Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

วิธีตรวจโรคหัวใจด้วยตัวเอง เมื่อหัวใจส่งสัญญาณเตือน ต้องรีบเช็ก!

วิธีตรวจโรคหัวใจด้วยตัวเอง เมื่อหัวใจส่งสัญญาณเตือน ต้องรีบเช็ก!

โรคหัวใจเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย เพราะจะเห็นได้จากข้อมูลสถิติของ กระทรวงสาธารณสุข ปี 2565 พบว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึง 7 หมื่นราย หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 8 คนเลยทีเดียว ซึ่งคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ที่สำคัญหากเราไม่คอยสังเกตสุขภาพหัวใจ ก็อาจทำให้ได้รับการรักษาช้าจนถึงขั้นวิกฤตได้ เพราะโรคหัวใจจะมีอาการที่ค่อนข้างคลุมเครือ ทำให้หลายคนมองข้าม ดังนั้น การรู้จักสังเกตอาการเตือนของโรคหัวใจหรือจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง และเพื่อให้ทุกคนสามารถดูแลสุขภาพหัวใจได้อย่างทันท่วงที แอดมีวิธีตรวจโรคหัวใจด้วยตัวเองได้อย่างไร และวิธีสังเกตอาการเตือนโรคหัวใจ ที่เราสามารถเช็กได้ด้วยตัวเอง ตามมาดูกันเลย


1. โรคหัวใจคืออะไร

2. สาเหตุโรคหัวใจ

3. วิธีสังเกตอาการของโรคหัวใจ ตรวจด้วยตัวเองได้

4. วิธีป้องกันโรคหัวใจ 


โรคหัวใจคืออะไร

1. โรคหัวใจคืออะไร


โรคหัวใจ หรือ Heart Disease คือกลุ่มของโรคที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ ซึ่งทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เมื่อหัวใจทำงานผิดปกติ จะส่งผลให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ จึงทำให้โรคหัวใจมีอาการต่างกันไปในแต่ละชนิดดังนี้


  • โรคหลอดเลือดหัวใจ เกิดจากไขมันไปอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ
  • โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากความผิดปกติของระบบไฟฟ้าในหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ช้า หรือไม่สม่ำเสมอ
  • โรคลิ้นหัวใจ เกิดจากลิ้นหัวใจทำงานผิดปกติ อาจตีบหรือรั่ว
  • กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอ ไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ดี
  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เกิดจากความผิดปกติของหัวใจตั้งแต่เกิด
  • โรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ เช่น เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ โรคหลอดเลือดใหญ่โป่งพอง ฯลฯ


หัวใจอยู่ข้างไหน


หัวใจแบ่งเป็น 4 ห้อง มีลิ้นหัวใจคอยควบคุมการไหลเวียนของเลือด มีขนาดเท่ากำปั้น ค่อนไปทางซ้ายเล็กน้อย ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหาร


สาเหตุของโรคหัวใจ


2. สาเหตุของโรคหัวใจ


โรคหัวใจมีสาเหตุหลากหลาย ทั้งปัจจัยที่เราควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ โดยปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ ที่นำไปสู่โรคหัวใจ ได้แก่


ปัจจัยที่ควบคุมได้

พฤติกรรมการใช้ชีวิต

  • สูบบุหรี่ นิโคตินในบุหรี่ทำลายหลอดเลือดหัวใจ
  • อาหาร การกินอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูง จะทำให้เกิดการสะสมตามผนังหลอดเลือดหัวใจ
  • ขาดการออกกำลังกาย ซึ่งจะทำให้ร่างกายขาดความแข็งแรง กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอ
  • น้ำหนักเกิน เพราะโรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจ
  • ความเครียด หากเกิดความเครียดเรื้อรัง ก็จะส่งผลต่อระบบประสาทและหัวใจ


โรคประจำตัว

  • ความดันโลหิตสูง จะทำให้หลอดเลือดแข็งตัวและตีบ
  • โรคเบาหวาน ทำให้หลอดเลือดเสื่อมและอุดตันง่าย
  • ไขมันในเลือดสูง เมื่อไขมันไปเกาะที่ผนังหลอดเลือด ก็จะทำให้หลอดเลือดตีบ


ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้


  • อายุ อายุที่เพิ่มขึ้นทำให้หลอดเลือดเสื่อมสภาพ
  • เพศ ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากกว่าผู้หญิงก่อนหมดประจำเดือน
  • พันธุกรรม ประวัติครอบครัวที่มีคนเป็นโรคหัวใจ


โรคหัวใจที่พบบ่อย 


  • สำหรับโรคหัวใจยอดฮิตที่พบบ่อยนั้นมีดังนี้
  • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดจากไขมันไปอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ
  • โรคหัวใจวาย เกิดจากหัวใจสูบฉีดเลือดไม่พอต่อความต้องการของร่างกาย
  • โรคลิ้นหัวใจ เกิดจากลิ้นหัวใจทำงานผิดปกติ
  • โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากความผิดปกติของระบบไฟฟ้าในหัวใจ


วิธีตรวจโรคหัวใจด้วยตัวเอง

3. วิธีสังเกตอาการของโรคหัวใจ ตรวจด้วยตัวเองได้


อาการของโรคหัวใจนั้นหลากหลาย และขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรค มาดูกันว่า 10 อาการเตือนโรคหัวใจ ที่เราควรระวังและรีบไปพบแพทย์นั้นมีอะไรบ้าง


  • เจ็บแน่นหน้าอก อาการคลาสสิกของโรคหลอดเลือดหัวใจ มักรู้สึกเหมือนมีอะไรมาทับหรือบีบแน่นบริเวณกลางหน้าอก อาจร้าวไปที่แขนซ้าย คอ หรือกราม
  • เหนื่อยง่าย รู้สึกเหนื่อยล้ามากกว่าปกติ แม้ทำกิจวัตรประจำวัน
  • หายใจลำบาก หายใจถี่ หายใจไม่ทัน หรือรู้สึกหายใจไม่เต็มปอด
  • ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หรือเต้นไม่สม่ำเสมอ
  • เวียนหัว มึนงง เกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
  • บวม บวมที่เท้า ข้อเท้า หรือขา
  • ไอเรื้อรัง โดยเฉพาะตอนกลางคืน
  • หน้ามืด หรือเป็นลม เกิดจากความดันโลหิตลดลงอย่างรวดเร็ว
  • นอนราบไม่ได้
  • ไอเรื้อรังแห้ง ๆ 


ซึ่งอาการเหล่านี้ อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ นอกจากโรคหัวใจได้ ดังนั้น หากใครมีอาการเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้อง ไม่ควรปล่อยให้มีอาการนาน


4. วิธีป้องกันโรคหัวใจ 


การเป็นโรคหัวใจนั้นสามารถควบคุมและจัดการได้ หากได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง จะช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตได้อย่างมาก มาดูวิธีการลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจเบื้องต้นกันเลยว่ามีอะไรบ้าง


  • รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ เน้นผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี โปรตีนจากปลา ถั่ว และลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว คอเลสเตอรอลสูง น้ำตาล และโซเดียม
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอและควรปรึกษาแพทย์ เพื่อวางแผนการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย
  • ควบคุมน้ำหนัก รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • เลิกบุหรี่ เพราะบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำลายหลอดเลือดหัวใจ
  • ควบคุมความดันโลหิต ควรใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ลดการกินเค็ม
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หากเป็นเบาหวาน ควบคุมระดับน้ำตาลให้คงที่
  • ควบคุมระดับไขมันในเลือด ใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน
  • ลดความเครียด หาทางผ่อนคลาย เช่น การทำสมาธิ โยคะ หรือฟังเพลง
  • พักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับให้ได้อย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อคืน
  • ไปพบแพทย์ตามนัด ตรวจสุขภาพเป็นประจำ และรับยาตามที่แพทย์สั่ง


เพราะโรคหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ทั้งทั่วโลกและในไทย ใครที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจ จึงควรสังเกตอาการตัวเองว่าเข้าข่ายเสี่ยงหรือไม่ หรืออาจไปรับการตรวจโรคหัวใจฟรี ตามสถานที่ที่มีโครงการตรวจฟรีก่อน เพื่อเช็กอาการตัวเองเบื้องต้น พร้อมวางแผนเสริมความมั่นใจด้วย ประกันสุขภาพ จากเมืองไทยประกันชีวิต #เพราะชีวิตทุกวัยมันเจ็บป่วย ป่วยเล็กป่วยใหญ่ ช่วงวัยไหนก็ป่วยได้ไม่ช็อตฟีล

ปล่อยจอยค่ารักษาเพราะมีประกันสุขภาพดูแลให้แบบเหมา ๆ ตั้งแต่ 2 แสน - 100 ล้านบาท


Elite Health Plus คุ้มครองค่ารักษา 20-100 ล้านบาทต่อปี ครอบคลุมเทคโนโลยีการรักษา ดูแลให้ทั้ง IPD และ OPD(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 157 บาท(2)

D Health Plus คุ้มครองค่ารักษา 5 ล้านบาท(3) นอนห้องเดี่ยวมาตรฐานทุก รพ. เบี้ยวันละไม่ถึง 38 บาท(4)

เหมาจ่าย Extra แอดมิตเข้า รพ. ดูแลค่ารักษาเหมาจ่าย 5 แสนบาท(5) เบี้ยวันละไม่ถึง 42 บาท(6)

รายละเอียดเพิ่มเติม

☑️ โทร.1766 ตลอด 24 ชั่วโมง

☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต


(1) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 40, 75 หรือ 100 ล้านบาท

(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยอายุ 50 ปี แผน 20 ล้านบาท พื้นที่ความคุ้มครองประเทศไทย และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

(3) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 5 ล้านบาท โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาครั้งใดครั้งหนึ่ง

(4) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง อายุ 34 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท มีความรับผิดส่วนแรก 30,000 บาท ต่อการเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง (แผน Top Up ความคุ้มครอง) และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

(5) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 3 โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง

(6) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง 34 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 3 และชำระเบี้ยประกันรายปี

  • เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
  • สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
  • ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
  • เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต กำหนด
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย


ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 09/09/67

🔖 กรมควบคุมโรค

🔖 รพ. เมดพาร์ค 

🔖 รพ. บำรุงราษฎ์

🔖 รพ. ศิครินทร์

🔖 รพ. สมิติเวช


สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าสนใจ