Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

ชาวฟรีแลนซ์ ยื่นภาษียังไง? เคล็ดลับจัดการภาษีสำหรับอาชีพอิสระ

ชาวฟรีแลนซ์ ยื่นภาษียังไง? เคล็ดลับจัดการภาษีสำหรับอาชีพอิสระ

25 กุมภาพันธ์ 2568

7 นาที

การทำงานในฐานะฟรีแลนซ์นั้นมีข้อดีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นอิสระในการเลือกงาน หรือการกำหนดเวลาทำงานเอง แต่การทำงานแบบนี้ก็อาจมาพร้อมกับความท้าทาย โดยเฉพาะเรื่องการวางแผนการเงิน ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับฟรีแลนซ์ในการรักษาความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว


การวางแผนการเงินสำหรับฟรีแลนซ์นั้นไม่เพียงแค่การจัดการรายรับ-รายจ่ายทั่วไป แต่ยังรวมถึงการเตรียมตัวการจัดการเรื่องภาษี การทำงานในฐานะฟรีแลนซ์หมายความว่าเราเป็นเจ้าของธุรกิจของตัวเอง ซึ่งต้องรับผิดชอบในเรื่องการจ่ายภาษี



ยาวไปเลือกอ่านตามหัวข้อได้นะ


1. ฟรีแลนซ์ อาชีพอิสระ ยื่นภาษียังไง?

2. ภาษีที่เหล่าฟรีแลนซ์ต้องจ่าย

3. การจ่ายภาษีเงินได้ 40(2)

4. การจ่ายภาษีเงินได้ 40(6)

5. การจ่ายภาษีเงินได้ 40 (8)

6. เคล็ดลับเพิ่มค่าลดหย่อนภาษี สำหรับฟรีแลนซ์


ฟรีแลนซ์ยื่นภาษี ไม่มีใบ 50 ทวิ เตรียมเอกสารอะไรบ้าง?


1. ฟรีแลนซ์ อาชีพอิสระ ยื่นภาษียังไง?


อาชีพฟรีแลนซ์ (Freelance) หรือ อาชีพอิสระ คือการทำงานที่ไม่ได้มีภาระผูกพันกับนายจ้างหรือบริษัทใด ๆ กล่าวคือ ฟรีแลนซ์ทำงานมา ผู้จ้างจ่ายเงินไป เป็นอันสิ้นสุดกระบวนการ โดยผู้ประกอบอาชีพฟรีแลนซ์นั้นมีหลากหลายสาขา โดยแต่ละงาน ฟรีแลนซ์จะได้รับค่าจ้างตามข้อตกลงที่ตั้งไว้กับลูกค้า ซึ่งรายได้ของฟรีแลนซ์จะไม่มีจำนวนที่แน่นอน อาจได้รับมาก-น้อย ขึ้นอยู่กับปริมาณงานที่รับ รวมทั้งความยาก-ง่าย ของงานนั้น ๆ



ฟรีแลนซ์ยื่นภาษี ไม่มีใบ 50 ทวิ เตรียมเอกสารอะไรบ้าง?

ผู้ที่เป็นฟรีแลนซ์ ไม่มีใบ 50 ทวิ ยื่นภาษี สามารถจ่ายภาษีได้ โดยเตรียมหลักฐานยื่นภาษีดังนี้


  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี (กรณีมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรับเงินได้)
  • หลักฐานเพิ่มเติมอื่นๆ (ถ้ามี)


โดยสามารถยื่นภาษีได้หลากหลายช่องทางดังต่อไปนี้


  • ยื่นภาษีด้วยตนเองที่สำนักสรรพากรพื้นที่
  • ยื่นภาษีออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร
  • ยื่นภาษีออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน



2. ภาษีที่เหล่าฟรีแลนซ์ต้องจ่าย


ด้วยความที่ไม่ใช่งานประจำ ไม่ได้มีรายรับคงที่เหมือนกับพนักงานบริษัท การจ่ายภาษีของเหล่าฟรีแลนซ์จึงแตกต่างออกไป แต่หลัก ๆ แล้ว อาชีพฟรีแลนซ์จะต้องจ่ายภาษีดังต่อไปนี้



ภาษีธุรกิจเฉพาะ

เป็นภาษีที่ขึ้นอยู่กับรูปแบบธุรกิจ โดยผู้ที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ จะประกอบอาชีพอิสระในลักษณะของผู้ประกอบกิจการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด


ตัวอย่างการประกอบกิจการที่ต้องจ่ายภาษีธุรกิจ


  • ธุรกิจการธนาคาร
  • ธุรกิจเงินทุน, ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
  • ธุรกิจการรับประกันชีวิต
  • ธุรกิจการรับจำนำ
  • การประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่นการให้กู้ยืมเงินค้ำประกัน, การแลกเปลี่ยนเงินตรา ฯลฯ
  • การขายอสังหาริมทรัพย์ในเชิงการค้าหรือหากำไร



อ่านเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร > https://www.rd.go.th/306.html



ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)


เป็นภาษีที่เรียกเก็บตามมูลค่าของการซื้อ-ขายสินค้า หรือการให้บริการต่าง ๆ ในประเทศ รวมทั้งการนำเข้าสินค้า โดยปกติจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้บริโภคในจำนวนที่คิดเป็น 7% ของค่าสินค้าหรือบริการนั้น ๆ ซึ่งฟรีแลนซ์ที่ต้องจ่ายภาษีนี้ คือผู้ที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี หรือเป็นธุรกิจที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม




ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


ผู้ที่ต้องจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือผู้ที่มีรายได้จากการประกอบอาชีพ ซึ่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมจะถูกแบ่งออกเป็น 8 ประเภทเงินได้ โดยในกลุ่มของผู้ประกอบอาชีพเป็นฟรีแลนซ์จะจัดอยู่ในหมวดภาษีเงินได้ 40(2), 40(6) และ 40 (8) ที่จะอธิบายในลำดับถัดไป


การหักภาษีเงินได้ 40(2) สำหรับฟรีแลนซ์


3. การจ่ายภาษีเงินได้ 40(2) ของฟรีแลนซ์


เงินได้ประเภทที่ 2 หรือ 40(2) คือ เงินที่ได้รับจากตำแหน่งงานที่ทำ หรือการรับทำงานให้ตามคำสั่งว่าจ้าง โดยที่ผู้ว่าจ้าง (ผู้จ่ายเงิน) และผู้รับจ้างงาน (ผู้รับเงิน) ไม่ได้อยู่ในสถานะเจ้านาย-ลูกน้อง



ตัวอย่างอาชีพที่มีเงินได้ 40(2)


  • รายได้จากค่านายหน้า ค่าคอมมิชชั่น
  • อาชีพพิธีกร, Model, MC, พริตตี้ ตามงานจัดแสดงต่าง ๆ
  • รายได้จากการรับรีวิวสินค้าตามโซเชียลมีเดีย
  • อาชีพผู้ประกาศข่าว, นักจัดรายการวิทยุ, ผู้กำกับการแสดง
  • อาชีพผู้จัดการส่วนตัวของนักแสดง, ผู้จัดการทีมกีฬาและผู้ฝึกสอน
  • อาชีพที่ปรึกษาด้านกฎหมาย, วิศวกร, สถาปนิก, บัญชี หรืออาชีพอื่นที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพแพทย์/พยาบาล
  • ผู้ว่าจ้างออกเงินค่าเช่าบ้านให้ หรือหาที่อยู่ให้โดยไม่เรียกเก็บค่าเช่า (ผู้ว่าจ้างที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ)


อ่านเพิ่มเติมที่เว็บไซต์กรมสรรพากร >  https://www.rd.go.th/553.html



การหักภาษีเงินได้ 40(2) สำหรับฟรีแลนซ์

สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระที่มีเงินได้ประเภทที่ 2 จะสามารถหักภาษีได้โดยวิธีการ หักแบบเหมา 50% สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท



วิธีคำนวณ
เงินได้ประเภทที่ 2 x 50%  = ภาษีที่ต้องจ่าย (ไม่เกิน 100,000 บาท)



กรณีที่มีรายได้จากงานประจำด้วย (เงินได้ประเภทที่ 1) ก็สามารถนำมาคำนวณรวมกันแล้วหักจ่ายภาษีแบบเหมาได้ในคราวเดียว โดยจะหักได้สูงสุดที่ไม่เกิน 100,000 บาท



วิธีคำนวณ
(เงินได้ประเภทที่ 1 + เงินได้ประเภทที่ 2) x 50%  = ภาษีที่ต้องจ่าย (ไม่เกิน 100,000 บาท)


การจ่ายภาษีเงินได้ 40(6) ของฟรีแลนซ์


4. การจ่ายภาษีเงินได้ 40(6) ของฟรีแลนซ์

เงินได้ประเภทที่ 6 หรือ 40(6) คือ เงินได้จากอาชีพที่จัดอยู่ในกลุ่มวิชาชีพอิสระ ซึ่งมีทั้งหมด 6 กลุ่มอาชีพด้วยกัน ดังนี้



อาชีพที่อยู่ในกลุ่มเงินได้ประเภทที่ 6

  • อาชีพเกี่ยวกับวิชากฎหมาย
  • อาชีพวิศวกรรม
  • อาชีพสถาปัตยกรรม
  • อาชีพการบัญชี
  • อาชีพเกี่ยวกับงานประณีตศิลปกรรม
  • อาชีพกลุ่มการประกอบโรคศิลปะ



การหักภาษีเงินได้ 40(6) ของฟรีแลนซ์วิชาชีพอิสระในกลุ่มประกอบโรคศิลปะ

ผู้ที่ประกอบอาชีพกลุ่มโรคศิลปะ หมายถึง อาชีพที่เกี่ยวข้องกับการตรวจ, วินิจฉัยโรค, บำบัดโรค หรือการส่งเสริมและช่วยฟื้นฟูสุขภาพของคนป่วย เป็นวิชาชีพที่ต้องได้รับใบอนุญาตก่อนจึงสามารถจะประกอบอาชีพได้ โดยการหักภาษีของผู้ที่ประกอบอาชีพกลุ่มโรคศิลปะ คือการหักแบบตามจริง โดยมีหลักฐานค่าใช้จ่ายยื่นประกอบการจ่ายภาษี และการหักแบบเหมา 60% ของค่าตอบแทนที่เรียกจากผู้ว่าจ้าง



วิธีคำนวณ
เงินได้ประเภทที่ 6 x 60%  = ภาษีที่ต้องจ่าย



การหักภาษีเงินได้ 40(6) ของวิชาชีพที่ไม่ใช่การประกอบโรคศิลปะ

ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระในอีก 5 กลุ่ม ตามที่ระบุมาในข้างต้น ก็สามารถหักภาษีได้ 2 วิธีเช่นกัน คือการหักในจำนวนตามจริง และการหักแบบเหมา 30% ของค่าตอบแทนที่เรียกจากผู้ว่าจ้าง



วิธีคำนวณ
เงินได้ประเภทที่ 6 x 30%  = ภาษีที่ต้องจ่าย


การจ่ายภาษีเงินได้ 40 (8) ของฟรีแลนซ์


5. การจ่ายภาษีเงินได้ 40 (8) ของฟรีแลนซ์

เงินได้ประเภทที่ 8 หรือ 40(8) คือ รายได้จากการประกอบธุรกิจ, การพาณิชย์, การเกษตร, การขนส่ง, อุตสาหกรรม, การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการประกอบอาชีพอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 - 7




อาชีพที่อยู่ในกลุ่มเงินได้ประเภทที่ 8


  • อาชีพนักแสดงสาธารณะ
  • มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์
  • มีเงินได้จากการเปิดร้านอาหารและเครื่องดื่ม
  • มีเงินได้จากการเปิดให้บริการที่พักและโรงแรม
  • เงินได้จากช่องทางอื่น ๆ



การหักภาษีเงินได้ 40(8) สำหรับฟรีแลนซ์


ฟรีแลนซ์ที่ยื่นภาษีในส่วนของภาษีเงินได้ประเภทที่ 8 จะหักจ่ายภาษีแบบเหมา เริ่มตั้งแต่ 40% - 60% ตามข้อกำหนดกำหนดของแต่ละอาชีพ หรือเลือกแบบหักตามจริง (ต้องมีหลักฐานการใช้จ่าย) โดยแต่ละอาชีพก็จะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการอนุญาตให้หักภาษีแบบเหมาจ่ายที่แตกต่างกันไป แอดขอแนะนำให้ลองตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้งเพื่อความมั่นใจ


เคล็ดลับเพิ่มค่าลดหย่อนภาษี สำหรับฟรีแลนซ์


6. เคล็ดลับเพิ่มค่าลดหย่อนภาษี สำหรับฟรีแลนซ์

สำหรับชาวฟรีแลนซ์ที่กำลังมองหาช่องทางการลดหย่อนภาษี เพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย แอดขอแนะนำเคล็ดลับในการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีสำหรับฟรีแลนซ์ ผ่านวิธีต่าง ๆ ให้ลองนำไปเลือกใช้กันได้เลย ดังนี้



  • เมื่อซื้อสินค้าหรือบริการที่เข้าร่วมมาตรการ Easy E-Receipt จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ สูงสุด 15,000 บาท
  • ฟรีแลนซ์ท่านใดที่ร่วมลงทุนกับกองทุนหรือการออมเงินเพื่อการเกษียณอายุ อย่าง RMF, SSF, TESG และประกันบำนาญ สามารถนำมาใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 150,000 บาท
  • ฟรีแลนซ์ที่ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต สามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตมาใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30,000 บาท



อ่านเพิ่มเติม



การวางแผนการเงินที่ดีสำหรับฟรีแลนซ์จะต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับภาษีที่ต้องจ่ายในแต่ละปี โดยการแยกเก็บเงินส่วนที่ต้องจ่ายภาษีไว้ในบัญชีต่างหาก เพื่อไม่ให้กระทบกับเงินที่ใช้ในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ การศึกษากฎเกณฑ์ภาษีและการหาคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีก่อนที่ฟรีแลนซ์ยื่นภาษี ก็จะช่วยให้สามารถลดความเสี่ยงจากการโดนปรับหรือเสียภาษีเกินความจำเป็น การทำเช่นนี้จะช่วยให้การเงินของฟรีแลนซ์มีความยั่งยืนและไม่ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ตึงเครียด




ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 13/02/68

🔖SET
🔖etaxeasy
🔖Wealth Me Up
🔖iTAX

สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าสนใจ