Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

แชร์เคล็ด(ไม่)ลับ เลือกประกันบำนาญ และออมเงินยังไงให้เวิร์ก?

แชร์เคล็ด(ไม่)ลับ เลือกประกันบำนาญ ลดหย่อนภาษี และออมเงินยังไงให้เวิร์ก?

เมื่อกล่าวถึงการเกษียณอายุ หลาย ๆ คนจะนึกถึง ประกันบำนาญ ซึ่งเป็นอีกทางเลือกสำหรับคนที่กำลังวางแผนการเงินสำหรับเตรียมไว้ใช้จ่ายในช่วงเกษียณอายุ เพราะเมื่อคนเราใช้ชีวิตอย่างเหน็ดเหนื่อยกับการทำงานมาหลายปี พอถึงช่วงเวลาหนึ่ง เชื่อว่าหลาย ๆ คน ก็ต้องการที่จะพักผ่อน และใช้ชีวิตในบั้นปลายอย่างสบายใจและมีความสุข การวางแผนเกษียณอายุด้วยการเลือกประกันชีวิตแบบบำนาญ ไม่ใช่เพียงแค่การเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับชีวิตหลังจากสิ้นสุดการทำงานเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างหลักประกันให้ตนเองและครอบครัวมีความมั่นคงในอนาคต สำหรับใครที่ต้องการทำความเข้าใจเกี่ยวกับประกันชีวิตรูปแบบนี้ ประกันบำนาญ คืออะไร? มีกี่แบบ บทความนี้ จะพาคุณมาหาคำตอบกัน พร้อมบอกต่อเคล็ดลับดี ๆ ในการออมเงินให้พอใช้ในวัยเกษียณ


1. ชวนรู้ ประกันบำนาญ คืออะไร?

2. ประกันบำนาญ มีกี่แบบ?

3. ประกันบำนาญ ลดหย่อนภาษีคู่กับอะไรได้บ้าง?

4. แนวทางวางแผนการเงินเพื่อใช้ในวัยเกษียณ


ประกันบำนาญ คืออะไร?


ชวนรู้ ประกันบำนาญ คืออะไร?


ประกันบำนาญ (ประกันเกษียณ) คือ ประกันชีวิตรูปแบบหนึ่ง ที่เน้นไปในด้านการออมเงิน โดยที่ผู้เอาประกันจะชำระค่าเบี้ยประกันต่อเนื่องตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ อาจเป็น 1 ปี, 5 ปี หรือ 10 ปี และจะเริ่มได้รับเงินบำนาญจากประกัน เมื่อมีอายุ 55 ปี (หรือ 60 ปี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขกรมธรรม์) ไปจนถึงอายุ 85 ปี, 90 ปี หรือ 99 ปี


หรือในกรณีที่ผู้เอาประกันเสียชีวิต บริษัทฯ ก็จะจ่ายเงินประกันให้กับผู้รับประโยชน์ (ตามที่ผู้เอาประกันได้ระบุไว้ในกรมธรรม์) เป็นเงินก้อนสำหรับแบ่งเบาภาระทางการเงินให้กับคนข้างหลัง


เรียกได้ว่า การมีประกันบำนาญ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของคนที่ต้องการวางแผนการเงิน เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตในอนาคต เพราะเมื่อถึงช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต คนเราก็ต้องการพักผ่อนสบาย ๆ หลังจากเหน็ดเหนื่อยกับภาระหน้าที่ต่าง ๆ มาเป็นเวลานาน การเลือกประกันเกษียณ จึงเป็นอีกตัวช่วยที่เพิ่มความอุ่นใจในการใช้ชีวิตได้


ประกันบำนาญ มีกี่แบบ?


ปัจจุบัน ประกันชีวิตแบบบำนาญ ถูกแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ



ประกันบำนาญแบบล็อกจำนวนงวดชำระเบี้ย


รูปแบบนี้ จะเป็นประกันบำนาญที่ล็อกจำนวนปีที่จ่ายเบี้ยประกัน เช่น จ่ายเบี้ยเป็นเวลา 1 ปี, 5 ปี, 10 ปี หลังจากนั้นประกันก็จะยังมีระยะเวลาคุ้มครองชีวิต ยาวไปจนถึงเวลาที่ผู้เอาประกันเกษียณอายุ และประกันจะเริ่มจ่ายเงินบำนาญให้กับผู้เอาประกันเมื่อมีอายุ 55 หรือ 60 ปี ไปจนถึงอายุ 85 หรือ 90 ปี



ประกันบำนาญแบบล็อกปีสุดท้ายที่ชำระเบี้ย


รูปแบบนี้ จะเป็นประกันบำนาญที่ให้ผู้เอาประกันชำระเบี้ยต่อเนื่องไปจนมีอายุตามที่กำหนดในกรมธรรม์ เช่น จ่ายเบี้ยถึงอายุ 55 หรือ 60 ปี หลังจากนั้น ประกันจะจ่ายเงินบำนาญให้กับผู้เอาประกัน ไปจนถึงอายุ 85 หรือ 90 หรือ 99 ปี ตามที่กำหนดในกรมธรรม์ โดยรูปแบบนี้จะเหมาะกับผู้ที่มีงบน้อย จึงต้องการทยอยออมเงินไปเรื่อย ๆ มากกว่าการลงเงินก้อนใหญ่


ประกันบำนาญ ลดหย่อนภาษี


ประกันบำนาญ ลดหย่อนภาษีคู่กับอะไรได้บ้าง?


ผู้ที่มีความคุ้มครองจากประกันบำนาญ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้จากประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถลดหย่อนเพิ่มเติมได้อีกจากปกติ 100,000 บาท เพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

เมื่อรวมกับ เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ เงินสะสมกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ เงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน (แล้วแต่กรณี) หรือ เงินหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ สามารถลดหย่อนเพิ่มเติมได้อีกไม่เกิน 500,000 บาท ในปีภาษีเดียวกัน


คำนวณเงินเพื่อใช้ในวัยเกษียณ


แนวทางวางแผนการเงินเพื่อใช้ในวัยเกษียณ


การเกษียณหมายถึงการสิ้นสุดรายได้ประจำจากการทำงาน ดังนั้น การวางแผนการเงินอย่างรอบคอบ จะช่วยให้มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต การเริ่มวางแผนตั้งแต่วันนี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดความกังวลในอนาคต แต่ยังเพิ่มโอกาสในการใช้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างเป็นอิสระและมั่นคง บทความนี้จะขอแนะนำแนวทางวางแผนการเงินเพื่อใช้ในวัยเกษียณ ดังต่อไปนี้


คำนวณเงินวางแผนเกษียณ ทำอย่างไร?


หลาย ๆ คนน่าจะมีช่วงเวลาที่ต้องการเกษียณอายุ อยู่ในใจกันแล้ว แต่ใครที่ยังไม่ได้คิดก็ลองคิดคร่าว ๆ ไว้ก่อน การกำหนดอายุที่ต้องการเกษียณ จะทำให้รู้ว่าเหลือระยะเวลาอีกกี่ปีในการวางแผนออมเงินเพื่อใช้ในช่วงเวลานั้น เมื่อรู้ระยะเวลาแล้ว ลำดับถัดมาคือการประเมินจำนวนเงินที่จำเป็นต้องใช้ เพื่อเก็บออมให้ได้ตามเป้าหมาย


บทความนี้มีสูตรง่าย ๆ ในการคำนวณจำนวนเงินสำหรับวัยเกษียณให้ลองไปคำนวณกัน


จำนวนเงินที่ควรมี
ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณต่อปี*  X  จำนวนปีที่คาดว่าจะใช้ชีวิตหลังเกษียณ


*วิธีประเมินค่าใช้จ่ายหลังเกษียณต่อปี = คิดเป็นจำนวน 70% ของค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน


เก็บออมเงิน บริหารรายรับ-รายได้ อย่างเป็นระบบ


หลังจากที่ทราบจำนวนเงินที่ต้องมีแล้ว ลำดับต่อมาให้เริ่มวางแผนเก็บออมเงินให้เป็นระบบ ประเมินช่วงเวลาคร่าว ๆ ว่าควรออมเงินเฉลี่ยเดือนละเท่าไร หรือปีละเท่าไร และจัดสรรรายได้-รายจ่าย ให้เป็นไปอย่างคล่องตัว


หากอยู่ในช่วงเริ่มต้นออมเงิน อาจเริ่มจากการเอารายได้ประจำมาเป็นหลัก หักค่าใช้จ่ายจำเป็นออก และออมเงิน 10% ของจำนวนเงินที่เหลือหลังจากนั้น ค่อย ๆ สะสมไปเรื่อย ๆ เมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้นก็ปรับจำนวนให้เพิ่มขึ้นตาม หรือมองหาแหล่งรายได้เสริม เพื่อหาเงินออมสมทบ


ลงทุนกับกองทุนต่าง ๆ


หากมีเงินเย็นอยู่จำนวนหนึ่ง แล้วต้องการหาช่องทางในการต่อยอดเงินที่มีให้งอกเงยมากขึ้น การลงทุนกับกองทุนต่าง ๆ ก็เป็นอีกช่องทางที่น่าสนใจ โดยในปัจจุบัน สถาบันการเงินหลายแห่งก็เริ่มมีการเปิดจำหน่ายกองทุนต่าง ๆ ให้คนได้เข้าไปร่วมซื้อ-ขายหน่วยลงทุนในกองทุนนั้น ๆ


โดยอาจเริ่มต้นจากการลงทุนกับกองทุนความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาล, กองทุนตราสารหนี้รัฐบาล, กองทุน LTF, กองทุนรวม RFM ฯลฯ เมื่อเริ่มมีความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนที่มากขึ้น อาจขยับไปลงทุนกับกองทุนความเสี่ยงสูง เช่น กองทุนรวมหุ้น, กองทุนรวมทองคำ, กองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์, กองทุนรวมน้ำมัน ฯลฯ


ติดตามข่าวสาร สถานการณ์ด้านการเงิน


เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันที่ยังดูไม่สู้ดีนัก อาจมีการผันผวนของค่าเงิน หรือภาวะเงินเฟ้อ ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของคนในประเทศ เพราะฉะนั้น ขอแนะนำให้หมั่นติดตามข่าวสารการเงิน สถานการณ์ตลาดลงทุน เพื่อปรับแผนการเงินให้ยืดหยุ่น เข้ากับสถานการณ์การเงินในปัจจุบันให้มากที่สุด


ทำประกันชีวิตแบบบำนาญ


การทำประกันชีวิตแบบบำนาญ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการออมเงิน สำหรับผู้ที่รู้สึกว่าขาดวินัยในการออมเงิน การออมเงินผ่านประกันบำนาญ พร้อมรับความคุ้มครองชีวิต เป็นวิธีที่ทำได้ง่ายและยังมั่นใจได้ว่าจะได้รับเงินผลประโยชน์กลับคืนมาใช้ในช่วงเวลาที่เกษียณอายุ เปรียบเหมือนการนำเงินไปฝากกับเพื่อนที่เชื่อถือได้ และเมื่อถึงเวลาที่กำหนด เงินที่ออมมาก็จะกลับคืนมาให้ใช้จ่ายได้อย่างสบายใจ เป็นการวางแผนสร้างความมั่นคงเพื่ออนาคตที่น่าสนใจอีกทาง สามารถเปรียบเทียบเบี้ยประกันบำนาญ แล้วเลือกแผนความคุ้มครองที่เหมาะกับตนเองได้เลย


ชีวิตหลังเกษียณอาจเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ทั้งด้านสุขภาพและการเงิน แต่การวางแผนตั้งแต่วันนี้สามารถช่วยลดความเสี่ยงเหล่านี้ได้ ประกันชีวิตแบบบำนาญเป็นหนึ่งในทางเลือกที่มีประสิทธิภาพในการออมเงิน เพื่อเป็นหลักประกันที่มั่นคงในวัยเกษียณ ให้คุณสามารถใช้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างสบายใจ ไม่เพียงแต่สร้างความมั่นใจให้กับตัวคุณเอง แต่ยังเป็นการดูแลครอบครัวและอนาคตของคุณในระยะยาวอีกด้วย


การมีคุณภาพชีวิตที่ดี คือการได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและสบายใจ ทั้งในตอนนี้ และในอนาคต การวางแผนสร้างความมั่นคงให้ชีวิต เป็นเรื่องสำคัญ หากคุณกำลังมองหาประกันบำนาญลดหย่อนภาษี หรือกำลังคิดอยู่ว่าจะเลือกประกันบำนาญที่ไหนดี ขอแนะนำประกันบำนาญจากเมืองไทยประกันชีวิต เฟล็กซี่ รีไทร์ 90/5


ต่อที่ 1 รับเงินบำนาญ สูงสุดปีละ 24%*  (เลือกรับบำนาญได้ตั้งแต่อายุ 55 ปี)
ต่อที่ 2 ลดหย่อนภาษีสูงสุด 300,000 บาท

✔ เลือกรับเงินบำนาญเป็นรายเดือน หรือรายปีได้
✔ รับเงินบำนาญทุกปี สูงสุดปีละ 24%* ยาวถึงอายุ 90 ปี 
✔ ปรับเปลี่ยนอายุเริ่มรับบำนาญได้ เมื่อจ่ายเบี้ยครบ 5 ปี 


🔥
ซื้อวันนี้! ผ่อนเบี้ย 0% สบาย ๆ สำหรับลูกค้าที่ซื้อกรมธรรม์ใหม่แบบรายปีเท่านั้น เฉพาะบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ

รายละเอียดเพิ่มเติม

☑️ โทร. 1766 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

☑️ สนใจติดต่อตัวแทนเมืองไทยประกันชีวิต หรือ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ทุกสาขา

*ผลประโยชน์เป็น % ของจำนวนเงินเอาประกันภัย ณ วันเริ่มมีผลคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย 

  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต และธนาคาร กำหนด
  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
  • สำหรับการลดหย่อนภาษีด้วยประกันแบบบำนาญสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาท โดยใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปก่อน หากเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปยังไม่มี หรือยังไม่เกิน 100,000 บาท ให้นำเบี้
  • ประกันชีวิตแบบบำนาญไปใช้สิทธิลดหย่อนให้เต็มจำนวน 100,000 บาท แล้วจึงนำเบี้ยประกันส่วนที่เหลือไปใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญสูงสุด 15 % ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย


ที่มา สืบค้น ณ วันที่  10/10/67

🔖กรมสรรพากร
🔖ธนาคารแห่งประเทศไทย
🔖ธนาคารกสิกรไทย
🔖ธนาคารกรุงไทย
🔖ธนาคารไทยพาณิชย์

สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าสนใจ