Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ หรือ ADHD คืออะไร โตแค่ไหนก็เป็นได้

โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ หรือ ADHD คืออะไร โตแค่ไหนก็เป็นได้

เมื่อพูดถึง "โรคสมาธิสั้น" หลายคนอาจนึกถึงเด็ก ๆ ที่อยู่ไม่นิ่ง หรือหลุดโฟกัสกับสิงต่าง ๆ ได้ง่าย แต่ทราบ หรือไม่ว่า อาการเหล่านี้ไม่ได้จำกัดแค่ในวัยเด็กเท่านั้น เพราะวัยรุ่น หนุ่มสาว หรือผู้ใหญ่เองก็สามารถเผชิญกับภาวะ โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ หรือ ADHD  ได้เช่นกัน แต่การแสดงออกของอาการอาจแตกต่างจากเด็ก และอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต การทำงาน และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ซึ่งสัญญาณของโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ ที่ควรรรู้มีอะไรบ้าง ตามมาดูกัน



โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ หรือ ADHD คืออะไร


1. โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ หรือ ADHD คืออะไร


โรคสมาธิสั้น หรือ ADHD (Attention Deficit Hyperactivity Disorder) ไม่ใช่อาการที่พบได้เฉพาะวัยเด็กเท่านั้น เพราะวัยหนุ่มสาว หรือวัยผู้ใหญ่ก็พบได้เช่นกัน ซึ่งสมาธิสั้นในผู้ใหญ่นั้นอาการที่แสดงออกอาจจะไม่ซนเหมือนในเด็ก แต่จะมีปัญหาเรื่องการวางแผน การแก้ไขปัญหา หงุดหงิด สมาธิไม่ดี ทำงานไม่เสร็จ เพราะมีความผิดปกติของสมองส่วนหน้าที่เกี่ยวข้องกับความคิด การวางแผน การบริหารจัดการชีวิตในเรื่องต่าง ๆ (Executive Functions-EF) หรือ บางคนมีอาการซึมเศร้า วิตกกังวล นอนไม่หลับ ซึ่งอาจส่งผลกระทบกับการดำเนินชีวิต การทำงาน และบุคคลที่อยู่รอบข้างก็เป็นไปได้


สาเหตุของโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่เกิดจากอะไร

2. สาเหตุของโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่เกิดจากอะไร

โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ เกิดจากปัจจัยหลายประการที่ส่งผลต่อการทำงานของสมอง และระบบประสาท แม้ยังไม่มีการระบุสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีปัจจัยหลักที่เชื่อว่าเกี่ยวข้องดังนี้


  • พันธุกรรม เช่น พ่อแม่ พี่น้อง เป็นโรคสมาธิสั้น หรือโรคทางจิตเวชอื่น ๆ
  • ความผิดปกติในระบบประสาท
  • การสัมผัสความเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมในระหว่างแม่ตั้งครรภ์ เช่น ได้รับสารตะกั่วหรือโลหะ
  • การใช้แอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ในระหว่างตั้งครรภ์
  • คลอดก่อนกำหนด
  • น้ำหนักแรกเกิดต่ำ


นอกจากนี้อีกหนึ่งสาเหตุของโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ อาจเกิดจากการใช้งานเทคโนโลยีที่มากเกินไป เช่น ดูข่าว ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม ติดโซเชียล หรือใช้ทำงานในชีวิตประจำวัน ส่งผลให้ร่างกายและสมองขาดการพักผ่อนที่เหมาะสม ดังนั้นการสร้างสมดุลระหว่างการใช้เทคโนโลยี และการใช้ชีวิต จะสามารถช่วยลดความเสี่ยง และผลกระทบต่อสมาธิ รวมถึง
สุขภาพจิตเราได้


วิธีสังเกตอาการโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่

3. วิธีสังเกตอาการโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่


สำหรับอาการโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ บางรายอาจเริ่มมีอาการตั้งแต่เด็ก จึงไม่ทันสังเกตเห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม หากสงสัยว่าตนเอง หรือคนใกล้ชิดอาจมีอาการของโรคสมาธิสั้น สามารถสังเกตได้เบื้องต้นดังนี้

  • ไม่มีสมาธิ หรือไม่สามารถจดจ่อได้
  • มีปัญหากับคนรอบข้างบ่อย
  • ขี้หลงขี้ลืม ลืมสิ่งที่ต้องทำ ลืมหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย หรือลืมสิ่งของต่าง ๆ
  • พูดแทรกบ่อย หรือโต้ตอบอย่างรวดเร็ว
  • มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์ เครียด หงุดหงิด ฉุนเฉียว อารมณ์แปรปรวน
  • จัดการความเครียดที่เกิดขึ้นได้ลำบาก หรือจัดการได้ไม่ดี
  • มีปัญหาด้านความสัมพันธ์ หรือชีวิตคู่ เพราะผู้ป่วยมักไม่สามารถจดจ่อเพื่อรับฟังอีกฝ่ายได้ และตัวผู้ป่วยเองก็อาจไม่เข้าใจถึงอารมณ์ของอีกฝ่าย
  • ไปทำงานสาย ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพจนนำไปสู่ปัญหาด้านการทำงาน
  • ผัดวันประกันพรุ่งอยู่บ่อยครั้ง
  • ขี้เบื่อ หรือรออะไรนาน ๆ ไม่ค่อยได้
  • ซึมเศร้า วิตกกังวล และนอนไม่หลับ


หากเริ่มมีอาการข้างต้น และส่งผลกระทบการใช้ชีวิตประจำวัน และคนรอบข้าง แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เพื่อประเมินอาการ และรับคำแนะนำในการจัดการปัญหาอย่างเหมาะสม


แนวทางการรักษา โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่

4. แนวทางการรักษา โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่


การรักษาโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่มีเป้าหมายเพื่อปรับพฤติกรรม ลดอาการ และเพิ่มคุณภาพชีวิต โดยมักใช้วิธีการแบบผสมผสาน ซึ่งประกอบด้วย


1. การรักษาด้วยยา (Medication)

    • ยากระตุ้นระบบประสาท : เช่น Methylphenidate เป็นยาหลักที่ช่วยปรับสมดุลสารสื่อประสาทในสมอง
    • ยาที่ไม่กระตุ้นระบบประสาท : เช่น Atomoxetine เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถทนผลข้างเคียงจากยากระตุ้นได้
    • ยากลุ่มอื่น ๆ : เช่น ยาต้านซึมเศร้า หรือยาคลายกังวล ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการร่วม เช่น ภาวะวิตกกังวล


2. การบำบัดทางจิตใจและพฤติกรรม (Psychotherapy and Behavioral Therapy)

    • วางแผนและจัดการเวลา : ใช้เครื่องมือช่วย เช่น การจดโน้ต การตั้งเตือน หรือการวางกรอบเวลาอย่างชัดเจน เพื่อฝึกนิสัยและลดความกังวล
    • การนอนหลับที่มีคุณภาพ : กำหนดเวลานอนอย่างสม่ำเสมอและจัดพื้นที่การนอนให้สงบ
    • ลดการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ : ลดความว้าวุ่นใจโดยการพักจากหน้าจอ โซเชียลต่าง ๆ และกำหนดเวลาการใช้งาน
    • จัดการความกังวลอย่างมีกรอบเวลา : พยายามจัดการปัญหาให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว เพื่อป้องกันการสะสมความเครียด
    • การออกกำลังกาย : ช่วยเพิ่มการหลั่งสารสื่อประสาทที่ส่งเสริมสมาธิและลดความเครียด


โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่สามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการใช้ยา การบำบัด และการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน การรักษาที่เหมาะสม และความเข้าใจในตัวเองจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขและสมดุลในการใช้ชีวิตได้มากขึ้น


พร้อมหาตัวช่วยดูแลสุขภาพแบบสบาย ๆ ด้วย ประกันสุขภาพ จากเมืองไทยประกันชีวิต #เพราะชีวิตทุกวัยมันเจ็บป่วย ป่วยเล็กป่วยใหญ่ ช่วงวัยไหนก็ป่วยได้ไม่ช็อตฟีล เพราะมีประกันสุขภาพดูแลให้แบบเหมา ๆ ตั้งแต่ 2 แสน - 100 ล้านบาท


รายละเอียดเพิ่มเติม

☑️โทร. 1766 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต


  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย


ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 12/12/67

🔖thaipbs

🔖bumrungrad

สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าสนใจ