รู้ทันสัญญาณเตือน มะเร็งเต้านมระยะแรก มีอาการอย่างไร?
มะเร็งเต้านม เป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้หญิง ซึ่งสำหรับประเทศไทย พบผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ปีละ 140,000 คน และเสียชีวิต 84,000 คนต่อปี ซึ่งการตรวจพบมะเร็งเต้านม หรือสังเกตอาการเตือนของมะเร็งในระยะแรก จะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาและหายได้มากขึ้น ดังนั้น การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง หรือรู้จักสังเกตสัญญาณเตือนเบื้องต้น จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง แอดจึงไม่พลาดที่จะนำอาการเตือนของมะเร็งเต้านมระยะแรก มาให้ทุกคนได้คอยสังเกตอาการด้วยตัวเอง เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านม มาดูกันเลย
4. วิธีลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม
1. มะเร็งเต้านมเกิดจาก
มะเร็งเต้านม เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ท่อน้ำนม ที่แบ่งตัวและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและควบคุมไม่ได้ ทำให้เกิดเป็นก้อนเนื้อขึ้นมา และอาจแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ ซึ่งสาเหตุที่แน่ชัดของมะเร็งเต้านมยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด
ใครบ้างเสี่ยงมะเร็งเต้านม
ปัจจัยเสี่ยงหลักที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งเต้านม ได้แก่
- เพศ ผู้หญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชาย
- อายุ ยิ่งอายุมากขึ้น ความเสี่ยงก็จะสูงขึ้น
- พันธุกรรม มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม
- ฮอร์โมนเพศ ประจำเดือนมาตั้งแต่ตอนอายุน้อย ๆ ทำให้สัมผัสฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนนานขึ้น จึงมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมมากยิ่งขึ้น
- การมีบุตร ผู้หญิงที่ไม่มีบุตรหรือมีบุตรคนแรกในวัยชรา มีความเสี่ยงสูงกว่า
- การให้นมบุตร การให้นมบุตรช่วยลดความเสี่ยง
- ความอ้วน น้ำหนักตัวที่มากเกินไปเป็นปัจจัยเสี่ยง
- เนื้อเต้านมหนาแน่น (การมีเนื้อเยื่อและต่อมน้ำนมมากกว่าคนอื่น ๆ) ทำให้การตรวจพบมะเร็งยากขึ้น
- การดื่มแอลกอฮอล์ ผู้หญิงกลุ่มที่ดื่มแอลกฮอล์เป็นประจำ จะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมสูงกว่าผู้หญิงที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
- ประวัติการรักษาเต้านม หากเคยมีปัญหาหรือรักษาโรคเกี่ยวกับเต้านมมาก่อน จะเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งได้
- การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มือสอง เพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น
2. อาการมะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านม มักไม่มีอาการในระยะเริ่มต้น ทำให้หลายคนอาจไม่สังเกตเห็นความผิดปกติได้ทันเวลา อย่างไรก็ตาม หากสังเกตเห็นอาการต่อไปนี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องและการรักษาที่เหมาะสม
7 อาการเริ่มต้นของมะเร็งเต้านม
- คลำพบก้อน อาจเป็นก้อนแข็งหรืออ่อนนุ่ม ขนาดเล็กหรือใหญ่ พบได้ที่เต้านมหรือใต้รักแร้
- ขนาดหรือรูปร่างของเต้านมเปลี่ยนแปลง เต้านมข้างหนึ่งอาจมีขนาดใหญ่ขึ้น เล็กลง หรือรูปร่างผิดปกติไปจากเดิม
- ผิวหนังที่เต้านมบุ๋มลงไป อาจดูคล้ายลักยิ้ม หรือผิวหนังบริเวณเต้านมบวมหนา เหมือนเปลือกส้ม
- มีน้ำเหลืองหรือของเหลวไหลออกมาจากหัวนม อาจมีสีใส เหลือง หรือมีเลือดปน
- อาการเจ็บผิดปกติที่เต้านม อาจเจ็บเรื้อรังหรือเจ็บเฉพาะจุด
- ผิวหนังของเต้านมอักเสบ ผิวหนังบริเวณเต้านมแดง บวม ร้อน และมีผื่น
- หัวนมบุ๋มเข้าไป หัวนมอาจบุ๋มเข้าไปในเต้านม โดยไม่ได้เป็นมาก่อน
3. มะเร็งเต้านมมีกี่ระยะ
มะเร็งเต้านมสามารถแบ่งออกเป็นหลายระยะ โดยการแบ่งระยะจะขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนมะเร็ง การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลือง และการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ซึ่งโดยทั่วไป มะเร็งเต้านมแบ่งออกเป็น 5 ระยะ ได้แก่
- ระยะที่ 0 (DCIS) เซลล์มะเร็งยังอยู่ในท่อของเต้านม ยังไม่ลุกลามไปยังเนื้อเยื่อรอบข้าง
- ระยะที่ 1 ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็ก มีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร
และยังไม่แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง - ระยะที่ 2 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น ระหว่าง 2 – 5 เซนติเมตร (ไม่เกิน 5 เซนติเมตร) โดยจะยังไม่กระจายสู่ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ แต่ถ้ามะเร็งมีขนาดเล็กกว่า 2 เซนติเมตร แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง
- ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่มากกว่า 5 เซนติเมตรขึ้นไป มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองหลายต่อม หรือมีการลุกลามไปยังเนื้อเยื่อใกล้เคียง
- ระยะที่ 4 มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ เช่น ปอด กระดูก ตับ สมอง
4. วิธีลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม
แม้ว่าเราจะยังไม่ทราบ ว่าสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดมะเร็งเต้านม แต่เรามีวิธีหลายอย่าง ที่สามารถทำได้เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม มาดูกันว่ามีวิธีอะไรบ้าง
- ควบคุมน้ำหนัก การมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม จะช่วยลดระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งของมะเร็งเต้านม
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ จะช่วยลดความเสี่ยงได้
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผัก ผลไม้ ธัญพืช และลดการบริโภคอาหารแปรรูป อาหารที่มีไขมันสูง และอาหารที่มีน้ำตาลสูง
- เลิกสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งหลายชนิด รวมถึงมะเร็งเต้านม
- จำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป อาจเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเต้านมได้
- ให้นมบุตร การให้นมบุตรช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมได้
- ตรวจสุขภาพเป็นประจำ ควรตรวจสุขภาพเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ และไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายตามกำหนด
- หากมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมสำคัญอย่างไร
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม เป็นวิธีการตรวจหาโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น ซึ่งยังไม่มีอาการใด ๆ ปรากฏออกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับผู้หญิงที่มีปัจจัยเสี่ยงสูง เช่น มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม หรือมีอายุมากกว่า 40 ปี ซึ่งความสำคัญของการตรวจคัดกรอง อยู่ที่การช่วยให้เราสามารถพบโรคได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำให้การรักษาเป็นไปได้ง่ายขึ้น มีโอกาสหายขาดสูงขึ้น และลดความรุนแรงของโรคได้
เหตุผลที่ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
- ตรวจพบโรคได้ก่อนมีอาการ มะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นมักไม่มีอาการ จึงทำให้ผู้ป่วยหลายรายไม่รู้ตัวว่าป่วย จนกระทั่งโรคลุกลามไปในระยะที่รักษายาก
- เพิ่มโอกาสในการรักษา การตรวจพบโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีโอกาสหายขาดสูงขึ้น
- ลดความรุนแรงของโรค การรักษาในระยะเริ่มต้นจะช่วยลดความรุนแรงของโรค และลดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต
ลดค่าใช้จ่ายในการรักษา การรักษาในระยะเริ่มต้น มักจะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะที่ลุกลาม
วิธีการตรวจคัดกรองที่พบบ่อย
- การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ควรทำเป็นประจำทุกเดือน โดยเฉพาะหลังหมดประจำเดือน
- การตรวจเต้านมโดยแพทย์ ควรตรวจสุขภาพเต้านมกับแพทย์เป็นประจำ
- การตรวจแมมโมแกรม เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยรังสีเอกซ์
- การตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น จะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาและหายขาดได้มากขึ้น
ดังนั้น การดูแลสุขภาพและตรวจสุขภาพเป็นประจำ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง วางแผนสุขภาพไว้ก่อน จะได้ไม่ปวดใจกับค่ารักษา เพราะ ชีวิต “คุณ” ก็สำคัญ เลือกความคุ้มครองที่จำเป็นสำหรับคุณ เลือก Care Plus คุ้มครองค่ารักษามะเร็ง วงเงินค่ารักษา 5 ล้านบาท ต่อโรค เบี้ยไม่ถึง 9 บาทต่อวัน* ครอบคลุมทั้ง IPD และ OPD เข้าถึงการรักษาที่ทันสมัย การตรวจวินิจฉัยขั้นสูง MRI, CT Scan, PET Scan เข้าถึงการรักษามะเร็งที่ทันสมัย ยามุ่งเป้า Targeted Therapy, ภูมิคุ้มกันบำบัด Immunotherapy, การปลูกถ่าย Stem Cell สมัครได้ถึง 80 ปี คุ้มครองยาวถึงอายุ 99 ปี
รายละเอียดเพิ่มเติม
☑️ โทร. 1766 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
☑️ สนใจติดต่อตัวแทนเมืองไทยประกันชีวิต หรือ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ทุกสาขา
*สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง อายุ 34 ปี เลือกความคุ้มครองสำหรับโรคมะเร็ง แผน 5 ล้านบาท และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
- ค่าบริการทางการแพทย์เพื่อการบำบัดรักษาโรคมะเร็งและ/หรือโรคไตวายเรื้อรัง ดังกล่าว จะจ่ายสำหรับวิธีการบำบัดรักษาตามที่บริษัทฯ กำหนด
- ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
- เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
- การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
- โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
ที่มา : สืบค้น ณ วันที่ 01/10/67
🔖 สสส.