Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

วิธีแก้โรคลมพิษอย่างง่าย ๆ พร้อมรู้จักอาการและสาเหตุ

วิธีแก้โรคลมพิษอย่างง่าย ๆ พร้อมรู้จักอาการและสาเหตุ

December 02, 2024

5 minutes

โรคลมพิษเป็นอาการทางผิวหนังที่พบได้บ่อย โดยมีลักษณะเป็น ผื่นคัน แดงนูน มาพร้อมอาการคัน และบางครั้งอาจมีอาการบวมร่วมด้วย ผื่นเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย และมักหายได้เองในเวลาไม่นาน แต่ในบางกรณีอาจเป็นเรื้อรัง ต้องใช้ระยะเวลารักษา ซึ่งหากรู้สาเหตุว่าโรคลมพิษเกิดจากอะไร จะสามารถหาวิธีดูแลอย่างเหมาะสมเพื่อช่วยบรรเทาอาการ และป้องกันไม่ให้เกิดโรคลมพิษได้


1. สาเหตุของโรคลมพิษ เกิดจากอะไร

2. อาการของโรคลมพิษเป็นแบบไหน

3. วิธีรักษาโรคลมพิษ อย่างง่าย ๆ

4. วิธีดูแลตัวเอง และป้องกันโรคลมพิษ



สาเหตุของโรคลมพิษ เกิดจากอะไร

1. สาเหตุของโรคลมพิษ เกิดจากอะไร

 

ลมพิษเกิดจากการที่ร่างกายหลั่งสาร ฮีสตามีน ซึ่งกระตุ้นให้หลอดเลือดขยายตัว ส่งผลให้เกิดผื่นแดง คัน และอาการบวม สาเหตุที่พบได้บ่อยมีดังนี้


  • ชนิดของโรคลมพิษแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

    • ลมพิษเฉียบพลัน ผื่นลมพิษเป็นมาไม่เกิน 6 สัปดาห์ สาเหตุส่วนใหญ่มักได้แก่ อาหาร ยา การติดเชื้อ
    • ลมพิษเรื้อรัง ผื่นลมพิษเป็น ๆ หาย ๆ ต่อเนื่องกันเกิน 6 สัปดาห์ขึ้นไป เกิดจากสาเหตุได้หลายอย่าง ดังจะได้กล่าวในหัวข้อสาเหตุของโรคลมพิษต่อไป

 

  • สาเหตุของโรคลมพิษ

    • แพ้อาหาร เช่น อาหารทะเล นม ไข่ หรือถั่ว สารกันบูดในอาหาร สีผสมอาหาร
    • แพ้ยาบางชนิด เช่น ยาแก้อักเสบ ยาปฏิชีวนะ กลุ่มยาแก้ปวด หรือแอสไพริน 
    • แพ้สารเคมี หรือ ยาบางชนิด เช่น น้ำหอม ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด หรือยาทาแก้อักเสบ 
    • แพ้ฝุ่น ละอองเกสร หรือขนสัตว์
    • แพ้อากาศ เช่น จากแสงแดด ความร้อน ความเย็น อากาศหนาว ความชื้น หรือเหงื่อ 
    • โรคภูมิแพ้ หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง
    • การติดเชื้อ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา พยาธิ
    • ความเครียด วิตกกังวล พักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายอ่อนแอ
    • แพ้พิษจากแมลงกัดต่อย
    • การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
    • สารทึบรังสี (contrast media) ที่ใช้ในการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

 

จากสาเหตุของโรคลมพิษนั้นมีความหลากหลาย ผู้ป่วยบางคนอาจมีสาเหตุการแพ้นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น ซึ่งทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย และรักษาที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันการเกิดโรคลมพิษที่อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้นั่นเอง


 อาการของโรคลมพิษเป็นแบบไหน


2. อาการของโรคลมพิษเป็นแบบไหน

มีผื่น หรือเม็ดเล็ก ๆ ขึ้น แบบนี้เรียกอาการลมพิษ หรือไม่ แล้วผื่นคันลักษณะแบบไหนที่สามารถบอกเราได้ว่านี่คือโรคลมพิษมาเยือนร่างกายของเราแล้ว

 

  • มีผื่น บวม แดง นูน  มักมีอาการคัน  
  • ผื่นขึ้นได้ทั้งร่างกาย แขน ขา เกิดขึ้นเร็ว และผื่นมักหายไปภายใน 24 ชั่วโมง โดยไม่ทิ้งรอย แต่ก็อาจมีผื่นใหม่ขึ้นที่อื่น ๆ ได้อีก 
  • ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการตาบวม หรือริมฝีปากบวมได้ และบางรายอาจมีอาการปวดท้อง คัดจมูก หายใจไม่สะดวกร่วมด้วย
  • มีไข้ ลมพิษ ทำให้บางคนอาจมีไข้ขึ้นเล็กน้อย หรือรู้สึกร่างกายร้อนขึ้น

 

หากพบว่ามีผื่นแดงนูน คัน หรืออาการบวมตามร่างกาย จากที่ได้กล่าวถึงไว้ ควรรีบดูแลตัวเองเบื้องต้น และหากอาการไม่ดีขึ้น หรือรุนแรงขึ้น เช่น หายใจลำบาก ควรปรึกษาแพทย์ทันที


 วิธีรักษาโรคลมพิษ อย่างง่าย ๆ

3. วิธีรักษาโรคลมพิษ อย่างง่าย ๆ

วิธีรักษาเบื้องต้นสำหรับโรคลมพิษ ที่สามารถทำได้ง่าย ๆ ที่จะช่วยให้คุณสามารถบรรเทาอาการ และดูแลตัวเองจากอาการลมพิษได้อย่างถูกต้อง

 

  • หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดลมพิษ เช่น ยา อาหาร เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ ยาง ความเครียด อากาศร้อน อากาศเย็น เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการเกา พยายามไม่เกาผื่นเพื่อลดการอักเสบ หรือการลุกลามของอาการ
  • สวมใส่เสื้อผ้าสบายตัว ใส่เสื้อผ้าที่หลวม และไม่ระคายเคืองผิว เพื่อลดการเสียดสีที่ผิวหนัง
  • ประคบเย็น หรืออาบน้ำเย็น โดยใช้ผ้าชุบน้ำเย็น หรือห่อน้ำแข็งประคบบริเวณที่มีผื่น เพื่อช่วยลดอาการคัน และบวม
  • ใช้ยาแก้คันทั่วไป ยาแก้แพ้ช่วยบรรเทาอาการคัน และลดผื่นที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหนัง แต่ควรใช้ยาตามคำแนะนำของเภสัชกร หรือคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด
  • ประคบด้วยน้ำเย็น น้ำแข็ง หรือ เจลเก็บความเย็น


ทั้งนี้หากดูแลตัวเองเบื้องต้นแล้ว อาการลมพิษ ผื่นคันที่เกิดขึ้นยังไม่ดีขึ้น หรือมีอาการแพ้รุนแรง เช่น วิงเวียนศีรษะ หายใจลำบาก มีอาการบวมบริเวณลิ้น ริมฝีปาก หรือลำคอ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษา เพราะหากปล่อยไว้อาจเป็นอันตรายได้


วิธีดูแลตัวเอง และป้องกันโรคลมพิษ

4. วิธีดูแลตัวเอง และป้องกันโรคลมพิษ

วิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคลมพิษ โดยให้หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น ได้แก่

  • หลีกเลี่ยงอาหาร หรือสารที่แพ้ เช่น อาหารทะเล ถั่ว หรือนม รวมถึงสารกันบูดและสีผสมอาหาร
  • หลีกเลี่ยงฝุ่น ละอองเกสร ขนสัตว์ หรือสารเคมีที่อาจกระตุ้นลมพิษ ใช้เครื่องฟอกอากาศในพื้นที่ที่มีฝุ่น หรือสารก่อภูมิแพ้
  • หลีกเลี่ยงอากาศร้อนจัด เย็นจัด หรือความชื้นสูงเกินไป
  • เลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผิว ใช้สบู่ และโลชั่นที่อ่อนโยน ปราศจากน้ำหอมและสารระคายเคือง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • ลดความเครียด หาเวลาผ่อนคลาย เช่น การทำสมาธิ โยคะ หรือกิจกรรมที่ช่วยลดความวิตกกังวล หรือ ความเครียด
  • ระมัดระวังการใช้ยา หลีกเลี่ยงยาที่เคยแพ้ เช่น แอสไพริน หรือยาต้านอักเสบ และควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
  • ปรึกษาแพทย์ หากคุณเคยมีอาการลมพิษซ้ำ หรือเป็นขึ้นมาอีก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการทดสอบสารที่แพ้ และรับคำแนะนำในการป้องกัน และรักษา


การปรับพฤติกรรม และดูแลตัวเองในชีวิตประจำวันสามารถช่วยลดโอกาสการเกิดลมพิษขึ้นมาซ้ำอีกได้ แม้จะต้องปรับตัวมากขึ้น เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

 

  • อาหารที่ป่วยลมพิษควรหลีกเลี่ยง

    • ผัก เช่น ผักปวยเล้ง มะเขือเทศ พืชตระกูลถั่ว
    • เนื้อสัตว์แช่แข็งไว้เป็นเวลานาน เช่น ปลา หอย
    • อาหารกระป๋อง และอาหารรมควันต่าง ๆ เช่น ปลากระป๋อง ไส้กรอก
    • ชีส โยเกิร์ต อาหารหมักดอง ชาสมุนไพร ไข่
    • อาหารจานด่วน เช่น ไก่ทอด ฮอตดอก เบอร์เกอร์ น้ำอัดลม
    • เครื่องปรุงรส เช่น พริกป่น อบเชย กานพลู น้ำส้มสายชู
    • เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
    • วัตถุเจือปนในอาหาร เช่น สารกันบูด


โรคลมพิษ ผื่นคัน อาจดูเหมือนเรื่องเล็ก ๆ แต่หลายครั้งก็สร้างความกังวล และสร้างความรำคาญใจ ในการใช้ชีวิต เพราะต้องดูแลตัวเองให้มากขึ้น ต้องหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น เพื่อป้องกันไม่ให้โรคลมพิษกลับมาเป็นซ้ำ แต่ถ้าหากอาการรุนแรง การรักษาอาจไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใ้ช้เวลา และมีค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิดเพิ่มขึ้น พร้อมหาตัวช่วยดูแลสุขภาพแบบสบาย ๆ ด้วย ประกันสุขภาพ จากเมืองไทยประกันชีวิต #เพราะชีวิตทุกวัยมันเจ็บป่วย ป่วยเล็กป่วยใหญ่ ช่วงวัยไหนก็ป่วยได้ไม่ช็อตฟีล 

 

ปล่อยจอยค่ารักษาเพราะมีประกันสุขภาพดูแลให้แบบเหมา ๆ ตั้งแต่ 2 แสน - 100 ล้านบาท

 

Elite Health Plus คุ้มครองค่ารักษา 20-100 ล้านบาทต่อปี ครอบคลุมเทคโนโลยีการรักษา ดูแลให้ทั้ง IPD และ OPD(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 157 บาท(2)


D Health Plus คุ้มครองค่ารักษา 5 ล้านบาท(3) นอนห้องเดี่ยวมาตรฐานทุก รพ. เบี้ยวันละไม่ถึง 38 บาท(4)


เหมาจ่าย Extra แอดมิตเข้า รพ. ดูแลค่ารักษาเหมาจ่าย 5 แสนบาท(5) เบี้ยวันละไม่ถึง 42 บาท(6)

 

รายละเอียดเพิ่มเติม

☑️ โทร.1766 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต

 

(1) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 40, 75 หรือ 100 ล้านบาท

(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยอายุ 50 ปี แผน 20 ล้านบาท พื้นที่ความคุ้มครองประเทศไทย และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

(3) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 5 ล้านบาท โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาครั้งใดครั้งหนึ่ง

(4) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง อายุ 34 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท มีความรับผิดส่วนแรก 30,000 บาท ต่อการเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง (แผน Top Up ความคุ้มครอง) และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

(5) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 3 โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง

(6) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง อายุ 34 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 3 และชำระเบี้ยประกันรายปี

 

  • เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
  • สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
  • ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
  • เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต กำหนด
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย



ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 25/11/67

🔖 Rama Channel

🔖 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

🔖 Vimut Hospital 

🔖 Sikarin Hospital

🔖 pobpad

Interested In

I agree that Muang Thai Life Assurance PCL. Collect and use my personal information above to contact me to offer products and services at I am interested or the company saw that it was beneficial to I have by me to equate the mark In the square is an indication of intent. instead of my consent Signing as evidence. I have read and acknowledged the Privacy Policy.

Interesting Article