ประกันสุขภาพ IPD คืออะไร ทำไมต้องมี? พร้อมวิธีเลือกซื้อ
การมีประกันสุขภาพ IPD ช่วยให้คุณอุ่นใจ ไม่ต้องกังวลกับค่าใช้จ่ายเมื่อต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล ทั้งค่าห้อง ค่าผ่าตัด หรือค่ารักษาพยาบาลที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัว วันนี้เราจะพาคุณไปรู้จักประกันสุขภาพ IPD ให้มากขึ้น พร้อมวิธีเลือกซื้อประกัน IPD ที่ตอบโจทย์ความต้องการในแต่ละไลฟ์สไตล์ โดยเฉพาะมือใหม่หัดซื้อประกันสุขภาพ ที่อาจสับสนว่าประกันสุขภาพ IPD และ OPD แตกต่างกันอย่างไร แบบไหนที่ช่วยคุ้มครองให้ทุกวันของคุณสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจ และอุ่นใจมากขึ้นหากเจ็บป่วย หรือไม่สบาย
ยาวไปเลือกอ่านตามหัวข้อได้นะ
1. ประกันสุขภาพ IPD คืออะไร ต่างจากประกันสุขภาพ OPD อย่างไร
2. ทำไมต้องมีประกันสุขภาพ IPD ?
3. เลือกประกันสุขภาพ IPD อย่างไรให้เหมาะกับตัวเอง
4. ซื้อประกันสุขภาพ IPD ที่ไหนดี
1. ประกันสุขภาพ IPD คืออะไร ต่างจากประกันสุขภาพ OPD อย่างไร ?
อย่างที่กล่าวไว้ตอนต้น ว่าหลายคนอาจจะสับสน และสงสัยโดยเฉพาะมือใหม่หัดซื้อประกัน ว่าความแตกต่างของประกันสุขภาพ IPD และ OPD แตกต่างกันอย่างไร
1. ประกันสุขภาพ IPD (ผู้ป่วยใน - Inpatient Department)
คุ้มครองผู้ป่วยใน หรือ In-Patient Department ที่หลายคนรู้จักในชื่อ ประกันสุขภาพ IPD โดยส่วนใหญ่ประกันประเภทนี้ จะเป็นประกันสุขภาพเหมาจ่าย คุ้มครอง กรณีเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยใน ซึ่งหมายถึงการรักษาที่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลอย่างน้อย 6 ชั่วโมงขึ้นไป หรือได้รับการผ่าตัด ภายในเงินประกันที่กำหนดไว้ โดยค่าใช้จ่ายที่ครอบคลุมอาจรวมถึง
- ค่าห้องพักในโรงพยาบาล
- ค่ารักษาพยาบาล และค่าผ่าตัด
- ค่ายา และค่าบริการทางการแพทย์
- ค่าหมอ และค่าตรวจวินิจฉัยต่าง ๆ
- ค่าผ่าตัดฉุกเฉิน (กรณีที่มีค่าผ่าตัดจากการเกิดอุบัติเหตุ จำเป็นต้องทำเรื่องภายใน 24 ชั่วโมง)
เหมาะกับใคร: เหมาะกับคนที่มีโอกาสป่วย หรือเข้าโรงพยาบาลบ่อยครั้ง เช่น เด็กเล็ก คนสูงวัย หรือผู้ที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ หรือโรคที่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
2. ประกันสุขภาพ OPD (ผู้ป่วยนอก - Outpatient Department)
ผลประโยชน์คุ้มครองสุขภาพผู้ป่วยนอก หรือ Out-Patient Department (OPD) หรือ ประกันสุขภาพ OPD จะคุ้มครอง ค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก ที่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล เช่น คุ้มครองการรักษาอาการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ไข้หวัด แผลที่ไม่ต้องเข้าพักที่โรงพยาบาล รวมถึง
- ค่าพบแพทย์ และค่าปรึกษาแพทย์
- ค่ายา และค่ารักษาพยาบาลที่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
- ค่าตรวจวินิจฉัยเบื้องต้น เช่น เอ็กซเรย์ หรืออัลตราซาวด์
เหมาะกับใคร: ช่วยเพิ่มทางเลือกให้กับการดูแลสุขภาพ โดยที่ไม่ต้องรอให้ถึงขั้นเจ็บป่วยหนักแล้วค่อยหาหมอ
การเลือกประกันสุขภาพให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของคุณเป็นสิ่งสำคัญ หากต้องการความคุ้มครองในกรณีฉุกเฉิน หรือค่าผ่าตัด ควรเลือก IPD แต่หากต้องการความคุ้มครองค่ารักษาเบื้องต้น ควรเลือก OPD หรืออาจเลือกประกันสุขภาพที่มีแผนครอบคลุมทั้งสองแบบเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับประกัน OPD เพิ่มเติมที่ ประกันสุขภาพ OPD เลือกยังไงให้ปัง
2. ทำไมต้องมีประกันสุขภาพ IPD ?
ประกันสุขภาพ IPD (Inpatient Department) เป็นหนึ่งในประเภทของประกันสุขภาพที่มีความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพของผู้เอาประกัน โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ซึ่งให้ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาล
1. ค่ารักษาพยาบาลมีแนวโน้มสูงขึ้น
ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล การมีประกันสุขภาพ IPD จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่อาจสูงเกินไปสำหรับคุณ และครอบครัว
2. ครอบคลุมค่าใช้จ่ายสำคัญในการรักษา
ประกันสุขภาพ IPD ช่วยให้คุณได้รับการรักษาอย่างเต็มที่ โดยคุ้มครองค่าใช้จ่ายทั้ง ค่าห้องพัก ห้องเดี่ยว ห้องรวม และค่าอาหารระหว่างพักรักษา ค่ารักษาพยาบาลและเวชภัณฑ์ ค่าผ่าตัดและหัตถการ ค่าหมอและค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจวินิจฉัย ค่ากายภาพบำบัด หรือการดูแลพิเศษอื่น ๆ ค่าตรวจวินิจฉัยและแลป เป็นต้น
3. ลดภาระทางการเงินของครอบครัว
หากเกิดเหตุฉุกเฉิน การต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลก้อนใหญ่โดยไม่ได้เตรียมตัวอาจเป็นภาระหนักให้กับตัวเองและครอบครัว การมีประกันสุขภาพ IPD จะช่วยให้คุณได้รับการรักษาโดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
4. ได้รับการรักษาที่ดีที่สุดโดยไม่ต้องลังเล
เมื่อมีประกันสุขภาพ IPD คุณสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานโดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย ทำให้สามารถตัดสินใจรักษาได้อย่างรวดเร็ว และทันท่วงที
3. เลือกประกันสุขภาพ IPD อย่างไรให้เหมาะกับตัวเอง
1. ประเมินความเสี่ยงของตนเอง และเช็กสวัสดิการที่มีอยู่
ก่อนเลือกประกันสุขภาพ ควรประเมินความเสี่ยงของตนเอง เช่น ประวัติสุขภาพ พฤติกรรมการใช้ชีวิต และสภาพแวดล้อมที่อาจส่งผลต่อสุขภาพ นอกจากนี้ ควรตรวจสอบสวัสดิการที่มีอยู่ เช่น สิทธิบัตรทอง ประกันสังคม หรือสวัสดิการจากที่ทำงาน ว่าครอบคลุมเพียงพอ หรือไม่ หากพบว่ายังมีช่องว่างด้านความคุ้มครอง อาจพิจารณาเลือกประกันสุขภาพเพิ่มเติมที่ตอบโจทย์ความต้องการของตนเอง
2. เลือกความคุ้มครองที่เหมาะสม
ขั้นตอนถัดมาก็คือการเลือกความคุ้มครองที่เหมาะสมกับช่วงวัย และตอบโจทย์ เราควรทำประกันชีวิตตอนไหน และแบบไหนดี โดยเลือกจากปัจจัยดังนี้
- งบประมาณที่จ่ายไหว (ไม่เกิน 30% ของรายได้ประจำ)
- รูปแบบความคุ้มครองที่ต้องการ (ค่าห้องพัก รพ., คุ้มครองค่ารักษา, ประกันเหมาจ่าย ฯลฯ)
- ขอบเขตความคุ้มครอง เมื่อเทียบกับเบี้ยที่ต้องจ่าย คุ้มค่ามาก-น้อยแค่ไหน
- รูปแบบการจ่ายเบี้ยประกัน (เบี้ยคงที่, ไม่คงที่, มี Deductible)
3. ตรวจสอบวงเงินค่ารักษา
บางแผนประกันมีวงเงินค่ารักษาที่จำกัด หากต้องการความคุ้มครองที่เพียงพอ ควรเลือกแผนที่มีวงเงินที่เหมาะสมกับค่ารักษาในโรงพยาบาลที่คุณอาจต้องใช้บริการ
4. โรงพยาบาลในเครือข่ายครอบคลุมแค่ไหน
ควรเลือกประกันที่มีโรงพยาบาลในเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่ที่คุณอยู่ หรือโรงพยาบาลที่คุณสะดวกใช้บริการ เพื่อให้สามารถเข้ารับการรักษาได้โดยไม่ต้องสำรองจ่าย
5. เช็กค่าเบี้ยประกันให้เหมาะกับงบประมาณ
เบี้ยประกันแต่ละแผนจะแตกต่างกันไปตามระดับความคุ้มครอง อายุ และความเสี่ยงด้านสุขภาพของผู้เอาประกัน ควรเลือกแผนที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมในราคาที่เหมาะสมกับงบประมาณของคุณ
6. ตรวจสอบเงื่อนไข และข้อยกเว้นของกรมธรรม์
ก่อนตัดสินใจซื้อ ควรอ่านรายละเอียดของกรมธรรม์ เช่น ข้อยกเว้นโรคที่ไม่คุ้มครอง ระยะเวลารอคอย และเงื่อนไขอื่น ๆ เพื่อป้องกันความเข้าใจผิด และปัญหาในภายหลัง
4. ซื้อประกันสุขภาพ IPD ที่ไหนดี
หนึ่งในคำถามที่หลายคนสงสัย สำหรับการซื้อประกันสุขภาพ โดยเฉพาะมือใหม่ที่ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องทำความเข้าใจในการเลือกประกันที่มีอยู่หลากหลายรูปแบบกรมธรรม์ และที่สำคัญควรซื้อกับใคร ระหว่างซื้อประกันสุขภาพผ่านตัวแทนประกัน หรือซื้อประกันสุขภาพออนไลน์ แบบไหนที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการมากกว่ากัน วันนี้เรามีคำตอบมาฝาก
1. ซื้อประกันสุขภาพผ่านตัวแทนประกัน
หากคุณอยากได้คำแนะนำชัดเจนของข้อมูลแบบประกันต่าง ๆ ที่เหมาะสม หรือขอรายละเอียดประกันสุขภาพเหมาจ่ายให้ตัวเอง หรือครอบครัว รวมถึงสนใจประกันสุขภาพอื่น ๆ แต่ไม่รู้ว่า จะซื้ออย่างไร ราคาเท่าไร การเลือกซื้อประกันสุขภาพผ่านตัวแทนประกันก็ช่วยตอบโจทย์ และที่น่าสนใจคือตัวแทนประกันชีวิตเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการอบรม และสอบใบประกอบวิชาชีพมา ทำให้สามารถจัดรูปแบบของแบบประกันชีวิต และสุขภาพ ให้เหมาะสมตามความต้องการของเราได้
2. บริษัทประกันที่มีชื่อเสียง และน่าเชื่อถือ
เลือกบริษัทประกันที่มีความมั่นคงทางการเงินและมีชื่อเสียงในด้านการให้บริการ เพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับความคุ้มครองตามสัญญา
3. มีโรงพยาบาลเครือข่ายที่ครอบคลุม
บริษัทประกันที่มีเครือข่ายโรงพยาบาลกว้างขวาง จะช่วยให้คุณได้รับการรักษาได้สะดวก และไม่ต้องสำรองจ่ายก่อน
4. บริการเคลมที่รวดเร็ว และสะดวก
ควรเลือกบริษัทที่มีระบบเคลมประกันที่รวดเร็วและง่าย ไม่ยุ่งยาก เพื่อให้สามารถใช้สิทธิ์รักษาพยาบาลได้อย่างสะดวก
การมีประกันสุขภาพ IPD ที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ และความต้องการ ไม่เพียงแต่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องเผชิญในการรักษาพยาบาลให้กับคุณและครอบครัวแล้ว ยังช่วยเพิ่มความมั่นใจได้ว่าหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน คุณจะได้รับการดูแลอย่างที่ดีที่สุดเมื่อต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล แต่อย่าลืมว่าการเลือกแผนประกันที่เหมาะสมจะช่วยให้คุณได้รับการคุ้มครองอย่างเต็มประสิทธิภาพ เริ่มเตรียมความพร้อมเรื่องค่ารักษายามเจ็บป่วยด้วยประกันสุขภาพเหมาจ่ายไว้ช่วยดูแลค่ารักษา ตั้งแต่ 2 แสน - 100 ล้านบาท จะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษา หากต้องเข้ารับการรักษาแบบ OPD และ IPD
รายละเอียดเพิ่มเติม
☑️ โทร.1766 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต
- โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 3/02/68
🔖 SET
🔖 aommoney
🔖 matichon