อย: เป็นโรคหรืออาการที่พบได้ทั่วไปในทุกเพศทุกวัย
ตัวอย่าง โรค Simple Disease
- ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน
- ไข้หวัดใหญ่
- ท้องเสีย
- เวียนศีรษะ
- ไข้ไม่ระบุสาเหตุ
- ปวดหัว
- กล้ามเนื้ออักเสบ
- ภูมิแพ้
- โรคกระเพาะอาหารอักเสบและกรดไหลย้อน
ตัวอย่าง โรคร้ายแรง
ผ่าตัดใหญ่ คือ การผ่าตัดที่ต้องใช้ยาสลบ หรือ การบล็อคเฉพาะส่วน เช่น บล็อคหลัง บล็อคแขน บล็อคขา
ลำดับ | ชื่อโรค (ภาษาไทย) | ชื่อโรค (ภาษาอังกฤษ) |
---|---|---|
1 | โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ | Alzheimer’s disease |
2 | โรคโลหิตจางจากไขกระดูกไม่สร้างเม็ดโลหิต | Aplastic Anemia |
3 | โรคเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย | Bacterial meningitis |
4 | เนื้องอกในสมองชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง | Benign brain tumor |
5 | ตาบอด | Blindness |
6 | โรคมะเร็งระยะลุกลาม | Invasive Cancer |
7 | โรคกล้ามเนื้อหัวใจ | Cardiomyopathy |
8 | ตับวาย | Chronic Liver Disease / End-stage Liver disease / Liver failure |
9 | โรคหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรังขั้นรุนแรง / โรคปอดระยะสุดท้าย | Severe Chronic Obstructive Pulmonary Disease / End-stage Lung disease |
10 | ภาวะโคม่า | Coma |
11 | โรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่รักษาด้วยการสวนหลอดเลือดหัวใจ | Coronary Artery Disease requiring Angioplasty |
12 | การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ | Coronary Artery By-pass Surgery |
13 | กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด | Acute Heart Attack |
14 | การผ่าตัดลิ้นหัวใจโดยวิธีการเปิดหัวใจ | Open Heart Surgery for the Heart Valve |
15 | ไตวายเรื้อรัง | Chronic Kidney Failure |
16 | การสูญเสียการได้ยิน | Loss of Hearing |
17 | การสูญเสียการดำรงชีพอย่างอิสระ | Loss of independent living |
18 | การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง | Total and permanent disability – TPD |
19 | การสูญเสียความสามารถในการพูด | Loss of speech |
20 | แผลไหม้ฉกรรจ์ | Major burn |
21 | การบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง | Major Head Trauma |
22 | การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก | Major Organs Transplantation or Bone Marrow Transplantation |
23 | โรคของเซลล์ประสาทควบคุมการเคลื่อนไหว | Motor Neuron Disease |
24 | โรคระบบประสาทมัลติเพิล สะเคลอโรสิส | Multiple Sclerosis |
25 | โรคกล้ามเนื้อเสื่อม | Muscular Dystrophy |
26 | โรคไวรัสตับอักเสบขั้นรุนแรง | Fulminant Viral Hepatitis |
27 | โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ | Other serious Coronary Artery Diseases |
28 | อัมพาตของกล้ามเนื้อแขนหรือขา | Paralysis |
29 | โรคพาร์กินสัน | Parkinson’s Disease |
30 | โรคแรงดันในหลอดเลือดแดงปอดสูงแบบปฐมภูมิ | Primary Pulmonary Arterial Hypertension |
31 | ภาวะข้ออักเสบรูมาตอยด์ชนิดรุนแรง | Severe Rheumatoid Arthritis |
32 | โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน | Major Stroke |
33 | การผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้า | Surgery to Aorta |
34 | ไตอักเสบลูปูสจากโรคซิสเต็มมิค ลูปูส อิริเธมา โตซูส | Lupus Nephritis from Systemic Lupus Erythematosus |
35 | สมองอักเสบจากเชื้อไวรัส | Viral Encephalitis |
36 | ภาวะอะแพลลิก | Apallic Syndrome หรือ Vegetative State |
37 | โรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่ต้องรักษาโดยการผ่าตัด | Cerebral Aneurysm Requiring Brain Surgery |
38 | โรคหลอดเลือดสมองที่ต้องได้รับการผ่าตัดลอกหลอดเลือดแดงคาโรติด | Stroke Requiring Carotid Endarterectomy Surgery |
39 | การฉีกขาดของรากประสาทต้นแขน | Multiple root avulsions of Brachial Plexus |
40 | โรคโปลิโอ | Poliomyelitis |
41 | การผ่าตัดกระดูกสันหลังคดที่ไม่ทราบสาเหตุ | Surgery for Idiopathic Scoliosis |
42 | ภาวะตับอ่อนอักเสบที่กลับเป็นซ้ำและเรื้อรัง | Chronic Relapsing Pancreatitis |
43 | โรคเท้าช้าง | Elephantiasis |
44 | โรคถุงน้ำในไต | Medullary Cystic Disease |
45 | โรคเนื้อเยื่อพังผืดอักเสบติดเชื้อและเป็นเนื้อตาย | Necrotizing Fasciitis and Gangrene |
46 | โรคหนังแข็งชนิดลุกลาม | Progressive Scleroderma or Diffuse systemic sclerosis/scleroderma |
47 | โรคลำไส้อักเสบเป็นแผลรุนแรง | Severe Ulcerative Colitis or Crohn’s Disease |
48 | โรคมะเร็งระยะไม่ลุกลาม | Non-invasive cancer / Carcinoma in Situ |
49 | โรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่รักษาโดยใช้ขดลวดผ่านสายสวนทางหลอดเลือด | Cerebral Aneurysm Treatment by Endovascular Coiling |
50 | โรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการรักษาโดยวิธีใส่สายสวนเส้นเลือดแดงบริเวณคอ | Stroke Treatment by Carotid Angioplasty and Stent Placement |
ผ่าตัดใหญ่ คือ การผ่าตัดที่ต้องใช้ยาสลบ หรือ การบล็อคเฉพาะส่วน เช่น บล็อคหลัง บล็อคแขน บล็อคขา
กรณีการเข้าเงื่อนไข Copayment เนื่องจากเข้าเกณฑ์ Copayment (จำนวนการรักษาและอัตราการเคลมเกินกำหนด) จะไม่มีการลดเบี้ยประกันภัย
Copayment คือ ผู้เอาประกันภัยจะต้องมีส่วนร่วมจ่ายตามเปอร์เซ็นต์ของค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นตามที่ระบุไว้
Deductible คือ ผู้เอาประกันภัย ต้องรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลส่วนแรกตามจำนวนที่ระบุไว้ในแบบประกันภัย
Deductible คือ ผู้เอาประกันภัย ต้องรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลส่วนแรกตามจำนวนที่ระบุไว้ในแบบประกันภัย
ผู้เอาประกันภัยจะต้องจ่าย Deductible ส่วนแรกก่อน แล้วนำสิ่งที่เหลือ มาคำนวณ Copayment 30% หรือ 50% แล้วแต่กรณี