เคลียร์ชัด! มีโรคประจำตัวทำประกันได้ไหม ทำแล้วคุ้มครองอะไรบ้าง?
ในปัจจุบัน โรคประจำตัวกลายเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยขึ้น หลายคนจึงมองหาทางเลือกในการช่วยดูแล ซึ่งประกันสุขภาพมีบทบาทสำคัญในการช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย และสามารถเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพได้ และทำให้คุณสามารถวางแผนอนาคตได้ แต่บางคนอาจยังมีข้อสงสัยว่ามีโรคประจำตัวทำประกันได้ไหม? ทำแล้วจะคุ้มครองอะไรได้บ้าง บทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจ และหาคำตอบเกี่ยวกับข้อยกเว้นในการคุ้มครอง แบบเข้าใจง่าย ๆ
ยาวไปเลือกอ่านตามหัวข้อได้นะ
1. มีโรคประจำตัว ทำประกันสุขภาพได้ไหม?
2. โรคที่ประกันไม่คุ้มครอง มีอะไรบ้าง
1. มีโรคประจำตัว ทำประกันสุขภาพได้ไหม?
สำหรับผู้ที่มีคำถามเรื่องของการมีโรคประจำตัว ทำประกันสุขภาพได้ไหม คำตอบคือ มีทั้งกรณีที่สามารถทำได้ตามปกติ และไม่สามารถทำได้ในกรณีที่ลูกค้าเป็นโรคที่ถูกยกเว้นการคุ้มครองตามเงื่อนไขของบริษัท โดยแบ่งออกเป็นกรณีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
โรคประจำตัวทั่วไป ทำประกันสุขภาพได้ไหม?
กรณีที่ลูกค้ามีอาการของโรคประจำตัวที่ยังไม่ได้ถูกรักษาให้หายขาด หรือยังคงแสดงอาการแบบเป็น ๆ หาย ๆ ตามสุขภาพร่างกาย ณ ขณะนั้น แต่เป็นโรคประจำตัวแบบทั่วไป ที่ไม่ได้มีอาการรุนแรง สามารถดูแลตามอาการและใช้ชีวิตตามปกติได้ กรณีนี้ ถ้าถามว่ามีโรคประจำตัว ทำประกันได้ไหม ทางผู้เอาประกันอาจต้องชำระเบี้ยประกันเพิ่มในส่วนของความเสี่ยงภัยจากโรคประจำตัว หรือได้รับการยกเว้นความคุ้มครองจากประกัน กล่าวคือประกันจะไม่ได้จ่ายวงเงินคุ้มครองกรณีเจ็บป่วยจากอาการของโรคนั้น ๆ
โรคที่เป็นมาก่อนทำประกัน ประกันสุขภาพคุ้มครองไหม?
กรณีนี้ใกล้เคียงกับข้อแรก สำหรับหลายท่านที่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ กล่าวคือ เป็นโรคก่อนการทำประกัน แต่รักษาหายขาดแล้ว และต้องการทำประกันสุขภาพเพื่อรับการดูแลในส่วนอื่น ๆ สามารถทำได้ แต่จะยกเว้นการจ่ายเงินคุ้มครองหากมีปัญหาสุขภาพหรือภาวะแทรกซ้อนอันเนื่องมาจากโรคนั้น ๆ สำหรับบางโรคที่เพิ่งรักษาหายมาเป็นเวลาไม่นาน ก็ยังมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำ อย่างไรก็ตาม ทางประกันจะพิจารณาเป็นกรณีไป ขึ้นอยู่กับลักษณะของโรค และสภาพร่างกายของผู้ทำประกัน ณ เวลานั้น
ในส่วนของโรคที่ประกันไม่คุ้มครอง จะอธิบายในลำดับต่อไป
2. โรคที่ประกันไม่คุ้มครอง มีอะไรบ้าง
นอกเหนือจากเรื่องของโรคประจำตัวแล้ว ยังมีบางโรคที่เป็นข้อยกเว้น เมื่อต้องการทำประกันสุขภาพ ซึ่งโรคที่ประกันไม่คุ้มครอง มีดังต่อไปนี้
โรคที่เป็นมาก่อนทำประกัน และยังไม่หาย
เช่น โรคกระเพาะอักเสบ, ริดสีดวงทวาร, ปอดอักเสบ, ทอนซิลอักเสบ, โรคความดัน, เบาหวาน ฯลฯ ซึ่งโรคเหล่านี้มักจะมีโอกาสเป็นซ้ำหรือมีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มเข้ามา แต่ในกรณีที่บางโรคหายแล้ว และมีอายุกรมธรรม์อายุ 1 ปีขึ้นไป สามารถยื่นให้ทางบริษัททบทวนเงื่อนไขการคุ้มครองได้
โรคที่เป็นมาก่อนแต่ปกปิดข้อมูล
ผู้เอาประกันบางคนมีเจตนาปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับอาการป่วยของตนเอง รวมทั้งรายละเอียดของโรคที่เป็นมาก่อนทำประกัน หากทางบริษัทตรวจพบว่ามีการให้ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับประวัติสุขภาพ ก็จะถูกยกเว้นการจ่ายเงินคุ้มครองกรณีที่แสดงอาการของโรคนั้น ๆ
โรคทางจิตเวช
อาการของโรคทางจิตเวช โรคทางระบบประสาทจิตเวช ปัญหาสุขภาพจิตต่าง ๆ เช่น โรคซึมเศร้า, ไบโพลาร์ ประกันจะไม่ครอบคลุมอาการของโรคเหล่านี้ ยกเว้นบางแผนความคุ้มครอง (พิจารณาเป็นกรณี)
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ผู้เอาประกันที่มีอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรณีที่เป็นมาก่อนทำประกัน จะถูกยกเว้นความคุ้มครอง แต่กรณีที่เพิ่งเป็นหลังจากทำประกันสุขภาพไปแล้ว จะไม่ได้มีการยกเลิกสัญญา แต่ประกันจะไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรักษาและค่าดูแลเกี่ยวกับสภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เกิดจากโรคนั้น ๆ
ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาความผิดปกติของสายตา
การรักษาความผิดปกติทางสายตา เช่น การทำเลสิก, อุปกรณ์เพื่อช่วยในการมองเห็น จะถูกยกเว้นความคุ้มครอง
ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาทันตกรรม
การรักษาในด้านทันตกรรม เช่น ถอนฟัน, อุดฟัน, จัดฟัน, ทำฟันปลอม, ทำรากฟันเทียม ประกันจะไม่คุ้มครองค่ารักษาส่วนนี้ ยกเว้นในกรณีจำเป็นที่ต้องรักษาฟันเนื่องจากบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ แต่จะไม่รวมค่าอุปกรณ์ครอบฟัน, รากฟันเทียม
โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากการตั้งครรภ์
ค่าใช้จ่ายในการรักษาเกี่ยวเนื่องกับการตั้งครรภ์ เช่น การแท้งบุตร, คลอดบุตร, โรคแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์, การคุมกำเนิด-ทำหมัน, เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ประกันจะไม่คุ้มครองค่ารักษาส่วนนี้
โรคที่แสดงอาการในระยะเวลารอคอย
เมื่อทำประกันสุขภาพ จะมีสิ่งที่เรียกว่า ระยะเวลารอคอย (Waiting Period) มีทั้ง 30 วัน, 90 วัน และ 120 วัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบความคุ้มครอง หากเกิดอาการของโรคหรือเจ็บป่วยใด ๆ ในระหว่างช่วงระยะเวลารอคอย ทางประกันจะยังไม่จ่ายเงินคุ้มครอง
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ >> โรคที่ประกันไม่คุ้มครอง
3. คนพิการ ทำประกันได้ไหม?
นอกจากคำถามที่ว่า คนมีโรคประจำตัว ทำประกันสุขภาพได้ไหม? ก็ยังมีเรื่องของ คนพิการ ทำประกันได้ไหม? สำหรับความพิการอันเป็นภาวะผิดปกติที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด หรือโรคทางพันธุกรรม ทางประกันจะยกเว้นการจ่ายเงินคุ้มครองในส่วนนี้ เว้นแต่ว่า สัญญาประกันนี้มีผลคุ้มครองมามากกว่า 1 ปี ทางประกันอาจทบทวนเงื่อนไขความคุ้มครองได้ รวมทั้งกรณีที่มีการปรากฎอาการผิดปกติดังกล่าวหลังจากผู้เอาประกันอายุครบ 16 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
การดูแลสุขภาพเมื่อมีโรคประจำตัวไม่ใช่เพียงแค่การรักษาอาการ แต่เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการดูแลตนเองในระยะยาว การรับประทานอาหารที่เหมาะสม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อน หากมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ดี ก็จะช่วยลดความกังวลเกี่ยวกับเรื่องของการมีโรคประจำตัว ทำประกันได้ไหม? หากผู้เอาประกันมีประวัติทางสุขภาพที่ดี ก็มีโอกาสที่จะได้รับการดูแลที่ดียิ่งขึ้น และจ่ายเบี้ยในราคาที่คุ้มค่ากว่าอีกด้วย
แม้โรคประจำตัวจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ในบางกรณี แต่ด้วยความเข้าใจและการดูแลอย่างถูกต้อง คุณสามารถมีชีวิตที่มีคุณภาพและสมดุลได้ การเพิ่มตัวช่วยในการดูแล และเติมความอุ่นใจด้วยประกันสุขภาพ เป็นอีกทางเลือกที่แอดอยากแนะนำ เพราะการดูแลสุขภาพที่ดีเป็นรากฐานสำคัญของชีวิตที่ยืนยาวและมีความสุข
- โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
ที่มา สืบค้น ณ วันที่ 15/01/68