วิธีแก้เสมหะเหนียวติดคอ หายได้ไว แค่ใส่ใจดูแล
อาการเสมหะเหนียวติดคอ เป็นปัญหาที่สร้างความรำคาญ และส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และสีของเสมหะ ก็สามารถบ่งบอกถึงสุขภาพของเราได้ด้วย เช่น เสมหะสีเหลือง กินยาอะไร ซึ่งหลายคนก็เคยมีปัญหา มีเสมหะในคอตลอด หายใจไม่อิ่ม และหลายคนอาจกำลังมองหาวิธีแก้ไข วันนี้เราจึงนำข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และวิธีแก้เสมหะเหนียวติดคอ ที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง และมีวิธีแก้อย่างไรบ้าง มาดูกันเลย
ยาวไปเลือกอ่านตามหัวข้อได้นะ
1. สาเหตุที่ทำให้เกิดเสมหะ
2. สีของเสมหะบอกอะไร
3. เสมหะเหนียวติดคอ มีวิธีแก้อย่างไร
1. สาเหตุที่ทำให้เกิดเสมหะ
เสมหะคือสารคัดหลั่งเหนียวข้น ที่ผลิตจากเยื่อบุทางเดินหายใจ ทำหน้าที่ดักจับฝุ่นละออง เชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกายทางลมหายใจ เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งเหล่านี้เข้าไปทำอันตรายต่อปอด
สาเหตุที่ทำให้เกิดเสมหะ
เสมหะเหนียวติดคอเป็นอาการที่สร้างความรำคาญและส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน สาเหตุของเสมหะเหนียวติดคอมีหลายประการ สรุปได้ดังนี้
1. โรคภูมิแพ้
- โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) เกิดจากการแพ้สารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น ละอองเกสรดอกไม้ หรือขนสัตว์ ซึ่งกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำมูกและเสมหะมากขึ้น
- โรคจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้ (Non-Allergic Rhinitis) เกิดจากการระคายเคืองจากสิ่งแวดล้อม เช่น ฝุ่น ควัน หรือการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ทำให้มีน้ำมูกไหลลงคอและกลายเป็นเสมหะ
อ่านบทความเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้เพิ่มเติมได้ที่
- รู้ทัน โรคภูมิแพ้ สัญญาณเตือนสุขภาพที่คุณต้องตามให้ทัน
- โรคภูมิแพ้ผิวหนัง ต้นเหตุของผื่นคันที่คุณอาจคาดไม่ถึง
2. การติดเชื้อ
- โรคไซนัสอักเสบ (Sinusitis) การอักเสบของโพรงไซนัสทำให้มีการสร้างน้ำมูกมากขึ้น น้ำมูกนี้สามารถไหลลงคอและกลายเป็นเสมหะ
- การติดเชื้อเรื้อรังบริเวณคอ (Chronic Infectious Pharyngitis) การติดเชื้อจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือเชื้อไวรัส ทำให้เกิดการอักเสบ และกระตุ้นการสร้างเสมหะ
3. โรคทางเดินหายใจ
- โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic Bronchitis) การอักเสบของหลอดลมทำให้มีการสร้างเสมหะมากขึ้น และมีอาการไอเรื้อรัง
- โรคหืด (Asthma) การอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุหลอดลมทำให้มีการสร้างเสมหะมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้หรือสิ่งระคายเคือง
4. โรคกรดไหลย้อน
- โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) กรดจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาที่คอหอย ทำให้เกิดการระคายเคืองและกระตุ้นการสร้างเสมหะ
5. ปัจจัยอื่น ๆ
- การสูบบุหรี่และการสัมผัสกับมลพิษ การสูบบุหรี่และการสัมผัสกับมลพิษในอากาศ ทำให้เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจ และกระตุ้นการสร้างเสมหะ
- โรคแพ้อาหาร (Food Allergy) การแพ้อาหารบางชนิด เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม อาจกระตุ้นให้มีการสร้างเสมหะมากขึ้น
เสมหะบอกอะไรได้บ้าง
- สุขภาพปกติ เสมหะใสในปริมาณน้อย เป็นสัญญาณของสุขภาพทางเดินหายใจที่ดี
- การติดเชื้อ เสมหะสีเหลืองหรือเขียว มักบ่งบอกถึงการติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินหายใจ
- โรคทางเดินหายใจ เสมหะเหนียวข้นปริมาณมาก อาจเป็นสัญญาณของโรคหลอดลมอักเสบ หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
- ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เสมหะมีเลือดปน อาจเป็นสัญญาณของโรควัณโรค มะเร็งปอด หรือปัญหาอื่น ๆ ในระบบทางเดินหายใจ
2. สีของเสมหะบอกอะไร
เสมหะสามารถบอกถึงภาวะสุขภาพของเราได้หลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สีของเสมหะสามารถบ่งบอกถึงความผิดปกติในร่างกายได้
สีของเสมหะบอกอะไรได้บ้าง
- เสมหะสีใส เป็นเสมหะปกติที่ร่างกายผลิตขึ้น เพื่อดักจับฝุ่นละอองและสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ ในทางเดินหายใจ
- เสมหะสีขาว อาจเกิดจากโรคหลอดลมอักเสบ โรคกรดไหลย้อน หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง นอกจากนี้ การรับประทานผลิตภัณฑ์จากนม ก็อาจทำให้เสมหะเป็นสีขาวได้เช่นกัน
- เสมหะสีเหลืองหรือเขียว มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินหายใจ เช่น โรคไซนัสอักเสบ หรือหลอดลมอักเสบ
- เสมหะสีแดงหรือชมพู อาจมีเลือดปนออกมาในเสมหะ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของปัญหาร้ายแรง เช่น มะเร็งปอด วัณโรค หรือภาวะหัวใจล้มเหลว ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจสอบ
- เสมหะสีน้ำตาล อาจมีเลือดเก่าปนอยู่ หรือเกิดจากการสูดดมฝุ่นละอองจำนวนมาก
- เสมหะสีดำ อาจพบในผู้ที่สูบบุหรี่จัด หรือผู้ที่ทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่นละอองจำนวนมาก
3. เสมหะเหนียวติดคอ มีวิธีแก้อย่างไร
เสมหะเหนียวติดคอ เป็นอาการที่สร้างความรำคาญ การแก้ไขอาการเสมหะเหนียวติดคอ สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้
การดูแลตนเองเบื้องต้นจากเสมหะเหนียวติดคอ
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ การดื่มน้ำอย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน ช่วยให้เสมหะไม่เหนียวข้นและขับออกได้ง่ายขึ้น ควรจิบน้ำอุ่น ๆ บ่อย ๆ
- กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ ผสมเกลือ ½ ช้อนชาในน้ำอุ่น 1 แก้ว กลั้วคอเป็นเวลา 30 วินาที แล้วบ้วนทิ้ง ทำซ้ำ 2-3 ครั้งต่อวัน ช่วยลดการระคายเคืองและฆ่าเชื้อโรคในลำคอ
- ใช้เครื่องพ่นไอน้ำ การสูดดมไอน้ำช่วยให้เสมหะคลายตัวและขับออกได้ง่ายขึ้น สามารถใช้เครื่องพ่นไอน้ำหรือสูดดมไอน้ำจากอ่างน้ำร้อน
- พักผ่อนให้เพียงพอ การพักผ่อนที่เพียงพอ ช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูและต่อสู้กับการติดเชื้อได้ดีขึ้น
- หลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคือง หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ มลพิษทางอากาศ และสารเคมีที่อาจระคายเคืองทางเดินหายใจ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว ผักใบเขียว และอาหารที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ เช่น ขิง กระเทียม
- ดื่มเครื่องดื่มสมุนไพร ชาสมุนไพร เช่น ชาขิง ชามะนาวผสมน้ำผึ้ง ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอและลดความเหนียวของเสมหะได้
ยาที่ใช้ในการรักษา
- ยาแก้ไอ หากมีอาการไอร่วมด้วย สามารถใช้ยาแก้ไอเพื่อบรรเทาอาการไอ
- ยาละลายเสมหะ ช่วยให้เสมหะคลายตัวและขับออกได้ง่ายขึ้น ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา
เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
- อาการไม่ดีขึ้นหลังจากดูแลตนเองเป็นเวลาหลายวัน
- มีไข้สูง
- เสมหะมีสีเขียวหรือเหลือง
- ไอเป็นเลือด
- หายใจลำบาก
- เจ็บหน้าอก
เสมหะเหนียวติดคอมีสาเหตุหลากหลาย ตั้งแต่โรคภูมิแพ้ การติดเชื้อ โรคทางเดินหายใจ โรคกรดไหลย้อน ไปจนถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมส่วนตัว การทราบสาเหตุที่แน่ชัด จะช่วยให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ หากมีอาการเสมหะเหนียวติดคอเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม ที่สำคัญ อย่าลืมวางแผนเรื่องสุขภาพไว้ก่อน เพราะไม่รู้ว่าเราจะป่วยตอนไหน เพราะหากเจ็บป่วยขึ้นมาค่ารักษาอาจบานปลาย ก็สามารถซื้อประกันสุขภาพเหมาจ่าย จากเมืองไทยประกันชีวิต ที่ดูแลค่ารักษา ตั้งแต่ 2 แสน - 100 ล้านบาท เจ็บป่วยก็เบาใจกับค่ารักษา
รายละเอียดเพิ่มเติม
☑️ โทร.1766 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต
- โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 18/02/68
🔖 hdmall
🔖 Pobpad