Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

ลดหย่อนภาษี 2567 ยังไงให้ปัง ซื้อประกันอะไรใช้ลดหย่อนภาษีได้บ้าง

ลดหย่อนภาษี 2567 ยังไงให้ปัง ซื้อประกันอะไรใช้ลดหย่อนภาษีได้บ้าง

เตรียมตัวก่อนไม่ต้องรอสิ้นปี สำหรับคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี ที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องหาตัวช่วยลดหย่อนภาษีเอาไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ แม้ว่าเราจะเพิ่งยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปี 2566 ไปไม่นาน แต่ถ้าวางแผนเตรียมรายการลดหย่อนภาษี 2567 เอาไว้ยื่นตอนต้นปี 2568 ตั้งแต่วันนี้ ก็ทำให้เราได้ใช้สิทธิประโยชน์จากตัวลดหย่อนได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะประกันแต่ละแบบซึ่งได้ทั้งความคุ้มครอง และสามารถเอาไว้ลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย มาดูกันว่า ประกันอะไรใช้ลดหย่อนภาษีได้บ้าง และควรซื้อตัวไหนดี วันนี้เรามีเช็กลิสต์เอกสารลดหย่อนภาษีของแต่ละตัวมาฝาก



เช็กลิสต์ รายการลดหย่อนภาษี 2567 มีอะไรบ้าง


เช็กลิสต์ รายการลดหย่อนภาษี 2567 มีอะไรบ้าง 


ตัวช่วยลดหย่อนภาษี สามารถแบ่งเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน ซึ่งแต่ละกลุ่มนั้นนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มการลงทุนและประกัน โดยแต่ละกลุ่มมีรายละเอียด ดังนี้    


1. ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว


1.1 ค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท ใช้ลดหย่อนภาษีได้โดยไม่มีเงื่อนไข


1.2 ค่าลดหย่อนคู่สมรส จำนวน 60,000 บาท โดยคู่สมรสจะต้องจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย และต้องไม่มีรายได้ (สูงสุด 1 คน)


1.3 ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ให้สิทธิภรรยาผู้มีเงินได้ใช้ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง ไม่เกินครรภ์ละ 60,000 บาท


1.4 ค่าลดหย่อนภาษีบุตร คนละ 30,000 บาท

  • ต้องเป็นบุตรโดยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว
  • อายุไม่เกิน 20 ปี หรืออายุไม่เกิน 25 ปี และกำลังศึกษาอยู่ในระดับมหาวิทยาลัยหรืออุดมศึกษา (ระดับอนุปริญญาขึ้นไป)
  • หากอายุเกิน 25 ปี ขึ้นไป แต่มีสถานะเป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ สามารถลดหย่อนภาษีได้
  • บุตรคนที่ 2 ขึ้นไป ที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 สามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท


1.5 ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูพ่อแม่ของตนเองและของคู่สมรส จำนวนคนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน สามารถลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท

  • พ่อแม่ต้องมีอายุมากกว่า 60 ปี และมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนซ้ำระหว่างพี่น้องได้
  • จะต้องไม่ใช่พ่อแม่บุญธรรม


1.6 ค่าลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพลภาพ จำนวนคนละ 60,000 บาท และผู้พิการจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และมีบัตรประจำตัวผู้พิการ รวมถึงจะต้องมีหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะ


2. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มการลงทุนและประกัน ลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่


2.1 เบี้ยประกันชีวิต และ ประกันออมทรัพย์ ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท


2.2 เบี้ยประกันสุขภาพ ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท (สามารถลดหย่อนภาษีรวมกับข้อ 2.2 ประกันชีวิตและประกันออมทรัพย์ ได้ไม่เกิน 100,000 บาท)


2.3 เงินประกันสังคม ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท


2.4 เบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท


2.5 เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) สามารถนำเงินลงทุนไปเป็นค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท


2.6 เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท วางแผนการเงินด้วย ประกันบํานาญ ลดหย่อนภาษีได้ แถมตอนเกษียณยังมีเงินใช้อีกด้วย


2.7 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF : Retirement Mutual Fund) นำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท


2.8 กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF : Super Saving Funds) นำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท


2.9 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน นำมาลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท


2.10 กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) นำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท


2.11 กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท


(สำหรับกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน ข้อ 2.6-2.11 ลดหย่อนภาษีรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท)


👉 อยากรู้เรื่องกองทุนลดหย่อนภาษี วางแผนครบจบที่นี่ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม


3. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค


3.1 เงินบริจาคทั่วไป ใช้ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี


3.2 เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ นำมาลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี


3.3 เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง นำมาลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท


👉 อยากรู้เรื่องเงินบริจาคแบบไหน ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า! อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม


4. ค่าลดหย่อนกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ


4.1 โครงการ Easy E-Receipt สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 50,000 บาท โดยสินค้าและบริการที่นำมาลดหย่อนภาษี 2567 ได้ คือ สินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สินค้า OTOP และสินค้าหมวดหนังสือ (รวม E-Book) โดยเราสามารถนำหลักฐานใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice) หรือใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ของการซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่จดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มาใช้ลดหย่อนภาษีได้


4.2 ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท


👉 อยากรู้เรื่อง Easy E-Receipt ช้อปลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

👉 อยากรู้เรื่อง ใบกำกับภาษี ลดหย่อนภาษีได้ไหม? อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม


ประกันสุขภาพ ตัวช่วยลดหย่อนภาษีตัวแรกที่ต้องมี


ประกันสุขภาพ ตัวช่วยลดหย่อนภาษีตัวแรกที่ต้องมี


สำหรับเพื่อน ๆ ชาวออฟฟิศที่มีประกันกลุ่มเป็นสวัสดิการจากบริษัท จะบอกว่านำไปใช้ลดหย่อนภาษีไม่ได้ ดังนั้นตัวช่วยลดหย่อนตัวแรกที่อยากแนะนำให้ซื้อก็คือ ประกันสุขภาพ เพราะเราจะได้มีความคุ้มครองเพิ่มจากสวัสดิการที่มี ไม่ต้องห่วงเรื่องค่ารักษาที่จำกัดของประกันกลุ่ม


นอกจากนี้ เรายังสามารถเลือกซื้อประกันสุขภาพแบบมีความรับผิดส่วนแรก (Deductible) ซึ่งเราต้องเป็นคนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาก้อนแรกเองก่อน ซึ่งเราสามารถใช้ประกันกลุ่มจ่ายค่ารักษาส่วนแรกนี้ก่อนได้ ส่วนค่ารักษาส่วนเกินกว่าที่ระบุในกรมธรรม์ บริษัทประกันจะเป็นคนรับผิดชอบหลังจากนั้น ซื้อประกันสุขภาพเพิ่มเติมเองแบบนี้ จะช่วยให้เราไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล ได้ความคุ้มครองที่ครอบคุลมมากขึ้น แต่จ่ายเบี้ยถูกลง แถมยังนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย


เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากเมืองไทยประกันชีวิต ซื้อให้ตัวเองใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี หรือซื้อให้พ่อแม่ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาท เลือกแผนประกันที่ใช่มาช่วยดูแลเรื่องสุขภาพ คุ้มครองทั้งโรคมะเร็ง หัวใจ ไต โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ วงเงินเหมาจ่ายตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท 


เหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า

ประกันสุขภาพแพ็กเล็กจ่ายเบี้ยสบาย เหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า เลือกความคุ้มครองได้เต็มที่ตามความต้องการ สูงถึง 500,000 บาท(1)

  • คุ้มครองอุบัติเหตุ โรคทั่วไป จนถึงโรคร้ายอย่างโรคหัวใจ ปอดอักเสบ 


D Health Plus

ประกันสุขภาพแพ็กกลาง D Health Plus เหมาจ่ายวงเงินสูงถึง 5 ล้านบาท(2)

  • คุ้มครองโรคเล็ก ๆ โรคออฟฟิศซินโดรม โรคความดันโลหิตสูง โรคลำไส้อักเสบ ไปถึงโรคแรง ๆ อย่างโรคหัวใจ โรคเบาหวาน รวมถึงอุบัติเหตุ
  • เหมาจ่ายครบทั้งค่าห้องเดี่ยวมาตรฐาน ค่ารักษา ไม่ต้องรอแอดมิตก็คุ้มครอง


Elite Health Plus

ประกันสุขภาพแพ็กใหญ่จุใจ Elite Health Plus คุ้มครองสูงถึง 20 - 100 ล้านบาทต่อปี

  • คุ้มครองโรคทั่วไปและโรคร้ายอย่าง โรคมะเร็ง โรคปอดอักเสบ โรคหัวใจ โรคไต เหมาจ่ายครบทั้งค่าห้อง ค่ารักษา
  • เลือกเทคโนโลยีการรักษาได้ทั้ง เคมีบำบัด, Targeted Therapy และ Immunotherapy รวมถึงการ วินิจฉัยโรคแบบ CT Scan และ MRI ไม่ต้องแอดมิต
  • เลือกรักษาได้ทั่วโลก(3)


อยากรู้เรื่องประกันสุขภาพและวิธีการเลือกให้ตรงตามความต้องการ อ่านเพิ่มเติมได้ตามข้อมูลด้านล่าง

👉 ประกันสุขภาพที่ไหนดี? เลือกแบบไหนให้ตอบโจทย์ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

👉 เคล็ดลับต้องรู้! สำหรับมือใหม่หัดซื้อประกันสุขภาพ ฉบับเข้าใจง่าย อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม


ประกันลดหย่อนภาษี 2567 ซื้อตัวไหนเพิ่มอีก


นอกจากซื้อประกันสุขภาพเอาไว้ดูแลเรื่องสุขภาพและใช้ลดหย่อนภาษีเแล้ว ถ้ามีรายได้มากขึ้น หรืออยากมีความคุ้มครองและตัวช่วยลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม ก็สามารถเลือกซื้อประกันแผนอื่น ๆได้ ไม่ว่าจะเป็น ประกันชีวิต ประกันบํานาญ ประกันออมทรัพย์ ซึ่งแต่ละแผนนั้นให้ความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และใช้ลดหย่อนภาษีไม่เท่ากัน ดังนั้นก่อนซื้อประกันควรศึกษารายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจซื้อทุกครั้ง เพื่อจะได้รับความคุ้มครองที่ตรงโจทย์ความต้องการมากที่สุด


มาดูกันว่า นอกจากประกันสุขภาพที่ใช้ลดหย่อนได้แล้ว เมืองไทยประกันชีวิตมีประกันดี ๆ ไว้ใช้ลดหย่อนภาษีอะไรอีกบ้าง ใครยังไม่มีตัวช่วยลดหย่อนภาษี 2567 ลองมาเลือกแบบประกันที่ตรงใจกันได้เลย


ประกันชีวิตแบบออมทรัพย์


สำหรับใครที่อยากวางแผนการเงินในอนาคต สามารถเลือกซื้อประกันออมทรัพย์ไว้ได้ เพื่อความมั่นคงและมั่งคั่ง และยังใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาทต่อปี ได้ทั้งผลตอบแทนและความคุ้มครองชีวิต เบี้ยที่จ่ายไม่สูญหาย เลือกประกันชีวิตแบบออมทรัพย์จากเมืองไทยประกันชีวิต

  • เมืองไทย สมาร์ท ลิงค์ โปร 10/1 (Global) การลงทุนผ่านประกันชีวิตรูปแบบใหม่ การันตีเงินคืนระหว่างสัญญาทุกปี จ่ายเบี้ยครั้งเดียวไม่เป็นภาระ
  • เมืองไทย สมาร์ท ลิงค์ 15/3 (Global) แบ่งจ่ายเบี้ยสบาย ๆ 3 ปี รับเงินคืนทุกปี และมีโอกาสรับผลตอบแทนเพิ่มเติมจากการลงทุน สมัครง่ายไม่ต้องตรวจและไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพ


ประกันชีวิตแบบบำนาญ


การวางแผนรับมือวัยเกษียณได้อย่างลงตัวด้วยประกันชีวิตรูปแบบบำนาญ ได้ทั้งความคุ้มครองและความมั่นใจ มีเงินสำหรับใช้จ่ายตอนเกษียณ แถมประกันบำนาญยังลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาทต่อปี(4) การันตีมีเงินคืนให้ทุกปีหลังเกษียณ เลือก


Tax Deduction ลดหย่อนภาษี 2567


สำหรับใครที่ยังไม่ได้ศึกษาการซื้อประกันแบบต่าง ๆ แต่อยากได้สิทธิลดหย่อนภาษี 2567 แนะนำให้เลือกซื้อประกันสุขภาพก่อนเลย เพราะได้ทั้งการคุ้มครองสุขภาพ และยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย หลังจากนั้นจะศึกษาซื้อประกันรูปแบบอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ประกันบํานาญ ประกันออมทรัพย์ ลดหย่อนภาษี ได้เหมือนกัน แถมยังเป็นการวางแผนการเงินในอนาคต เกษียณไปก็ไม่ต้องกังวล 


รายละเอียดเพิ่มเติม
☑️ โทร. 1766 ตลอด 24 ชั่วโมง
☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขา ธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์


หมายเหตุ
(1) สำหรับแผนความคุ้มครอง 3 โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง

(2) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 5 ล้านบาท โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาครั้งใดครั้งหนึ่ง

(3) กรณีเลือกพื้นที่ความคุ้มครองทั่วโลก

(4) ใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปก่อน หากเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปยังไม่มีหรือยังไม่เกิน 100,000 บาท ให้นำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญไปใช้สิทธิลดหย่อนให้เต็มจำนวน 100,000 บาท แล้วจึงนำเบี้ยประกันส่วนที่เหลือไปใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญสูงสุด 15 % ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท


  • ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
  • ค่าห้องเดี่ยวมาตรฐาน หมายถึง ค่าห้องพักเดี่ยวมาตรฐานของโรงพยาบาลในประเทศไทย
  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
  • โครงการเมืองไทย รีเทิร์น รีไทร์ เป็นชื่อทางการตลาดของแบบประกันภัย เมืองไทย 8505 (บำนาญแบบลดหย่อนได้)


ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 06/03/67

🔖คปภ.

สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าสนใจ