โรคปอดอักเสบ วิธีเช็คอาการ ปล่อยไว้นานระวังอันตราย!
สำหรับโรคปอดอักเสบ หลายคนอาจยังมองข้ามว่าไม่สำคัญเท่าไร แต่จากสถิติจำนวนผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ (Pneumonia) ปี 2566 ที่กระทรวงสาธารณสุขรายงานนั้น มีจำนวนทั้งสิ้น 251,631 ราย สูงขึ้นถึง 30% จากปีที่ 2565 ยิ่งป่วยขึ้นมา แล้วปล่อยไว้นานกว่าจะรักษา อาการปอดอักเสบ หากปล่อยไว้ไม่รักษา อาจทำให้เสียชีวิตได้ มาเตรียมตัวพร้อมวิธีเช็คอาการปอดอักเสบเบื้องต้น หรือป่วย โรคปอดอักเสบ ติดต่อกันไหม แล้วโรคปอดอักเสบกับปอดบวมเป็นโรคเดียวกันหรือไม่ ตามมาหาคำตอบไปพร้อมกันเลย
1. โรคปอดอักเสบ สาเหตุ
สำหรับโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ (pneumonia) หรือที่หลายคนเรียกกันว่า ปอดบวม เป็นชนิดของปอดอักเสบที่พบได้บ่อยที่สุด เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ปอด จะทำให้เกิดการอักเสบของถุงลมปอดและเนื้อเยื่อโดยรอบ สาเหตุของโรคปอดอักเสบ เกิดได้จาก 2 สาเหตุ ดังนี้
1. ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ
- เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด
- ชนิดของเชื้อที่ติดเชื้อจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น กลุ่มอายุ อาชีพ โรคประจำตัว ภาวะภูมิคุ้มกัน ประวัติการเดินทาง การสูบบุหรี่ และสภาพแวดล้อม
- เชื้อที่พบบ่อย ได้แก่ เชื้อไวรัส คือ RSV, ไข้หวัดใหญ่, โคโรนา เชื้อแบคทีเรีย เช่น Streptococcus Pneumoniae, Haemophilus Influenzae, Atypical bacteria และเชื้อราที่พบได้น้อย
2. ปอดอักเสบจากการไม่ได้ติดเชื้อ
- เกิดจากสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น ฝุ่น ควัน สารเคมีที่ระเหยได้
- สาเหตุอื่น ๆ อย่างยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัด ยาควบคุมการเต้นของหัวใจยาบางชนิด
2. โรคปอดอักเสบ อาการ
อย่างที่รู้กันไปแล้วว่าโรคปอดอักเสบเกิดได้จาก 2 สาเหตุ แต่ก็มีอาการใกล้เคียงกัน ที่สำคัญ
โรคปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ สามารถติดต่อได้ง่ายจึงเป็นชนิดที่พบได้มากกว่าโรคปอดอักเสบจากการไม่ติดเชื้อ สำหรับวิธีตรวจอาการปอดอักเสบด้วยตนเอง สามารถสังเกตอาการได้ ดังนี้
- มีไข้สูงและหนาวสั่น อาการนี้เป็นสัญญาณทั่วไปของการติดเชื้อ หากมีไข้สูงและหนาวสั่นร่วมด้วย แสดงว่าการติดเชื้ออาจลุกลามไปที่ปอด
- ชีพจรเต้นเร็วกว่า 100 ครั้งต่อนาที เป็นสัญญาณว่าร่างกายกำลังต่อสู้กับการติดเชื้อ หากมีอาการนี้ควรรีบไปพบแพทย์
- เจ็บหน้าอก แสดงว่าการติดเชื้อในปอดอาจรุนแรงมากขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
- ไอมีเสมหะ เป็นสัญญาณของการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
- เสมหะมีเลือดปน แสดงว่ามีเลือดออกในปอด ซึ่งอาจเกิดจากโรคปอดอักเสบ
- หายใจลำบากเป็นสัญญาณอันตรายของโรคปอดอักเสบ แสดงว่าปอดไม่สามารถรับออกซิเจนได้เพียงพอ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
3. โรคปอดอักเสบ วิธีรักษา
การรักษาโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ มีทางเลือกในการรักษาหลายวิธี ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อ สาเหตุ และความรุนแรงของโรค ดังนี้
การรักษาการติดเชื้อด้วยยาปฏิชีวนะ
ซึ่งใช้สำหรับกรณีที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทําให้เชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น Streptococcus pneumoniae ดื้อยาเพิ่มมากขึ้น
การรักษาตามอาการ
สำหรับคนที่ป่วยโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส และเชื้ออื่น ๆ แพทย์จะพิจารณาการรักษาตามอาการด้วยการให้ยาลดไข้ ยาขยายหลอดลม ยาละลายเสมหะ สารน้ำทางหลอดเลือดดำ (กรณีอาการรุนแรง) การให้ออกซิเจน (กรณีอาการรุนแรง) หรือกายภาพบำบัดทรวงอก (กรณีอาการรุนแรง)
การรักษาภาวะแทรกซ้อน
ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยได้แก่ เชื้อแบคทีเรียแพร่กระจายจากปอดเข้าสู่กระแสเลือดทำให้อวัยวะอื่น ๆ ติดเชื้อไปด้วย บางรายอาจพบฝีในปอด หรือภาวะมีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด
โรคปอดอักเสบ หายเองได้ไหม
หากป่วยเป็นปอดอักเสบ อาการปอดติดเชื้อมักไม่รุนแรงและหายได้เอง แต่บางคนอาจมีอาการรุนแรงจนเป็นอันตรายถึงชีวิต ยิ่งในคนที่มีอาการปอดติดเชื้อ ส่วนมากจะมีอาการร้ายแรงและจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างทันท่วงที
โรคปอดอักเสบ ห้ามกินอะไร
- งดชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- งดอาหารรสจัด หรือมีกลิ่นฉุด เพราะอาจกระตุ้นการไอหรือจามได้
- งดของทอดเพราะอาจทำให้คันคอ หรือรู้สึกเลี่ยนจนอาเจียนได้
- งดของหมักดอง
โรคปอดอักเสบ กับ วัณโรค ต่างกันอย่างไร
บางคนอาจยังสับสนว่าระหว่างโรคปอดอักเสบกับวัณโรค มีอาการคล้ายหรือแตกต่างกันอย่างไร เพราะจัดเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเหมือนกัน ซึ่งทั้ง 2 โรคนี้มีอาการแตกต่างกันโดยสามารถสังเกตได้ตามนี้
- อาการปอดอักเสบไอมีเสมหะ เจ็บหน้าอกเวลาไอหรือหายใจ มีไข้ เหงื่อออก หนาวสั่น หายใจเร็ว หอบเหนื่อย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ เบื่ออาหาร อาเจียน
- อาการวัณโรค ไอมีเสมหะมีเลือดปน ไอเรื้อรัง มีไข้ต่ำ ๆ เรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ ผิวหนังซีดเหลือง มีเหงื่อออกในตอนกลางคืน
อาการของทั้ง 2 โรคมีความคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมาก หากเริ่มมีอาการแล้วไม่มั่น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อจะได้รับการวินิจฉัยและรักษาได้ตรงโรค
4. โรคปอดอักเสบ ติดต่อไหม
อย่างที่บอกว่าโรคปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ สามารถติดต่อกันได้หลายทาง ดังนี้
- การไอ จาม หรือหายใจรดกัน
- การสำลัก เช่น สำลักน้ำลาย อาหาร หรือสารคัดหลั่งในทางเดินอาหาร
- การแพร่กระจายของเชื้อตามกระแสโลหิต
- การลุกลามจากการติดเชื้อที่อวัยวะข้างเคียงปอด
- การทำหัตถการบางอย่างในโรงพยาบาล ที่มีการปนเปื้อนหรือไม่ได้ทำความสะอาด
ใครเสี่ยงโรคปอดอักเสบ
- ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางภูมิคุ้มกัน เช่น ผู้ติดเชื้อ HIV, ผู้ป่วยโรคเอดส์, ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยมะเร็
- ระหว่างการให้เคมีบำบัด หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกันเป็นเวลานาน
- ผู้มีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจ
- เป็นโรคหอบหืด สูบบุหรี่เป็นประจำ
- ผู้ที่สัมผัสกับสารก่อการระคายเคืองต่อปอดเป็นประจำ เช่น มลพิษทางอากาศและควันพิษ
- ผู้ที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แออัด
- ผู้ที่ใช้ยาหรือดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ซึ่งจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง
5. โรคปอดอักเสบ วิธีป้องกัน
โรคปอดอักเสบเป็นโรคที่คนไทยป่วยกันเยอะมาก ที่สำคัญหากอาการรุนแรงก็มีความเสี่ยงถึงชีวิตได้ ดังนั้นมาป้องกันตัวเองให้ห่างไกลโรคปอดอักเสบนตั้งแต่เนิ่น ๆ ไว้ดีกว่าทำตามวิธีนี้ได้เลย
- งดสูบบุหรี่
- หมั่นล้างมือเป็นประจำ และหลีกเลี่ยงการไปอยู่ในที่ที่มีผู้คนหนาแน่น
- หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ควันไฟ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์
- เมื่อเป็นหวัด หรือไข้หวัดใหญ่อย่าปล่อยทิ้งไว้ ควรรักษาให้หายขาดแต่เนิ่น ๆ
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
- กินอาหารที่มีประโยชน์ ให้ครบ 5 หมู่
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ไม่ดื่มสุรามากจนมึนเมาเพราะอาจสำลักเอาเชื้อโรคจากปากเข้าปอด
เซฟตัวเองให้ห่างไกลโรคปอดอักเสบไว้ ด้วยการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และอย่าลืมตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี พร้อมวางแผนเสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพจากเมืองไทยประกันชีวิต #เพราะชีวิตทุกวัยมันเจ็บป่วย ป่วยเล็กป่วยใหญ่ ช่วงวัยไหนก็ป่วยได้ไม่ช็อตฟีล
ปล่อยจอยค่ารักษาเพราะมีประกันสุขภาพดูแลให้แบบเหมา ๆ ตั้งแต่ 2 แสน - 100 ล้านบาท
✅ Elite Health Plus คุ้มครองค่ารักษา 20-100 ล้านบาทต่อปี ครอบคลุมเทคโนโลยีการรักษา ดูแลให้ทั้ง IPD และ OPD(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 157 บาท(2)
✅ D Health Plus คุ้มครองค่ารักษา 5 ล้านบาท(3) นอนห้องเดี่ยวมาตรฐานทุก รพ. เบี้ยวันละไม่ถึง 38 บาท(4)
✅ เหมาจ่าย Extra แอดมิตเข้า รพ. ดูแลค่ารักษาเหมาจ่าย 5 แสนบาท(5) เบี้ยวันละไม่ถึง 42 บาท(6)
รายละเอียดเพิ่มเติม
☑️ โทร.1766 ตลอด 24 ชั่วโมง
☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต
(1) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 40, 75 หรือ 100 ล้านบาท
(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยอายุ 50 ปี แผน 20 ล้านบาท พื้นที่ความคุ้มครองประเทศไทย และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
(3) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 5 ล้านบาท โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาครั้งใดครั้งหนึ่ง
(4) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง อายุ 34 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท มีความรับผิดส่วนแรก 30,000 บาท ต่อการเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง (แผน Top Up ความคุ้มครอง) และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
(5) สำหรับแผนความคุ้มครอง 3 โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง
(6) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง 34 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 3 และชำระเบี้ยประกันรายปี
- เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
- สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
- ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
- เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
- เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต กำหนด
- การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
- โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 10/07/67
🔖 ไทยโพสต์