Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

โรคร้ายแรง มีอะไรบ้าง และโรคแบบไหนที่ประกันไม่คุ้มครอง

โรคร้ายแรง มีอะไรบ้าง และโรคแบบไหนที่ประกันไม่คุ้มครอง

ปัจจุบัน โรคร้ายแรงกลายเป็นปัญหาสุขภาพที่ใกล้ตัวมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็ง โรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือด ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว ยังนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง  ดังนั้นการมีประกันโรคร้ายแรงจึงเป็นทางเลือกที่ดีในการเตรียมความพร้อมรับมือกับความเสี่ยงเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกโรคร้ายแรงที่จะได้รับความคุ้มครองจากประกันสุขภาพ หรือประกันโรคร้ายแรง เพราะมีบางกรณี หรือบางโรคที่ประกันไม่คุ้มครอง และวันนี้เรามีวิธีเลือกประกันที่คุ้มครองค่ารักษาโรคมะเร็งที่น่าสนใจมาแนะนำกัน


ยาวไปเลือกอ่านตามหัวข้อได้นะ


1. โรคร้ายแรง คืออะไร

2. โรคร้ายแรงที่คนไทยเสี่ยงเป็น มีโรคอะไรบ้าง

3. วิธีดูแลสุขภาพ ลดความเสี่ยงโรคร้ายแรง

4. โรคแบบไหนที่ประกันไม่คุ้มครอง



โรคร้ายแรง คืออะไร



1. โรคร้ายแรง คืออะไร

  • โรคร้ายแรง

หมายถึง โรคที่มีผลกระทบรุนแรงต่อชีวิต และสุขภาพของผู้ป่วย ซึ่งอาจทำให้การดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง โรคเหล่านี้มักต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง  และบางครั้งยังอาจมาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่สูงมากจนกระทบต่อความมั่นคงทางการเงิน เพราะมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง


สำหรับโรคร้ายแรงที่พบบ่อย เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคปอดระยะรุนแรง และโรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งโรคเหล่านี้ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อร่างกาย แต่ยังสร้างความกังวลใจให้แก่ผู้ป่วย ครอบครัว หรือคนใกล้ตัวได้


  • สาเหตุของโรคร้ายแรง

โรคร้ายแรงส่วนใหญ่มักเกิดจากหลายปัจจัยรวมกัน เช่น พฤติกรรมการใช้ชีวิต การรับประทานอาหารที่ไม่สมดุล การขาดการออกกำลังกาย ความเครียดสะสม รวมถึงพันธุกรรม และสภาพแวดล้อมที่อาจกระตุ้นให้เกิดโรคได้


  • ทำไมต้องให้ความสำคัญกับโรคร้ายแรง?

แม้โรคร้ายแรงอาจดูเหมือนห่างไกล แต่ในความเป็นจริง ความเสี่ยงเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน การเตรียมตัวให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็นการดูแลสุขภาพ หรือการวางแผนการเงินด้วยประกัน จะช่วยลดผลกระทบจากโรคเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี



โรคร้ายแรงที่คนไทยเสี่ยงเป็น มีโรคอะไรบ้าง


2. โรคร้ายแรงที่คนไทยเสี่ยงเป็น มีโรคอะไรบ้าง


สำหรับโรคร้ายแรงที่คนไทยมีแนวโน้มพบมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ 


  • โรคมะเร็ง

เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย ซึ่งเซลล์เหล่านี้มีการเจริญเติบโต และแบ่งตัวอย่างไม่สามารถควบคุมได้ ส่งผลให้เกิดก้อนเนื้อที่เรียกว่า "เนื้องอก" ซึ่งอาจเป็นเนื้องอกร้าย ที่มีความสามารถในการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย เช่น ปอด ตับ และลำไส้ สาเหตุหลักมาจากอายุ กรรมพันธุ์ ความไม่สมดุลทางฮอร์โมน หรือพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ กินอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง และการได้รับสารเคมี เป็นต้น 


  • โรคหลอดเลือดหัวใจ

เกิดจากหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการแข็งตัว หรือมีไขมันเกาะตามผนังหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง จึงทำให้ปริมาณเลือดที่ไหลผ่านลดน้อยลง เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหากหลอดเลือดแดงตีบแคบจนถึงขั้นอุดตัน จะส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดออกซิเจนจนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้


  • โรคเบาหวาน

คนไม่ติดหวานก็เสี่ยงเป็นเบาหวานได้ โดยโรคนี้เป็นภาวะเรื้อรังที่เกิดจากความผิดปกติในการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยอินซูลินช่วยให้น้ำตาลในเลือดถูกนำไปใช้เป็นพลังงานในเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย อย่างไรก็ตาม หากร่างกายผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ หรือไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้


  • โรคความดันโลหิตสูง

ถือเป็นภัยเงียบที่น่ากลัวต่อร่างกาย หากไม่รักษาให้ถูกต้องจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคร้ายหลายชนิด เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคไตวาย และหลอดเลือดสมอง แม้โรคนี้จะพบได้บ่อย แต่หลายคนมักมองข้าม และไม่รู้ตัวจนกระทั่งเกิดภาวะแทรกซ้อน ดังนั้นการควบคุมความดันโลหิตให้เป็นปกติสามารถลดความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


โรคหัวใจนั้น เป็นโรคที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ อาจเป็นในส่วนของหลอดเลือดหัวใจ ลิ้นหัวใจ โรคหัวใจแต่กำเนิด หรือโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น มีปัจจัยเสี่ยงมาจากอายุที่มากขึ้น เพศ พันธุกรรม โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง มีภาวะอ้วน หรือชอบรับประทานอาหารไขมันสูง ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ และไม่ค่อยออกกำลังกาย ทำให้มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่เต็มอิ่ม เหนื่อยง่าย คลื่นไส้


ซึ่งโรคร้ายแรงทั้งหมดที่เราหยิบยกมา จัดอยู่ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases: NCDs) โดยโรคเหล่านี้ มีสาเหตุสำคัญมาจากปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม การขาดการออกกำลังกาย รวมถึงปัจจัยภายนอก เช่น มลภาวะ ฝุ่น และความเครียดในชีวิตประจำวัน



วิธีดูแลสุขภาพ ลดความเสี่ยงโรคร้ายแรง


3. วิธีดูแลสุขภาพ ลดความเสี่ยงโรคร้ายแรง


โรคร้ายแรง และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง ถือเป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และค่าใช้จ่ายในการรักษาของผู้คนเป็นจำนวนมาก ซึ่งการป้องกัน และลดความเสี่ยงจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ด้วยการเริ่มต้นดูแลสุขภาพง่าย ๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง ดังนี้


  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผัก และผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด เค็มจัด และอาหารที่มีไขมันสูง
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อครั้ง สัปดาห์ละ 5 ครั้ง เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดี
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง งดสูบบุหรี่ งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการสัมผัสควันบุหรี่มือสอง
  • ควบคุมน้ำหนัก รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยการรับประทานอาหารที่เหมาะสม และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับวันละ 7 - 8 ชั่วโมง เพื่อฟื้นฟูร่างกาย และจิตใจ 
  • จัดการความเครียด หาวิธีผ่อนคลายความเครียด เช่น การทำสมาธิ หรือการทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ เดินทางท่องเที่ยว
  • ตรวจสุขภาพประจำปี หมั่นรับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจหาความเสี่ยง และป้องกันโรคได้ทันท่วงที


การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงจากโรคร้ายแรง และ NCDs ได้อย่างมีประสิทธิภาพ



โรคที่ประกันไม่คุ้มครอง คืออะไร


4. โรคที่ประกันไม่คุ้มครอง คืออะไร


โรค หรือภาวะสุขภาพที่ไม่อยู่ในขอบเขตความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันสุขภาพ หรือประกันโรคร้ายแรง ซึ่งอาจเกิดจากเงื่อนไขที่ระบุไว้อย่างชัดเจนในสัญญา เช่น โรคที่มีมาก่อนทำประกัน หรือโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยง เช่น


  • โรคที่มีมาก่อนการทำประกัน เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
  • โรคที่มีช่วงระยะเวลารอคอย เช่น การเจ็บป่วยในช่วง 90, 120 หรือ 180 วันแรกหลังทำประกัน
  • โรคเรื้อรังบางประเภท ที่ถูกระบุว่าไม่คุ้มครองในกรมธรรม์ เช่น โรคหัวใจ โรคไตเรื้อรัง
  • โรคทางจิตเวช หรือภาวะที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต
  • การบาดเจ็บจากพฤติกรรมเสี่ยง เช่น อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬาที่เสี่ยงสูง หรือการใช้สารเสพติด
  • โรคทางพันธุกรรม หรือโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม


หมายเหตุ : รายชื่อโรค หรือข้อยกเว้นที่ไม่คุ้มครองอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบริษัทประกัน และแผนประกัน ควรศึกษารายละเอียดในกรมธรรม์ เพื่อได้รับความคุ้มครองตรงกับความต้องการ


  • แถลงข้อมูลสุขภาพให้ครบถ้วน การแถลง หรือแจ้งข้อมูลสุขภาพที่ถูกต้อง และครบถ้วน เพื่อให้ทางบริษัทประกันสามารถประเมินความเสี่ยงของสุขภาพ จะช่วยให้คุณได้รับความคุ้มครองที่เหมาะสม
  • ศึกษาข้อมูลให้ละเอียด ก่อนตัดสินใจทำประกัน แนะนำให้ศึกษาสิทธิประโยชน์ และข้อยกเว้นต่าง ๆ เพราะแต่ละบริษัทประกันจะมีข้อยกเว้นที่แตกต่างกัน
  • เปรียบเทียบแผนประกัน เปรียบเทียบแผนประกัน เพื่อหาแผนที่เหมาะสมกับความต้องการ  และงบประมาณที่จ่ายไหว
  • ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หากมีข้อสงสัย สามารถปรึกษาตัวแทนประกัน หรือที่ปรึกษาทางการเงินได้ หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ เมืองไทยประกันชีวิต


สุดท้ายการทำความเข้าใจกับเงื่อนไขต่าง ๆ ในกรมธรรม์ก็สำคัญไม่แพ้กัน เพื่อให้ตัวคุณเองได้รับความคุ้มครองที่เหมาะสม และตรงตามความต้องการมากที่สุด


การเตรียมความพร้อมด้วยประกันป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยให้คุณสามารถรับมือกับโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต โดยเฉพาะโรคที่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง อย่างไรก็ตาม บางโรคอาจจะมีข้อยกเว้นตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ การศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ให้ดี และเลือกแผนประกันที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้คุณได้ความคุ้มครองที่ตรงกับความต้องการของตนเอง นอกจากนี้ การดูแลสุขภาพตัวเองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง ก็จะช่วยให้คุณมีความสุข และไม่กังวลกับการใช้ชีวิต ด้วยประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทำไว้ตอนที่สุขภาพดี ได้รับความคุ้มครองเต็มที่ เลือกวงเงินคุ้มครองตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท


รายละเอียดเพิ่มเติม

☑️โทร. 1766 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต


  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย


ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 23/01/68

🔖 PaoloHospital

🔖 Samitivej hospitals

🔖 Urbancreature

สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าสนใจ