รู้จัก Toxic Relationship หรือความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ
Toxic Relationship หรือ ความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกความสัมพันธ์ ไม่ว่าจะจากครอบครัว การทำงาน หรือความรัก ผ่านพฤติกรรม คำพูด และทัศนคติที่บั่นทอนจิตใจจนทำให้เกิดความทุกข์ในชีวิต สร้างความเสียหายทางจิตใจ และร่างกาย ซึ่งความสัมพันธ์แบบ Toxic จะมีแบบไหนบ้าง เราต้องทำอย่างไรถึงจะหลุดพ้นออกจากความสัมพันธ์รอบ ๆ ตัว ทั้งจากแฟน toxic เพื่อน toxic และวิธีแก้ไข Toxic Relationship มาดูกัน
- Toxic Relationship คืออะไร
- สัญญาณบ่งบอกว่าคุณกำลังอยู่ในความสัมพันธ์แบบ Toxic?
- วิธีป้องกันไม่ให้เกิด Toxic Relationship
- เตรียมรับมือกับ Toxic People อย่างไร
Toxic Relationship คืออะไร
Toxic Relationship หรือความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ คือ ความสัมพันธ์ที่ส่งผลเสียต่อจิตใจ อารมณ์ หรือสุขภาพกายของผู้เกี่ยวข้อง ความสัมพันธ์ที่เป็นพิษสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคนรัก Toxic เพื่อน Toxic ครอบครัว Toxic หรือเพื่อนร่วมงาน สัญญาณเตือนของความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ ได้แก่
- การถูกควบคุม หรือเอาเปรียบ
- การถูกวิพากษ์วิจารณ์ หรือดูถูก
- การถูกทำร้าย ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ
- การถูกทำให้รู้สึกไร้ค่า หรือไร้ความสามารถ
- การถูกทำให้รู้สึกโดดเดี่ยว หรือถูกทอดทิ้ง
ความสัมพันธ์เป็นพิษสามารถส่งผลกระทบต่อผู้เกี่ยวข้องได้หลายด้าน เช่น
- ทำให้เกิดความรู้สึกแย่กับตัวเอง รู้สึกไร้ค่า รู้สึกต่ำต้อย
- ทำให้เกิดความเครียด ความวิตกกังวล และความซึมเศร้า
- ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพกาย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง นอนไม่หลับ
- ทำให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์อื่น ๆ เช่น การทะเลาะเบาะแว้ง การแยกทาง
- หากพบว่าตัวเองกำลังอยู่ในความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ ควรพิจารณาหาทางออกจากความสัมพันธ์นั้น โดยอาจพูดคุยกั
- คู่ความสัมพันธ์เพื่อหาวิธีแก้ไข หรือขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต
โดยความสัมพันธ์แบบ Toxic ถือเป็นขั้วตรงข้ามของ Healthy relationship ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่มีการสนับสนุนกัน และกันในทางที่ดี ซึ่งหากมีความสัมพันธ์ที่แข็งแรงจะสามารถประนีประนอม และให้อภัยกันได้ แม้จะคิดเห็นไม่ตรงกันในบางเรื่อง มีความพยายามในการทำความเข้าใจซึ่งกัน และกัน พยายามพูดคุยสื่อสารกัน ทำให้การอยู่ร่วมกันเป็นเรื่องที่สบายใ จและปลอดภัย และเป็นรากฐานของการมีความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน และมั่นคง
สัญญาณบ่งบอกว่าคุณกำลังอยู่ในความสัมพันธ์แบบ Toxic?
อย่างที่ได้กล่าวไปว่าสัญญาณบ่งบอกว่าคุณกำลังอยู่ในความสัมพันธ์แบบ Toxic มีหลายประการ สัญญาณเหล่านี้อาจแตกต่างกันไปตามรูปแบบความสัมพันธ์ของเรา เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างคนรัก เพื่อน ครอบครัว หรือเพื่อนร่วมงาน ซึ่งสามารถสังเกตุสัญญาณ Toxic Relationship ได้ดังนี้
- ขาดการสนับสนุน ไม่รู้สึกว่าได้รับกำลังใจ รู้สึกว่าเขาไม่ใช่เซฟโซนอีกต่อไป
- บทสนทนามีแต่จะเสียดสี และถ้อยคำถากถาง
- ความหึงหวงเกินเหตุ แม้กับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ
- การควบคุม กดขี่ บังคับ ละเมิดสิทธิ
- ความเจ้าคิดเจ้าแค้น ไม่ปล่อยวางกับเรื่องราวในอดีต
- ความไม่ซื่อสัตย์ โกหก ไม่พูดความจริงเพราะกลัวผลลัพธ์ที่จะตามมา
- การละเลย หรือเพิกเฉย
- ขัดแย้งเรื่องการเงินบ่อยครั้ง
- มีความเครียดสะสมจากความสัมพันธ์
- ความต้องการของคุณถูกละเลย
- สูญเสียความสัมพันธ์อื่น ๆ อย่างเพื่อน หรือครอบครัว เพราะกลัวรักษาเขาไว้ไม่ได้
- ไม่รักตัวเอง
- จมอยู่กับความหวังลม ๆ แล้ง ๆ ที่อยากจะกลับไปเหมือนตอนที่ความสัมพันธ์ยังหอมหวานกว่านี้
- ต้องระมัดระวังคำพูด หรือการกระทำตลอดเวลา จนไม่เป็นตัวเอง
วิธีป้องกันไม่ให้เกิด Toxic Relationship
เมื่อแก้ที่คนอื่นไม่ได้ ก็ต้องมาปรับ หรือป้องกันตัวเองไม่ให้เกิด Toxic Relationship ซึ่งสามารถลองปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ดังนี้
- สังเกตพฤติกรรมตัวเองอยู่เสมอเมื่อไรที่เผลอมีพฤติกรรม Toxic จาก ทัศนคติ หรือปฏิกิริยาโต้ตอบที่ไม่น่ารัก ควรเช็กตัวเองเพื่อทำความเข้าใจผลกระทบที่อาจมีต่อผู้อื่น การทบทวนพฤติกรรมการแสดงออกของตัวเองเป็นประจำสามารถทำให้มีสติมากขึ้น
- ฝึกตัวเองให้มี Empathy จะช่วยให้คุณเข้าใจความรู้สึกและมุมมองของผู้อื่นในเชิงบวกมากขึ้น
- พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ช่วยบรรเทาความเครียด และความฉลาดทางอารมณ์จะช่วยให้สามารถควบคุมอารมณ์และการแสดงออกได้ดีขึ้น รวมถึงลดพฤติกรรมท็อกซิกได้
- รู้จักเคารพขอบเขตของผู้อื่น ต้องเข้าใจว่าเมื่อใดควรปฏิเสธ เมื่อใดควรใช้เวลาส่วนตัว และเมื่อใดควรหลีกเลี่ยง หรือพฤติกรรมบางอย่างที่ก้าวร้าวที่อาจจะนำไปสู่ความไม่พอใจระหว่างความสัมพันธ์
- ขอคำแนะนำจากนักจิตวิทยา จิตแพทย์ หากจำเป็น เพราะบางครั้งต้นตอของพฤติกรรม Toxic อาจฝังลึกเป็นปมมานาน ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับบาดแผลในอดีต หรือปัญหาที่ยังไม่ได้แก้ไข การขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญอาจเป็นประโยชน์
เตรียมรับมือกับ Toxic People อย่างไร
คน Toxic เปรียบได้กับสารเคมี ถ้าอยู่ด้วยเป็นเวลานานร่างกายก็จะได้รับสารพิษเหล่านี้ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อสภาพจิตใจ และความสัมพันธ์ ดังนั้นเราเตรียมพร้อมรับมือกับพฤติกรรมของคนเหล่านี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิด Toxic Relationship
- รักษาระยะห่างจากคนเหล่านั้น ถ้ารู้ว่าคนเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น เพื่อนร่วมงาน คนใกล้ชิด ใครสักคนในครอบ เป็นพิษต่อตัวคุณถ้าสามารถจะเลี่ยงการพบปะได้ก็ควรที่จะทำ ถ้าจำเป็นที่จะต้องสื่อสารกันอาจลองเปลี่ยนมาเป็นการใช้เครื่องมือสื่อสารแทนการพบปะตัวต่อตัวกันตรง ๆ
- ควบคุมอารมณ์ของเราเอง เมื่อแก้ปัญหาที่ต้นตอไม่ได้ ลองหันกลับมาจัดการที่ตัวเองดู ค่อย ๆ ปรับอารมณ์โดยวิธีควบคุมลมหายใจอย่างช้า ๆ แล้วค่อย ๆ ผ่อนคลายอารมณ์ให้เบาลง
- เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น ปล่อยให้พวกเขาพูดให้จบไม่ไปขัดการแสดงความคิดเห็น เพราะบางครั้งเราอาจจะไม่ชอบที่เขาพูดไม่ดีในครั้งก่อน ๆ เลยเป็นภาพจำของเราว่าเขาเป็นคน Toxic ให้ลองเปิดโอกาสให้เขา และเมื่อเขาพูดจบค่อยถามเพิ่มเติมจากที่เขาต้องการจะสื่อสารกับเรา
- ไม่บังคับ หรือพยายามเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เกิดขึ้น ในบางครั้งก็ต้องมองย้อนกลับมาที่ตัวเองด้วยว่า เรารึเปล่าที่ทำให้เกิดความ Toxic อย่างเช่นเพื่อนร่วมงานของคุณกำลังเครียดกับงานที่ทำอยู่แล้วต้องอยู่ในสภาวะการกดดันจากหัวหน้างานแล้วตัวคุณไปพูดให้เขาลองทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อนผ่อนคลายความเครียด แต่หารู้ไม่ ความหวังดีเหล่านั้นอาจกลายเป็นการบังคับให้ทำแทนจึงทำให้เขาแสดงพฤติกรรม Toxic ออกมาให้เห็น
- อย่าหลงกลความ Toxic หากคุณโดนแสดงพฤติกรรม Toxic ใส่ ไม่จำเป็นต้องทำกลับ การรู้ทันความรู้สึก ความคิด และพฤติกรรมของตัวเองสามารถช่วงหลีกเลี่ยงการเป็นคน Toxic เองได้ ถ้าหากมีความรู้สึกที่เริ่มจะเป็นลบลองคิดว่า ถ้าหากทำผิดไปแล้วความรู้สึกจะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้
สุดท้ายการหลุดพ้นจาก Toxic Relationship โดยการเริ่มจากตัวเราเอง สำรวจพฤติกรรม ทัศนคติต่าง ๆ ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความ Toxic หรือไม่ หรือเรากำลังอยู่กับบุคคลเป็นเหล่านี้ ซึ่งไม่ดีต่อสุขภาพจิต ก็พยายามดึงตัวเองให้ออกห่างพลังลบ และเติมพลังบวกเข้าสู่ร่างกายเพื่อทดแทนส่วนที่สึกหรอจากสารพิษที่ไม่ดี เพราะหากเราสะสมพลัง Toxic ไว้ในร่างกายมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้เราเครียดมากเท่านั้น และอาจจะส่งผลให้มีความเสี่ยงเกิดโรคร้ายแรงเหล่านี้กับร่างกายได้
- โรคแผลในกระเพาะอาหาร : ความเครียดส่งผลให้กระเพาะหลั่งน้ำย่อยออกมามาก เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดการอักเสบเรื้อรัง นำไปสู่การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
- โรคหัวใจและความดันเลือดสูง : ความเครียดทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกายหดตัวตีบตัน อวัยวะต่าง ๆ ได้รับเลือดไม่พอ หากเกิดกับหัวใจ จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย เป็นโรคหัวใจ และเมื่อหลอดเลือดตีบมาก ๆ จะทำให้เป็นโรคความดันเลือดสูง
- โรคเบาหวาน : กรดไขมันที่ถูกกระตุ้นออกมา หากผ่านมายังตับ ตับจะเปลี่ยนไขมันเป็นน้ำตาล ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ฉะนั้นคนที่เครียดมาก ๆ จะเป็นโรคเบาหวาน
- โรคมะเร็ง : สังเกตได้ว่าคนที่เครียดมักไม่สบายง่าย เช่น เป็นหวัด เจ็บคอ เป็นแผลในปาก เมื่อภูมิต้านทานลดลง ฮอร์โมนสารทุกข์เพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดเซลล์ผิดปกติ จนเจริญเติบโตเป็นเนื้องอกมะเร็งในที่สุด
ความคุ้มครองสุขภาพ คุ้มครอง คุ้มเวอร์ จะเรื่องเจ็บไข้ได้ป่วยต้องแอดมิตเมื่อไหร่ก็ไม่กังวลค่ารักษา จะเจ็บป่วยโรคทั่วไป อย่าง ไข้หวัดใหญ่ ลำไส้อักเสบ หรือโรคร้ายแรง อย่าง โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคปอด ก็หายห่วง
👉 เลือกวงเงินความคุ้มครองได้ตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท
👉 สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี ดูแลถึงอายุ 99 ปี
👉 ครอบคลุมเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย เช่น เคมีบำบัด, Targeted Therapy และ Immunotherapy
พิเศษ! รับส่วนลดสูงสุด 15% สำหรับเบี้ยประกันปีต่ออายุ เพียงทำกิจกรรมผ่านแอปฯ MTL Fit
รายละเอียดเพิ่มเติม
☑️ โทร.1766 ตลอด 24 ชั่วโมง
☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต
- เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุในกรมธรรม์
- สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
- ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
- เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
- การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
- เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต กำหนด
- โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 10/01/67
🔖 สสส. (ข้อมูล ณ วันที่ 28/06/66)
🔖 Thairath (ข้อมูล ณ วันที่ 06/12/65)
🔖 thestandard (ข้อมูล ณ วันที่ 24/06/66)